ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี

การแต่งกายสมัยศรีวิชัย

 (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)

“ศรีวิชัย” เป็นรัฐที่เกิดขึ้น ทางภาคใต้ โดยถูกอิทธิพลจาก “รัฐฟูนัน” ประเทศจีนที่เคยมี อำนาจควบคุมทะเลจีนใต้ นอกจากนี้“รัฐศรีวิชัย” ยังตั้งอยู่ในทำเลค้าขายที่สำคัญโดยมีการค้า ขายกับจีน อินเดียและประเทศในตะวันออกกลาง (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 74) ดังนั้น การแต่งกายของคนสมัยศรีวิชัย จึงได้รับอิทธิพลด้านการใช้ผ้าจากจีน และเครื่องประดับ จากชาวอินเดีย (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 79-80)

ลักษณะการแต่งกายของหญิง
ผม
เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็นชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปีย

การแต่งกายของหญิงสมัยศรีวิชัย

ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 26)

เครื่องประดับ ประดับด้วยรัดเกล้า ตุ้มหูแผ่นกลมเป็นกลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อคล้ายผู้ชาย ขอบผ้าชั้น บนทำเป็นวงโค้งเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวา

ลักษณะการแต่งกายของชาย
ผม
เกล้ามวยเป็นกระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่างสยายลงประบ่า

เครื่องประดับ ใส่ตุ้มหูเป็นเม็ดกลมใหญ่ คล้องสายสังวาลย์ คาดเข็มขัดโลหะใส่กำไล แขนและข้อมือ

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าชายพกต่ำ ปล่อยชายย้อยเป็นกระหนก คาดเข็มขัดโลหะ

การแต่งกายของชาย สมัยศรีวิชัย

ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 20, 24)

สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
สมัยศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)
สมัยลพบุรี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19)
สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24)
สมัยสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 – 20)
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310)

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้