สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

รูปของรัฐ (Forms of The State)

การจัดรูปของรัฐต่าง ๆ ในสังคมโลกปัจจุบันย่อมมีความแตกต่างกันออกไปหลายแบบคือ ถ้าจัดรูปของรัฐตามการแบ่งสันอำนาจ (Distribution of Power) รูปของรัฐบาลก็จะได้เป็น 2 แบบ คือ รัฐบาลเดี่ยวกับรัฐบาลรวม แต่ถ้าจัดตามระบบแยกอำนาจ (Separation of Power) รูปของรัฐบาลมี 3 แบบ คือ รัฐบาลรัฐสภา รัฐบาลแบบประธานาธิบดีและรัฐบาลแบบกึ่งสภาและกึ่งประธานาธิบดี จะเห็นได้ว่าการจัดรูปของรัฐนั้นจัดตามลักษณะของการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นหลักสำคัญ นอกจากนั้นก็อาศัยปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น จำนวนประชากร อาณาเขตของรัฐ สภาพภูมิศาสตร์และขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น และรูปของรัฐบาลไม่ว่าจะจัดในรูปลักษณะใดก็ตามต่างก็ใช้อำนาจอธิปไตยบริหารประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นรัฐบาลของทุกรัฐจะต้องรับภาระหน้าที่ที่จะปฏิบัติจัดทำทั้งหน้าที่ภายในรัฐและหน้าที่ระหว่างรัฐตามกฎหมายของแต่ละรัฐกำหนดไว้

รูปของรัฐที่จัดขึ้นมาและมีอยู่ในสังคมโลกปัจจุบันนี้ที่มีรูปแบบต่าง ๆ กันนั้นได้จัดขึ้นตามลักษณะการใช้อำนาจอธิปไตย และจัดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอื่น ๆ นักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ได้กล่าวถึงการจัดรูปของรัฐในแบบการแบ่งสันอำนาจ (Distribution of power) ไว้ 2 แบบ คือ

  1. รัฐเดี่ยว (Unitary Government)
  2. รัฐรวม (Federal Government)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม