สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามมหาเอเซียบูรพา

ไทยประกาศสันติภาพ

รัฐบาลได้รับดำเนินการประกาศสันติภาพในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 มีสาระสำคัญคือ การประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 เป็นโมฆะ เนื่องจากประเทศไทยเคยมีนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลาง และจะต่อสู้การรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ซึ่งได้แสดงให้เห็นประจักษ์แล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ได้มีการต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง ทหาร ตำรวจ และประชาชนพลเมือง ได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นการผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะให้กลับคืนสัมพันธไมตรีอันเคยมีมาก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2484 และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่กับสหประชาชาติ ในการสถาปนาเสถียรภาพในโลก บรรดาดินแดนที่ญี่ปุ่น ได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยพร้อมที่จะให้คืนกลับไป ส่วนบรรดากฎหมายอันมีผลเป็นปฎิปักษ์ต่อสหรัฐ ฯ บริเตนใหญ่ และเครือจักรวรรดิ์ ก็จะพิจารณายกเลิก บรรดาความเสียหาย จากกฎหมายเหล่านั้น ก็จะได้รับการชดใช้โดยธรรม

การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม