สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วันมาฆบูชา
ขึ้น
15 ค่ำ เดือน 3
ความสำคัญของวันมาฆบูชา ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต (จาตุร แปลว่า 4 องค์ แปลว่า ส่วน สันนิบาต แปลว่า ประชุม) หมายถึง การประชุมด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
1) เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2) เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3) พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา และ
4) พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ โดย พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แก่พระสงฆ์เหล่านี้เป็นครั้งแรกหลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา
9 เดือน ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนาดังกล่าวก็คือหลักคำสอนที่ให้พุทธศาสนิกชนได้ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หรือ ศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง
นางสาววัชนี พุ่มโมรี นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
วันปิยมหาราช
วันรัฐธรรมนูญ
วันสุนทรภู่
วันฉัตรมงคล
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันลอยกระทง
วันแม่แห่งชาติ
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันจักรี
วันมาฆบูชา
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันครู
วันเด็กแห่งชาติ
วันขึ้นปีใหม่
วันพระเจ้าตากสินมหาราช
วันสารทไทย
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
วันวิสาขบูชา
วันพืชมงคล
วันสงกรานต์
วันสตรีสากล
วันนักประดิษฐ์
วันศิลปินแห่งชาติ