สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
1 กรกฎาคม
วชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า เจ้าประชา ก่อกำเนิดลูกเสือมา ข้าฯ เลื่อมใส
พวกเราลูกเสือเชื้อชาติไทย เทิดเกียรติพระองค์ไว้ด้วยภักดี
ลูกเสือรำลึก นึกถึงพระคุณ ปฏิญาณรักกษัตริย์ ชาติ ศาสน์ศรี
มาเถิดลูกเสือ สร้างความดี เพื่อศักดิ์ศรีลูกเสือไทย ดังใจปอง
(เพลง วชิราวุธรำลึก )
คำว่า ลูกเสือ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Scout ใช้เรียกผู้ที่เป็นลูกเสือ ซึ่งมีความหมาย มาจาก S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ C ย่อมมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน O ย่อ มาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน T ย่อมาจาก Thrity แปลว่า ความประหยัด
การจัดตั้งกองลูกเสือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น ในวันที่
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ให้ข้าราชการพลเรือนเข้ารับการฝึกอบรม โดยมุ่งเน้นทางด้านจิตใจให้เป็นผู้ที่มีความรักชาติ มีมนุษยธรรม และความเสียสละ
ต่อมาเมื่อกิจการเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงแล้ว พระองค์มีพระราชดำริว่า บุตรของเสือป่าก็ควรจะได้รับการฝึกอบรม ให้เป็นพลเมืองดีตั้งแต่เยาว์วัย ดังนั้นจึงมีพระบรมราชโองการ ณ วันเสาร์ที่
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ให้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง นับเป็นประเทศที่
3 ของโลก รองจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นนานาชาติในยุโรปก็จัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น
ทำให้ลูกเสือกลายเป็นองค์กรสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก ด้วยการใช้กฎ 10 ประการของลูกเสือเป็นสื่อผูกมิตรไมตรี ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ศาสนาใดทั้งสิ้น โดยถือว่าลูกเสือทั่วโลกล้วนเป็นพี่น้องกัน
กฎ 10 ข้อของลูกเสือ
ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 ลูกเสือต้องเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อมีการตั้งกองลูกเสือกองแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย) ในปี พ.ศ.2454 เป็นกองลูกเสือในพระองค์เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่
1 หรือ กองลูกเสือหลวง ได้ทำพิธีเข้าประจำกองเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2454 โดยพระราชทานคติพจน์ ให้แก่คณะลูกเสือว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ผู้ที่เป็นลูกเสือไทยคนแรกคือ นาย ชัพพ์ บุญนาค
ต่อมาในปี พ.ศ.2475
คณะลูกเสือไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลกเป็นกลุ่มแรก มีประเทศต่าง
ๆ เข้าร่วม 31 ประเทศ และถือว่าเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มจัดตั้งคณะลูกเสือโลก ครั้นถึงปี พ.ศ.
2476 ได้ส่งผู้แทนไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก โดยมีพระยาภะรตราชา เป็นหัวหน้าคณะ และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้กิจกรรมลูกเสือไทย เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้มีการขยายตัวทั่วราชอาณาจักร พระองค์ทรงวางรากฐานการลูกเสือไว้อย่างดี
เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดใดก็โปรดเกล้าฯให้ลูกเสือจังหวัดนั้น ๆ เข้าพิธีประจำกองและพระราชทานธงประจำกองด้วย และพระองค์จะร่วมฝึกเดินทางไกลรวมทั้งทำการซ้อมรบร่วมกับลูกเสือ เสือป่าอยู่เสมอ โดยมีลูกเสือและเสือป่าในจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาร่วมกิจกรรมด้วย จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต การซ้อมรบจึงได้เลิก ปัจจุบันลูกเสือได้ทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน อาทิ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่อง หัวใจนักรบ เพื่อส่งเสริมกิจการลูกเสือ และได้ทรงแต่งบทประพันธ์ซึ่งคณะลูกเสือแห่งชาติได้นำมาเป็นบทเพลงหลายเพลง เช่น เพลงสยามมานุสติ บทเพลงรักชาติบ้านเมือง และเพลงไทยรวมกำลังตั้งมั่น เป็นต้น นอกจากนี้ทรงมีพระราชดำริ จัดตั้งกองลูกเสือหญิง ที่เรียกว่า เนตรนารี และจะจัดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ แต่งานทั้งสองอย่างยังไม่ทันเสร็จสิ้น พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นครั้งแรก ในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ จากนั้นจึงได้จัดให้มีการอบรมลูกเสืออีกหลายรุ่นกระทั่งถึงปีพ.ศ.2475 เป็นปีสุดท้าย
ในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระหว่างปี พ.ศ.2468 2482
ซึ่งเป็นช่วงก่อนพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ
และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จนถึง ต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกี่ยวกับกิจการลูกเสือมากมาย เช่น
ได้มีการจัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2476
โดยมีกองลูกเสืออยู่ในสังกัดกรมพลศึกษา มีการประกาศใช้ตรา ประจำคณะลูกเสือ
และกฎลูกเสือ 10 ข้อ มีการเปิดอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งเรียกในทางราชการว่า การฝึกอบรม วิชาพลศึกษา (ว่าด้วยลูกเสือ) ประจำปีพ.ศ.2478 ใช้เวลาอบรม
1 เดือน มีการประกาศตั้งกองลูกเสือสมุทรเสนา ในปีพ.ศ. 2479 ได้มีการประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ กำหนดลักษณะธงประจำกองของคณะลูกเสือแห่งชาติ และลูกเสือสมุทรเสนา และในปี พ.ศ.2482 มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติลูกเสือ ให้ตั้งสภากรรมการกลางลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ และแบ่งลูกเสือออกเป็น
2 เหล่า คือ ลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา
ปลายรัชกาลที่ 8 ประเทศอยู่ในระหว่างสงคราม (ช่วงปี พ.ศ.2482 2489) การลูกเสือค่อนข้างซบเซา อันเนื่องมาจากสงคราม ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ ในปี พ.ศ.
2486 โดยฝึกการใช้อาวุธแบบทหาร ซึ่งรัฐบาลในยุคนั้นให้การสนับสนุน ต่อมาในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่
9 กิจการลูกเสือเริ่มกลับมาเจริญก้าวหน้าขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.2490 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พ.ศ.2486 แล้วตราพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2490 ขึ้นแทน
ใน ปีพ.ศ. 2496 ได้ก่อสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ขึ้นที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นค่ายลูกเสือที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน และในปีพ.ศ.
2501 ได้มีการเปิดอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ชั้นความรู้เบื้องต้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตามหลักสูตรกิลเวลล์ปาร์ค และได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกขึ้นเมื่อวันที่
5 สิงหาคม พ.ศ.2501 ในปีพ.ศ.2503 ได้มีการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรองชั้นวูดแบดจ์ครั้งแรก ณ ตำหนักอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี
กิจการลูกเสือได้เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ จนต่อมาได้มีการก่อตั้งลูกเสือชาวบ้านเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2514 ที่บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา กิ่งอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และได้รับความสำเร็จอย่างสูง ในปีพ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ.2525
ในสมัยเริ่มแรกของกิจการลูกเสือในประเทศไทย กิจกรรมต่าง ๆ ของลูกเสือที่พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการได้เลื่องลือไปยังนานาชาติว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับกองลูกเสือที่
8 ของประเทศอังกฤษได้มีหนังสือขอพระราชทาน นามกองลูกเสือนี้ว่า กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ( The King of Siam Own Boy Scout Group ) พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเป็นสัญลักษณ์
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงทำนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ทั้ง ในด้านการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การคมนาคม และการศาล ด้วยพระปรีชาสามารถของ พระองค์ ประชาชนจึงพร้อมใจถวายพระราชสามัญญานามว่า พระมหาธีรราชเจ้า เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่
25 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 มีพระชนมายุ 46 พรรษา คณะลูกเสือแห่งชาติได้ร่วมกับ คณะลูกเสือทั่วราชอาณาจักร สร้างพระบรมรูปของพระองค์ท่านประดิษฐานไว้ ณ หน้าค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นพระราชานุสรณ์ และได้กำหนดให้ วันที่
1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ หรือ วันลูกเสือ
คำปฏิญาณของลูกเสือ
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
เอกสารอ้างอิง หนังสือประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย เรียบเรียงโดย ธนากิต
กฤษณา พันธุ์มวานิช
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
วันปิยมหาราช
วันรัฐธรรมนูญ
วันสุนทรภู่
วันฉัตรมงคล
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันลอยกระทง
วันแม่แห่งชาติ
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันจักรี
วันมาฆบูชา
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันครู
วันเด็กแห่งชาติ
วันขึ้นปีใหม่
วันพระเจ้าตากสินมหาราช
วันสารทไทย
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
วันวิสาขบูชา
วันพืชมงคล
วันสงกรานต์
วันสตรีสากล
วันนักประดิษฐ์
วันศิลปินแห่งชาติ