เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกกระท้อน
กรมส่งเสริมการเกษตร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ไรแดง
จะเข้าทำลายกระท้อนในระยะตั้งแต่ใบอ่อนจนถึงใบแก่ ทำให้ใบหงิกงอเป็นปุ่มปม
ด้านใต้ใบจะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่
สีน้ำตาลถ้ามีระบาดมากจะทำให้ใบอ่อนหงิกงอหมดเมื่อพบว่าเริ่มมีไรแดงระบาดควรทำการตัดแต่งใบที่ถูกทำลายไปเผาทำลายทิ้ง
และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดไรแดง เช่น กำมะถันผง ไดโคโฟล อามีทราส ไดโนบูตัน
โดยฉีดพ่นหลังจากตัดแต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง ทุก 4 วัน
หนอนผีเสื้อยักษ์
จะมีขนาดตัวใหญ่สีฟ้า
จะเข้ากัดกินใบและยอดอ่อนทำให้ต้นกระท้อนชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
ถ้ามีระบาดควรจับตัวหนอนมาทำลายและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เมทโธมีลประมาณ
1-2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน
หนอนร่านกินใบ
ตัวหนอนมีขนาดเล็กมีขนถ้าาถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบและคัน
ตัวหนอนเข้ากัดกินใบเสียหาย
ถ้ามีระบาดมากจะพบว่าตัวหนอนจะรวมกันเป็นกระจุกกัดกินใบแหว่งเป็นวง
กำจัดโดยตัดใบที่มีตัวหนอนอยู่ด้วยไปทำลายทิ้งและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
เช่น เพอร์เมททริน เมทโธมมีล ประมาณ 1-2 ครั้ง
หนอนเจาะขั้วผล
หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ
และเข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ ทำให้ผลแห้งและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง
เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้
ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก
7-10 วัน
เพลี้ยไฟ
จะเข้าทำลายกระท้อนตั้งแต่ระยะยอดอ่อน
ระยะช่อดอกจนถึงติดผลขนาดเล็กทำให้ดอกแห้งร่วง ผลจะมีผิวลายและจะติดไปจนผลแก่
หากพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาาดควรรีบทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน
ฟอร์มีทาเนท ในช่วงเริ่มออกช่อดอกและก่อนดอกบาน แต่งดการฉีดพ่นช่วงดอกบานหลังจาก
ติดผลแล้วจึงฉีดพ่นใหม่ประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
แมลงวันผลไม้
จะเข้าวางไข่บนผลที่ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีกระดังงาเป็นต้นไป
ตัวหนอนจะชอนไช เข้าไปกัดกินเนื้อ ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ
การห่อผลในระยะที่ผลกระท้อนเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีขี้ม้า
(ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีกระดังงา) ก็จะป้องกันได้
หนอนชนิดนี้จะพบว่า ระบาดในสวนกระท้อนที่ไม่มีการดูแลรักษา เช่น
ไม่มีการตัดแต่งกิ่งตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้นเข้าทำลายท่อน้ำ
ท่ออาหารทำให้กิ่งแห้งตาย การป้องกันกำจัดโดยดูแลตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง
ถ้าพบว่ามีตัวหนอนเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้น โดยจะสังเกตจากมีขุยอยู่ตรงรูที่หนอนเจาะเข้าไป
ให้ใช้เข็มฉีดยา ใส่สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโครวอสฉีดเข้าไปในรูปที่หนอนเจาะ
แล้วใช้ดินหรือดินน้ำมันปิดรูไว้
โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อมีการระบาดจะทำให้เกิดเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ บนใบ
ขอบแผลมีสีเข้มตรงกลางมีสีเหลืองจุดเล็ก ๆ จะขยายไปจนทั่วใบตามความยาวของใบ
เมื่อพบว่ามีโรคดังกล่าวระบาดมากควรทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
บิโนมีล คาร์เบนดาซิม ทุก 10-15 วัน
»
พันธุ์
»
การปลูก
»
การดูแลรักษา
»
การกำจัดวัชพืชในสวนกระท้อน
»
การออกดอกติดผล
»
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
»
การป้องกันกำจัดโรคแมลง
»
ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา