สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

วันสำคัญของไทย

วันฉัตรมงคล
5 พฤษภาคม

วันฉัตรมงคล คือ วันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น วันฉัตรมงคลรำลึก

สำหรับพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกที่ได้มีการยึดถือเป็นระเบียบแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย

1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมภูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมภูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ 18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร

2. พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้วย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์

3. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎสวม พระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่ว พระราชอาณาจักร หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

4. พิธีเบื้องปลาย เมื่อเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง

5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสด็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีตแต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย พระบาทสมเด็จรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม

การจัดพระราชพิธีฉัตรมงคลในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชกุศล ในวันฉัตรมงคล 3 วัน คือ

วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย

วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคลแล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

วันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นเสร็จพระราชพิธีในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี

ที่มา : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ปรากฏบันทึกรายละเอียดไว้ ดังนี้

การเตรียมพิธี พราหมณ์ประกอบพิธีตักน้าศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าป่าสัก แม่น้าบางปะกง แม่น้าเพชรบุรี แม่น้าราชบุรี สระเกษ สระแก้ว สระคงคา และสระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น มาทาพิธีเสกน้า สาหรับถวายเป็นน้าอภิเษก และ น้าสรงพระมูรธาภิเษก

นอกจากนี้ ยังมีการประกอบพิธีจารึกพระปรมาภิไธยลงบนพระสุพรรณบัฎ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะดวงตราพระราชลัญจกรประจารัชกาล ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2493 ตามเวลาพระมหามงคลฤกษ์

พิธีประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์

วันที่ 4 พฤษภาคม 2493 เวลา 10.00 น. เจ้าพนักงานอาลักษณ์เชิญพระสุพรรณบัฏ พร้อมด้วยดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจารัชกาล ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มาขึ้นพระราชยานกงที่เกยพลับพลาเปลื้องเครื่อง ประตูหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกระบวนเครื่องสูง กลองชะนะและคู่แห่ แห่ไปตามถนนหน้าศาลาสหทัย เลี้ยวตามถนนจักรีจรัณย์เข้าประตูพิมานไชยศรี ไปตามถนนอมรวิถี ถึงหน้าประตูสนามราชกิจ แล้วเชิญไปประดิษฐาน ณ พระแท่นมณฑลในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

เวลา 18.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องเต็มยศจอมพลทหารบก ประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรม ราชวงศ์ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี โดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตาหนักจิตรลดารโหฐานมายังพระบรมมหาราชวัง เสด็จพระราชดาเนินเข้าสู่พระทวารเทเวศร์รักษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถาร แล้วเสด็จพระราชดาเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระรัตนตรัย แล้วประทับพระราชอาสน์ พระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลเบิกทายาทผู้สืบสกุลพระยาเมือง ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ข้าหลวงประจาจังหวัดเข้าเฝ้าทูลละอองธุลลีพระบาท คือ

- พลตรี เจ้าราชบุตร วงษ์ตวัน ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
- เจ้าเพ็ชรคีรี (ไทย ณ ลาปาง) ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลาปาง
- เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลาพูน ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลาพูน
- เจ้าราชบุตร ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครน่าน
- พระพิพิธภักดี ผู้สืบสกุลพระยาเมืองปัตตานี สายที่ 2
- ตนกูมะ บินกูปูเต๊ะ ผู้สืบสกุลพระยาเมืองปัตตานี สายที่ 1
- ตนกู ตึงเงาะ ผู้สืบสกุลพระยาเมืองนราธิวาส
- ตนกู อับดุล เลาะรงโซะ ผู้สืบสกุลพระยาเมืองยะลา
- ตนกู อิบบราฮิม บินตนกูอหมัด ผู้สืบสกุลพระยาเมืองสตูล สายที่ 1
- กูฮาหมัด บิบตามะหงง ผู้สืบสกุลพระยาเมืองสตูล สายที่ 2
- ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ภาค 5, 4, 3, 2, 1 ตามลาดับ
- ข้าหลวงประจาจังหวัด เชียงใหม่ ปัตตานี น่าน ลาพูน ยะลา นราธิวาส สตูล ตามลาดับ

พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นาข้าหลวงยุติธรรมประจาภาคทั้ง 5 ภาค เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปฏิสันถารแล้ว ปลัดกระทรวงยุติธรรม นาข้าหลวงยุติธรรมออกจากที่เฝ้า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดเทียนชนวน พระราชทานแก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เพื่อทรงนาไปจุดเทียนที่เครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุด เทียนพระมหามงคลและเทียนเท่าพระองค์

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ขึ้นยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ สังฆการี อาราธนาพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 30 รูป มีสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน ขึ้นสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณทางประตูสนามราชกิจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง จุดเทียนเครื่องนมัสการพระรัตนตรัย สมเด็จพระสังฆราชถวายศีล

ถึงเวลา 18.50 น. อันเป็นมหามงคลฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดเทียนทองชนวน ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน เสร็จแล้วถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช จากนั้นสมเด็จพระสังฆราชเสด็จไปจุดเทียนชัยในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ พระสงฆ์ทั้งนั้นเจริญมงคลคาถา จุดเทียนชัย ชาวพนักงาน ประโคม ฆ้องชัย สังข์ บัณเฑาะว์ แตรดุริยางค์

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดเทียนชนวนแก่มหาดเล็ก พร้อมด้วยธูปเงิน เทียนทอง และดอกไม้ ไปบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ คือ

  • พระมหาเศวตฉัตร 5 แห่ง ในพระที่นั่งต่าง ๆ ดังนี้ * พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน * พระที่นั่งไพศาลทักษิณ * พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท * พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท * พระที่นั่งอนันตสมาคม
  • ปูชนียสถานสาคัญ อีก 13 แห่ง ดังนี้ * พระสยามเทวาธิราช ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ * พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเครื่องต้น ที่ห้องภูษามาลา * เทวสถาน พระอิศวร * เทวสถาน พระนารายณ์ * เทวสถาน พระคเณศร์ * พระหลักเมือง * พระเสื้อเมือง * พระกาฬชัยศรี * พระเพลิง * พระเจตคุปต์ * เทวรูป ณ หอแก้วพระภูมิ * เทวรูป ณ หอเชือก * เทวรูป ณ ตึกดิน

สมเด็จพระสังฆราชเสด็จกลับไปขึ้นนั่งอาสนะที่เดิม พระศาสนโสภณ (จวน อุฎฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม อ่านประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจบ พระสงฆ์ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 30 รูป และในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 45 รูป เจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

พระครูวามเทพมุนี ประธานพิธีพราหมณ์ ถวายน้าพระมหาสังข์ พราหมณ์เป่าสังข์ แล้วถวายใบสมิตสาหรับทรงปัดพระองค์ ประกอบด้วย

- ใบมะม่วง 25 ใบ ได้แก่ ภยันตราย
- ใบทอง 32 ใบ ได้แก่ อุปัทวันตราย
- ใบตะขบ 56 ใบ ได้แก่ โรคันตราย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับใบสมิตมาทรงปัดพระองค์ เสร็จแล้ว พระราชครูวามเทพมุนี รับพระราชทานกลับไป กระทาพิธีศาสตร์ปุณยา ชุบโหมเพลิง ณ ที่ทาพิธีพราหมณ์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดเทียนพระมหามงคล เทียนเท่าพระองค์ ธูปเทียนบูชา พระสยามเทวาธิราช พระแท่นอัฐทิศ และพระที่นั่งภัทรบิฐ

เจ้าพนักงานสังฆการี นิมนต์ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ชั้นพระราชาคณะ จานวน 5 รูป ขึ้นนั่งยังอาสนะบนพระแท่นบรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ขึ้นยังห้องพระบรรทม พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการพระรัตนตรัย เสร็จแล้ว ประทับพระราชอาสน์ ณ ห้องกลาง ทรงพระมหามงคล พระสงฆ์ 5 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเทียรจบแล้ว ทรงเปลื้องพระมหามงคล พระสงฆ์ถวายบังคมลา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จกลับไปประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ จากนั้นเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนบูชาธรรมที่พระแท่นสวดภาณวาร พระราชาคณะ นั่งปรก และสวดภาณวารต่อไปตลอดคืน เสด็จพระราชดาเนินกลับ

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 เวลา 11.20 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงรับการสรงพระมูรธาภิเษก จากสหัสธารา พระสงฆ์ในมณฑลพระราชพิธี เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร มโหระทึก และเครื่องดุริยางค์ ทหารกองเกียรติยศ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารปืนใหญ่ ยิงสลุตเฉลิมพระเกียรติ 21 นัด

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ สู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรมหาเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพาเป็นปฐม เพื่อทรงรับน้าอภิเษก จากสมาชิกรัฐสภา เมื่อทรงผันพระองค์ เวียนมาสู่ทิศบูรพาอีกครั้งแล้ว เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร (จิตร ณ สงขลา) ประธานวุฒิสภา กราบบังคมทูลถวายชัยมงคล ด้วยภาษามคธ, นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กราบบังคมทูลเป็นภาษาไทย

เสร็จแล้ว พระราชครูวามเทพมุนี (สวาสดิ์ พราหมณกุล) ทาหน้าที่พระมหาราชครู กราบบังคมทูลถวายชัยมงคล ด้วยภาษามคธ และภาษาไทย แล้ว น้อมเกล้าฯ ถวาย พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ขณะนี้ ชาวพนักงาน ประโคมสังข์ แตร เครื่องดุริยางค์

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ประทับ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระราชครูวามเทพมุนี ร่ายเวทย์ สรรเสริญศิวาลัยไกรลาส จบแล้ว กราบบังคมทูลถวาย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เป็นภาษามคธ แล้วทูลเกล้าฯ ถวาย พระสุพรรณบัฎ จารึกพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”, เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์, เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์, เครื่องราชูปโภค และ พระแสงราชศาสตราวุธ ขณะนั้น พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงาน ประโคมสังข์ แตรฯ กองทหารถวายความเคารพ แตรวงบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารยิงปืนกองแก้วจินดา ตามกาลัง วันศุกร์ 21 นัด ทหารบก ทหารเรือ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 101 นัด พระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร ย่าระฆังถวายชัยมงคล

เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนีกราบบังคมทูลถวายชัยมงคลด้วยภาษามคธและภาษาไทย จากนั้นจึงมี พระปฐมบรมราชโองการ พระราชทานอารักขาแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

พระราชครูวามเทพมุนี รับสนองพระปฐมบรมราชโองการ แล้วทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจรรยา ดังพระปฐมบรมราชโองการ ที่พระราชทานไว้ ทุกประการ

ต่อมาเวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดาเนินออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มไหยศูรยพิมาน โดยมี คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล

จากนั้น เวลา 14.40 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ให้ทรงดารงฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

วันที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 เวลา 19.54 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงประทับแรม ในพระบรมมหาราชวัง รุ่งเช้า จึงเสด็จพระราชดาเนินกลับ

วันที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จออกยังท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล

ต่อมาเวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลและสมาคมต่าง ๆเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายชัยมงคล ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลถวายชัยมงคล ในนามพสกนิกรชาวไทย ทั่วพระราชอาณาจักร

เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ในพิธีเฉลิมพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และ พระราชทานสมณศักดิ์ แก่พระราชาคณะ เสร็จแล้ว ทรงสดับพระธรรมเทศนา มงคลสูตร รัตนสูตร และ เมตตสูตร รวมหนึ่งกัณฑ์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญานวโร)

พิธีสถาปนาฐานันดรศักดิ์พระราชวงศ์

วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 พระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีสถาปนาฐานันดรศักดิ์พระราชวงศ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ พระราชวงศ์ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาฐานันดรศักดิ์ ได้แก่

- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล

จากนั้นทรงสดับพระธรรมเทศนาโดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายพระธรรมเทศนา เทวตาทิสนกถา ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตรรวมหนึ่งกัณฑ์

ที่มา : http://thainews.prd.go.th/small_head/t_coronation1/  

วันปิยมหาราช
วันรัฐธรรมนูญ
วันสุนทรภู่
วันฉัตรมงคล
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันลอยกระทง
วันแม่แห่งชาติ
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันจักรี
วันมาฆบูชา
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันครู
วันเด็กแห่งชาติ
วันขึ้นปีใหม่
วันพระเจ้าตากสินมหาราช
วันสารทไทย
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
วันวิสาขบูชา
วันพืชมงคล
วันสงกรานต์
วันสตรีสากล
วันนักประดิษฐ์
วันศิลปินแห่งชาติ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย