เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกขิงแดง
กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ต้น ขิงแดงเป็นพืชวงศ์เดียวกับขิงข่า ซึ่งมีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) มีขนาดสั้น แตกสาขาทอดขนานไปกับผิวดิน และเป็นที่สะสมอาหาร เหง้ามีสีแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซ.ม. ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้น เทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 1-2 เมตร หากสมบูรณ์มากหรือขึ้นอยู่ในธรรมชาติอาจ สูงถึง 5 เมตร ขึ้นอัดแน่นเป็นกอใหญ่
ใบ เป็นรูปรี บริเวณกลางใบกว้าง แล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบและฐานใบไม่มีก้านใบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งด้านบนและด้านล่าง ขนาดยาว 20-30 ซม. และกว้าง 5-8 ซม. ปลายใบแหลม ยาว ฐานใบเรียวลาดเข้าห
ก้านใบ เห็นเส้นกลางใบปรากฎชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก ช่อดอกจะออกที่ยอด ช่อดอกยาวประมาณ 30 ซม. อาจยาวได้ถึง 90 ซม. ประกอบด้ยกลีบประดับ
เรียงซ้อนกันอยู่ กลีบประดับมีสีแดงสด รูปไข่ ปลายแหลม ขนาดยาว 3-4 ซม. และกว้าง
1.5-2.5 ซม. ดอกแท้เป็นรูปกรวยสีขาวขนาดเล็ก อยู่ภายในกลีบประดับ
ไม่ค่อยเห็นโผล่ออกมาเหนือกลีบประดับ ดอกแท้มักเหี่ยวแห้งไปในเวลาอันรวดเร็ว
คงเหลือ แต่ริ้วประดับซึ่งคงมีสีสดอยู่เป็นเวลานานทำให้ขิงแดงมีช่อดอกที่สวยงาม
ผล ผลของขิงแดง เป็นชนิดแคบซูล ผิวสีแดง ขนาดยาวประมาณ 3 ซม.
เมล็ด มีสีดำความยาวประมาณ 3 มม. และมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
»
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
»
พันธุ์
»
ปัจจัยการผลิต
»
การเตรียมแปลง
»
การปฏิบัติดูแลรักษา
»
โรคและแมลง
»
การเก็บเกี่ยว