สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามมหาเอเซียบูรพา

ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น

ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องแล้วจากรัฐบาลของตน ตกลงกันดังนี้

  1. เพื่อจะจัดการกับสถานการณ์เร่งด่วนในเอเชียตะวันออก ประเทศไทยจะอนุญาตให้กองทหารญี่ปุ่นผ่านดินแดนของประเทศไทยไปได้ และจะให้ความสะดวกทุกอย่างเท่าที่จำเป็น เพื่อการผ่านดังกล่าว ตลอดจนดำเนินการต่าง ๆ โดยทันที เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันทุกอย่าง อันอาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างกองกำลังทหารญี่ปุ่น กับกองกำลังทหารไทย
  2. รายละเอียดเพื่อการปฏิบัติตามวรรคแรก จะต้องตกลงกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารของประเทศทั้งสอง
  3. ประเทศญี่ปุ่นให้ประกันว่าเอกราชอธิปไตย และเกียรติยศของประเทศไทย จะได้รับการเคารพ

คำแถลงการณ์ของรัฐบาลไทย "ด้วยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. กองทหารญี่ปุ่นได้เข้าสู่ประเทศไทย โดยทางทะเล ในเขตจังหวัดสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี (บ้านดอน) และบางปู ส่วนทางบกได้เข้ามาทางจังหวัดพระตะบอง และพิบูลสงคราม เกือบทุกแห่ง ทหาร ตำรวจและยุวชนทหารไทย ได้ทำการต่อสู้อย่างเข้มแข็ง

อนึ่ง ในเวลาเดียวกันก็ได้มีข่าวจากต่างประเทศว่า กองทัพเรือญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีเกาะฮาวาย และฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งทหารขึ้นบกที่โกตาบารู ในเขตมลายูของอังกฤษ และได้เข้าโจมตีสิงคโปร์ ด้วยเครื่องบินอย่างหนักด้วย

ในเรื่องนี้เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ได้มาที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 ธันวาคม 2484 เวลา 22.30 น. ได้ชี้แจงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แล้วแต่มิได้ถือว่าไทยเป็นศัตรู หากแต่มีความจำเป็นต้องของทางเดินผ่านอาณาเขตไทย

รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พิจารณาปรึกษากันโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แม้ประเทศไทยได้พยายามจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถจะหนีเหตุการณ์นี้ได้พ้น และเนื่องจากสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การที่จะต่อสู้กันไป ก็จะเป็นการเสียเลือดเนื้อชาวไทย โดยไม่สำเร็จประโยชน์ จึงจำเป็นต้องพิจารณาตามข้อเสนอของรัฐบาลญี่ปุ่น และผ่อนผันให้ทางเดินแก่กองทัพญี่ปุ่น โดยได้รัยคำมั่นจากรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะเคารพเอกราช อธิปไตย และเกียรติศักดิ์ของไทย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้ตกลงให้ทางเดินทัพแก่ญี่ปุ่น และการต่อสู้ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็ได้หยุดลง

ขอให้ประชาชนชาวไทยจงระงับความตื่นเต้น และพยายามประกอบกิจการงานต่อไปตามเดิม รัฐบาลจะทำความพยายามอย่างสูงสุด ในอันที่จะให้เหตุการณ์ทั้งหลายผ่อนจากหนักเป็นเบา ให้มากที่สุดที่จะทำได้ ขอให้ประชาชนชาวไทยจงรักษาความสงบ และฟังคำสั่งคำตักเตือนของรัฐบาลทุกประการ

การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม