ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
จันทรคติ
เป็นวิธีนับวันกันอย่างโบราณ โดยถือเอาการเดินของดวงจันทรเป็นหลัก ในการนับเรียกเป็นอันดับต้นว่า ขึ้นค่ำหนึ่ง ขึ้นสองค่ำ ไปจนถึงขึ้นสิบห้าค่ำ (ตามความสว่างของดวงจันทร) ที่เรียกว่า ข้างขึ้น ต่อจากนั้นก็นับว่า แรมค่ำหนึ่ง แรมสองค่ำ ไปจนถึงแรมสิบห้าค่ำที่เรียกว่า ข้างแรม กำหนดให้มีวันทางเดือนจันทรคติ 30 วัน แบ่งเป็นประเภทเดือนคู่ ให้มี 30 วัน เดือนคี่ให้มี 29 วัน
เดือนจันทรคติ เริ่มต้นปีที่เดือนอ้าย แล้วมาเดือนยี่ เดือนสาม จบที่เดือนสิบสอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นขึ้นปีใหม่ จันทรคติที่เดือนห้า แล้วไปสิ้นสุดที่เดือนสี่
สิบสองเดือนจันทรคติ เป็นหนึ่งปี นักษัตร ซึ่งเรียกชื่อปีตามรูปดาวนักษัตรสิบสองรูป ตามจักรราศีคือ
1. ปีชวด (ดาวหนู)
2.
ปีฉลู (ดาววัว)
3. ปีขาล (ดาวเสือ)
4.ปีเถาะ (ดาวกระต่าย)
5. ปีมะโรง
(ดาวมังกร)
6. ปีมะเส็ง (ดาวงูเล็ก)
7. ปีมะเมีย (ดาวม้า)
8. ปีมะแม (ดาวแพะ)
9. ปีวอก (ดาวลิง)
10. ปีระกา (ดาวไก่)
11. ปีจอ (ดาวหมา)
12. ปีกุน (ดาวหมู)
ปีจันทรคติบางปีมี 13 เดือน เรียกว่า ปีอธิกมาส เพื่อให้เดือนต่าง ๆ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับฤดูกาล และเพื่อให้ผูกพันกับพระวินัยกิจ ทางพระพุทธศาสนาด้วย ประเพณีเพิ่มเดือนอธิกมาสของไทย จึงเพิ่มเฉพาะเดือนแปดทั้ง ๆ ที่เดือนอธิกมาส เมื่อคำนวณแล้วอาจจะตกอยู่ในเดือนใดเดือนหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ด้วยปีจันทรคติมีเพียง 354 วัน
ประเทศไทยเริ่มใช้ปีจันทรคติ และวันจันทรคติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงปี พ.ศ.2460 จึงเปลี่ยนเวลาเริ่มต้นวันเป็นเที่ยงคืนตามแบบสากล ปี พ.ศ.2463 กำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย เท่ากับ 7 ชั่วโมง ตะวันออกของกรีนิช ปี พ.ศ.2484 เปลี่ยนวันต้นปีจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม โดยเริ่มตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2483 เดิม
1 ปีจันทรคตินั้น กำหนดเอาระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 12 ครั้ง ในเวลา 354 วัน และระยะเวลารอบโลก 1 ครั้ง เท่ากับ 29 วันครึ่ง ด้วยเหตุนี่จึงต้องกำหนดให้มีเดือนคู่กับเดือนคี่ เพราะถ้าจะนับเดือนทางจันทรคติ ก็ยังขาดอยู่อีก 12 ชั่วโมง ถ้านับเดือนจันทรคติ 30 วัน ก็เกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องกำหนดเอาสองเดือนมี 59 วัน โดยแบ่งเดือน 30 วัน 6 เดือน เดือน 29 วัน 6 เดือน แบ่งเดือนเป็นสองปักษ์ ปักษ์หนึ่งมี 15 วันบ้าง 14 วันบ้าง
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>