ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ตำนานพระฤๅษี
พระพรหมฤๅษีอคัสตยะ
ในกาลครั้งหนึ่งสมัยเมื่อไตรดายุค พระฤๅษีอคัสตยะ ได้บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ป่านี้มีความกว้างยาวถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่ก็เป็นที่แปลกประหลาดที่หามนุษย์และสัตว์ในป่านี้มิได้เลย เป็นป่าที่ปราศจากสิ่งมีชีวิต วันหนึ่งพระฤๅษีได้เที่ยวไปในป่า พบกุฏิร้างอยู่ที่ริมสระใหญ่ภายในป่านั้น พระฤๅษีอคัสตยะก็เข้าไปอาศัยในอาศรมนั้น พักอยู่คืนหนึ่งพอรุ่งขึ้นเมื่อออกจากฌานแล้วก็จะลงไปสรงน้ำในสระนั้น ก็พบว่ามีศพลอยอยู่ใน้ำ แล้วอีกครู่หนึ่งต่อมาก็มีเทพบุตรขี่รถมายังขอบสระนั้นแล้วลากเอาศพนั้นขึ้นมากินเนื้อหนังจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว เทพบุตรนั้นก็ลงอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดด้วยความสงสัย พระฤๅษีจึงถามเทพบุตรนั้นว่า เพราะอะไรจึงทำเช่นนั้น เทพบุตรก็บอกว่า เมื่อครั้งก่อนตัวเองชื่อว่า เศวต เป็นโอรสของ ท้าวสุเทพ พระราชาผู้ครองนครวิทรรภ เมื่อท้าวสุเทพสิ้นพระชนม์แล้วท้าวเศวตก็ขึ้นเสวยราชย์แทนสืบต่อมา พลังจากขึ้ครองราชย์แล้ว โหรก็ทำนายว่าชะตาถึงฆาต จึงทรงมอบสมบัติให้กับพระอนุชา แล้วก็ออกบวชบำเพ็ญตบะเป็นพระฤๅษีอยู่ในป่าแห่งนี้อาศัยอยู่ในอาศรมริมสระนั่นแหละจนกระทั่งละสังขาร ได้ขึ้นไปเกิดอยู่ชั้เทวโลก แต่ถึงจะมีความสุขกายสุขใจแต่ก็ยังมิวายที่จะหิว จึงต้องขึ้นไปถามพระพรหมมา ท่านก็แนะนำว่าเรื่องนี้เป็นเพราะว่าเคร่งต่อการปฏิบัติอย่างเดียวเป็นแต่เพียงมุ่งทรมานร่างกายมิได้บำเพ็ญในสิ่งที่เป็นทาบารมี จึงมิได้อิ่มทิพย์เหมือนเทวดาองค์อื่นๆ ก็จะต้องกินเนื้อของตัวเองต่อไป จนกว่าว่าเมื่อใดจะพบกับพระพรหมอคัสตยะแล้วทำการทักษิณาด้วยอาภรณ์แล้ว เมื่อนั้นแหละจึงจะพ้นทุกข์ได้เสวยทิพย์พอพระเศวตเทพบุตรเล่าเรื่องจบแล้วก็เปลื้องอาภรณืออกมาทำการทักษิณาแด่พระพรหมฤๅษีอคัสตยะ พระฤๅษีก็รับอาภรณ์นั้น ก็เป็นว่าพระเศวตสิ้นกรรมได้ไปเสวยทิพย์ในเทวโลกโดยสมบูรณ์ตลอดไป ส่วนพระพรหมฤๅษีอคัสตยะ จะต้องบำเพ็ญตบะที่อาศรมแห่งนั้นไปจนกว่าองค์พระนารายณ์จะอวตารลงมาเป็นพระรามแล้วเดินทางมาถึงอาศรมนั้น พระฤๅษีทำการทักษิณาแด่พระรามแล้ว นั่นแหละพระฤๅษีก็จะสิ้นกรรมกลับขึ้นไปเสวยทิพย์ในชั้นพรหมโลกเช่นเดียวกัน
ดังเรื่องราวที่เป็นตำนานสืบทอดต่อเนื่องกันมา ประวัติของพระฤๅษีแต่ละองค์
ท่านก็จะมีลีลาและหน้าที่ไม่เหมือนกัน เพราะเหตุที่พระฤๅษีมีกันอยู่มากมาย
ยากที่จะเรียงลำดับรายชื่อได้
จึงจัดแบ่งแยกออกมาแต่ละชั้นเพื่อจะได้ไม่จำซ้ำซ้อนกัน คือ
๑.พระฤๅษีในชั้นพรหม จะเป็นแต่เพียงพรหมฤๅษี
๒.พระฤๅษีในชั้นเทพ จะเป็นเพียงเทพฤๅษี
๓.พระฤๅษีในชั้นดิน ก็จะเป็นเพียงมนุษย์ฤๅษี
แต่ละชั้นจะไม่มีการปนเปกัน จึงต้องจัดแบ่งแยกให้อธิบายง่ายเข้า
สำหรับพระฤๅษีในชั้นพรหมนั้นมิใช่มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกหลายล้านหลายโกฏิพระองค์
จึงได้บอกว่า พระพรหมในพรหมโลกมักจะเป็นพระฤๅษีแทบทั้งสิ้น
เพราะว่าพระพรหมท่านเป็นผู้ปฏิบัติ ในบารมีฌานกันทุกพระองค์
ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกเอาแต่เพียงองค์ที่มีประวัติเท่านั้นที่จะนำเอามาเล่า
ท่านผู้อ่านก็คงพอจะเข้าใจ
หนังสืออ้างอิง : ตำนานพระฤๅษีของ อ. จีนประดิษฐ์
- พระฤๅษีพรหมบุตร
- พระฤๅษีพรหมประทาน
- พระฤๅษีพรหมปรเมศฎ์
- พระฤๅษีพรหมประสิทธิ์
- พระฤๅษีพรหมนิมิตร
- พระพรหมฤๅษีวิสิษฐ์
- พระฤๅษีตาทิพย์
- พระฤๅษีอิศวร
- พระฤๅษีพรหมมินทร์
- พระฤๅษีตาไฟ
- พระฤๅษีไชมินี
- พระฤๅษีมารกัณเฑยะ
- พระฤๅษีวยาสมุนี
- พระฤๅษีพรหมโลก
- พระฤๅษีพรหมโลกา
- พระฤๅษีเพชรฉลูกัณฑ์
- พระฤๅษีประโคนธรรพ
- พระฤๅษีปัญญาสด
- พระฤๅษีอังคต
- พระฤๅษีอรรคต
- พระฤๅษีหิมพานต์
- พระฤๅษีทุรวาส
- พระฤๅษีนนทิ
- พระฤๅษีรามเทพมุนี
- พระฤๅษีสิงหล
- พระฤๅษีสุขวัฒน์
- พระฤๅษีปรเมศ
- พระฤๅษีกาศยปมุนี
- พระโคดมพรหมฤๅษี
- พระฤๅษีพรหมจักร
- พระฤๅษีสิงขรณ์
- พระฤๅษีประไลยโกฏิ
- พระฤๅษีชนกจักรวรรดิ
- พระฤๅษีนาวัน
- พระมหาเทพฤๅษีเทวราตมุนี
- พระฤๅษีคิชฌกูฎ
- พระฤๅษีไพรวัน
- พระฤๅษีบรมครูพระพิลาภ(พระฤๅษีวิราธ)
- พระฤๅษีโกมุท
- พระฤๅษีสัตบงกฎ
- พระพรหมฤๅษีอคัสตยะ
- พระดาบสสินี ฤๅษีหน้ากวาง(สีดา)
- พระฤๅษีนารอด
- พระฤๅษีกาลสิทธิ
- พระฤๅษีโคศก
- ปู่ฤๅษีนารายณ์
- พระฤๅษีอัษฎง