สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วันวิสาขบูชา
วันเพ็ญเดือน 6
ท่ามกลางแสงจันทร์กระจ่างในคืนเพ็ญกลางเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ เมื่อกว่า 2552 ปีล่วงมาแล้ว เหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ได้เกิดขึ้น แม้ต่างปีกัน แต่ตรงกับคืนเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์ คือ คือเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ตรงกับวันศุกร์ ปีจอ ณ ลุมพินีวัน สวนป่าซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมื่อเทวทหะ พระนางสิริมหามายาทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส ซึ่งหลังจากนั้น 5 วัน ได้รับการถวายพระนามว่า สิทธัตถะ และกาลต่อมาได้เสด็จออกผนวชจนเป็นศาสดาเอกของโลก
คืนเพ็ญกลางเดือน 6 อีก 35 ปีต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชและจาริกมาประทับ ณ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เมืองอุรุเวลาเสนานิคม ทรงค้นพบสัจจธรรมอันยิ่งใหญ่ นับเป็นปฐมกาลของศาสนาพุทธ ซึ่งจักทรงนำออกสั่งสอนปวงชนในเวลาต่อมา
และในคืนวันเพ็ญเดือน 6 อีก 45 ปีต่อมา พระพุทธเจ้าในพระชนมายุ 80 พรรษา ได้เสด็จดับขันธปรินิพานลงขณะบรรทมอยู่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่งในสาลวโนทยาน เมืองกุสินาราของเหล่ามัลลกษัตริย์
เหตุการณ์สำคัญทั้งสามเกิดขึ้นแม้จะต่างปีกัน แต่ต่างก็เกิดขึ้นในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 6
เดือนวิสาขะ พร้อมกันอย่างน่าอัศจรรย์ ชาวพุทธทั้งหลายจึงมักพากันรำลึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้นในวันเพ็ญเดือน 6 และเรียกว่า วิสาขปูรณมีบูชา ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
ถือกันว่าวันวิสาขฐบูชาเป็นวันที่ระลึกเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและ เถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและ ยึดถือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก ทั้งนี้ด้วยที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าพระพุทธกิจตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า ล้วนเกิดขึ้นเพราะความรักอันยิ่งใหญ่ที่พระองคทรงมีต่อชาวโลกทั้งมวลโดยไม่ ได้กำหนดด้วยอายุ วรรณะหรือฐานะใดใด อีกทั้งศาสนาพุทธยังเป็นศาสนาที่มีผู้นิยมนับืออยู่มากและต่างก็ให้ความ สำคัญกับวันวิสาขบูชาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้จัดงานเฉลิมฉลองพร้อมกันมานานนับร้อยๆปี
ในวันนี้ชาวพุทธที่ดีจึงสมควรระลึกถึงพระพุทธคุณ พระปัญญาคุรและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสมัมาสัมพุธเจ้าด้วยการสร้าง กุศลด้วยการสวดมนตร์, รักษาศีล, ฟังธรรม นอกจากนี้ยังมีการเวียนเทียนรอบพุทธสถานสำคัญเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์อันยิ่ง ใหญ่ที่เคยเกิดขึ้น ณ คืนเดียวกันนี้เมื่อกว่า 2500 ปีที่ผ่านมาด้วย
วันปิยมหาราช
วันรัฐธรรมนูญ
วันสุนทรภู่
วันฉัตรมงคล
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันลอยกระทง
วันแม่แห่งชาติ
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันจักรี
วันมาฆบูชา
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันครู
วันเด็กแห่งชาติ
วันขึ้นปีใหม่
วันพระเจ้าตากสินมหาราช
วันสารทไทย
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
วันวิสาขบูชา
วันพืชมงคล
วันสงกรานต์
วันสตรีสากล
วันนักประดิษฐ์
วันศิลปินแห่งชาติ