ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ตำนานพระฤๅษี
พระฤๅษีทุรวาส
พระฤๅษีองค์ก็เป็นอีกองค์หนึ่งที่ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปต่อกรและรบกวนท่าน ก็เพราะว่าท่านมีอิทธิฤทธิ์มากมายทั้งคาถาและวาจาประกาศิต ถ้าหากใครดีกับท่านแล้วท่านก็จะส่งเสริมตลอดไปแต่หากท่านลองโกรธผู้ใดแล้วไม่ว่าผู้นั้นจะมีฤทธิ์เดชสักเพียงใด ก็ยังไม่สามารถสู้ฤทธิ์เดชของท่านได้เลยไม่ว่าจะเป็นเทวดาหรือว่าพระอินทร์ก็จะต้องพากันหน้าแตกไปตามๆกัน เพราะไม่สามารถที่จะป้องกันในฤทธิ์เดชของท่านได้
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อท่านได้ออกจากฌานแล้ว ท่านก็เข้าไปในป่าหิมพานต์เพื่อจะหาอาหารและผลไม้ บังเอิญได้พบเทพธิดาที่สวยงามนางหนึ่ง นางได้นำพวงมาลัยที่ร้อยด้วยดอกไม้สดจากสวรรค์นำมาถวายองค์พระฤๅษีทุรวาส พระฤๅษีก็รับพวงมาลัยนั้นมาแล้วนางฟ้าก็ลากลับไปพระฤๅษีก็สดชื่นแจ่มใสที่พวงมาลัยดอกไม้สดนั้นส่งกลิ่นหอมอบอวล ไม่มีดอกไม้ในโลกที่จะเปรียบเทียบในกลิ่นหอมของดอกไม้จากสวรรค์นี้ได้ แล้วในที่สุดกลิ่นหอมของดอกไม้นั้นก็เริ่มออกฤทธิ์ทำให้มีอาการคลุ้มคลั่ง เที่ยวร้องเพลงและเต้นรำไปในอากาศอย่างสนุกสนาน โดยมิได้รู้สึกตนเองเลยสักนิดเดียว ในขณะที่พระฤๅษีเต้นๆรำๆ และร้องเพลงเหาะมาในอากาศนั้น ก็บังเอิญพระอินทร์ได้ทรงช้างผ่านมาทางนั้นและก็พบกับพระฤๅษีพอดี เมื่อพระฤๅษีขณะคลั่งไคล้ใหลหลงลืมตัวอยู่นั้นเห็นพระอินทร์ก็จำได้ จึงได้ถวายพวงมาลัยดอกไม้สดพวงนั้นให้กับพระอินทร์ พระอินทร์ก็รับด้วยความเต็มใจ แล้วจึงนำเอามาวางไว้บนหัวช้างเอราวัณ เมื่อช้างเอราวัณได้กลิ่นดอกไม้นั้นแล้ว ก็เกิดอาการคลุ้มคลั่งเช่นเดียวกับพระฤๅษี จึงเอางวงจับพวงมาลัยนั้นมากระทืบๆ จนพวงมาลัยนั้นแหลกไม่มีชิ้นดี
ฝ่ายพระฤๅษีทุรวาสเห็นเช่นนั้นแล้วก็โกรธ เข้าใจว่าพระอินทร์ดูถูกและเหยียดหยามจึงได้เอาดอกไม้นั้นไปให้ช้างกระทืบเล่น ด้วยความโกรธจนตาแดงก่ำ เลยสาปให้พระอินทร์และเทวดาที่ร่วมมาด้วย มิหนำซ้ำยังส่งคำสาปไปถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ให้พระิอินทร์และเทวดาถอยกำลังมีฤทธิ์น้อยลงไป เมื่อใดที่จะต้องมีการสู้รบกับพวกอสูร ทั้งพระอินทร์และเทวดาก็จะต้องพ่ายแพ้กับอสูรย์อย่างยับเยิน ทั้งพระอินทร์และเทวดาก็พากันตกใจอ้อนวอนและขอโทษกับพระฤๅษี เพราะว่ามิได้มีเจตนาเช่นนั้น เป็นความผิดของช้างต่างหากที่ได้กระทำลงไปเช่นนั้น
พระฤๅษีทุรวาสก็ไม่ฟังเสียงโดยอ้างว่า เป็นพระอินทร์ทำไมบังคับช้างไม่ได้ พระฤๅษีก็ไม่ยอมให้อภัยใดๆทั้งสิ้น ว่าแล้วก็เหาะจากไปจากที่นั้นโดยเร็ว นับแต่บัดนั้นมาทั้งพระอินทร์และเทวดาจึงไม่มีฤทธิ์เหมือดังแต่ก่อน เมื่อเกิดสงครามกับพวกอสูรทุกครั้ง จะต้องพ่ายแพ้แก่พวกอสูรทุกครั้งไปต่อจากนั้นพระนารายณ์จึงคิดแก้ไขให้มีการกวนน้ำอมฤตกันขึ้นมา เพื่อจะให้พระอินทร์และเทวดาได้ดื่มกัน เพื่อจะได้มีฤทธิ์เหมือนดังเดิมก็นับได้ว่าพระฤๅษีทุรวาสองค์นี้ก็เป็นหนึ่งที่ควรจะรู้จักท่านเอาไว้.
หนังสืออ้างอิง : ตำนานพระฤๅษีของ อ. จีนประดิษฐ์
- พระฤๅษีพรหมบุตร
- พระฤๅษีพรหมประทาน
- พระฤๅษีพรหมปรเมศฎ์
- พระฤๅษีพรหมประสิทธิ์
- พระฤๅษีพรหมนิมิตร
- พระพรหมฤๅษีวิสิษฐ์
- พระฤๅษีตาทิพย์
- พระฤๅษีอิศวร
- พระฤๅษีพรหมมินทร์
- พระฤๅษีตาไฟ
- พระฤๅษีไชมินี
- พระฤๅษีมารกัณเฑยะ
- พระฤๅษีวยาสมุนี
- พระฤๅษีพรหมโลก
- พระฤๅษีพรหมโลกา
- พระฤๅษีเพชรฉลูกัณฑ์
- พระฤๅษีประโคนธรรพ
- พระฤๅษีปัญญาสด
- พระฤๅษีอังคต
- พระฤๅษีอรรคต
- พระฤๅษีหิมพานต์
- พระฤๅษีทุรวาส
- พระฤๅษีนนทิ
- พระฤๅษีรามเทพมุนี
- พระฤๅษีสิงหล
- พระฤๅษีสุขวัฒน์
- พระฤๅษีปรเมศ
- พระฤๅษีกาศยปมุนี
- พระโคดมพรหมฤๅษี
- พระฤๅษีพรหมจักร
- พระฤๅษีสิงขรณ์
- พระฤๅษีประไลยโกฏิ
- พระฤๅษีชนกจักรวรรดิ
- พระฤๅษีนาวัน
- พระมหาเทพฤๅษีเทวราตมุนี
- พระฤๅษีคิชฌกูฎ
- พระฤๅษีไพรวัน
- พระฤๅษีบรมครูพระพิลาภ(พระฤๅษีวิราธ)
- พระฤๅษีโกมุท
- พระฤๅษีสัตบงกฎ
- พระพรหมฤๅษีอคัสตยะ
- พระดาบสสินี ฤๅษีหน้ากวาง(สีดา)
- พระฤๅษีนารอด
- พระฤๅษีกาลสิทธิ
- พระฤๅษีโคศก
- ปู่ฤๅษีนารายณ์
- พระฤๅษีอัษฎง