เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกขิงแดง
กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน
การเก็บเกี่ยว
โดยตัดดอกที่บานแล้วประมาณ 70-80% ของช่อดอก โดยใช้มีดคม ๆ ตัดโคนต้น เหนือดินประมาณ 2-3 นิ้ว
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อตัดดอกขิงแดงแล้วให้นำดอกแช่ลงในอ่างน้ำที่มีน้ำสะอาด และทำความสะอาด ตัดใบให้เหลือ 3-4 ใบ ตัดก้านให้ยาว 1 ม. สำหรับดอกขนาดใหญ่ และดอกขนาดกลาง ส่วนดอกเล็กมักตัดก้านให้ยาว 50-70 ซม. แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ ละ 10 ดอก สำหรับการคัดขนาดดอกนั้นจะคัดตามขนาดดังนี้
เกรด A ช่อดอกยาว 6 นิ้วขึ้นไป ก้านช่อดอกยาว 1 เมตร
เกรด B ช่อดอกยาว 4-5 นิ้ว ก้านช่อดอกยาว 1 เมตร
เกรด C ช่อดอกยาว 2-3 นิ้ว ก้านช่อดอกยาว 0.5-0.7 เมตร
อายุการปักแจกัน
ได้มีการศึกษาค้นพบว่าความยาวของต้นที่ติดกับช่อดอกนั้นมีผลต่ออายุการปักแจกันดังนี้
ก้านยาว 50 ซม. มีอายุการปักแจกัน 2 สัปดาห์
ก้านยาว 100 ซม. มีอายุการปักแจกัน 3-5 สัปดาห์
ก้านยาว 150 ซม. มีอายุการปักแจกัน 4-6 สัปดาห์
และ Jjia (1988) ยังพบว่าการใช้กรด ซิตริก (Citric acid: 5 UM)
สามารถยืดอายุการปักแจกันดอกขิงแดง (ก้านยาว 40 ซม.) จาก 4 วันเมื่อแช่ในน้ำกลั่น
เป็น 13.5 วัน เมื่อผสมกรกซิตริก ณ อุณหภูมิ 24-24 องศาเซลเซียส
การขนส่ง
จะมีการขนส่งดอกขิงแดงโดยแช่ก้านช่อดอกขิงแดงในถังน้ำ
ที่วางไว้หลังรถบรรทุกเล็กส่งพ่อค้าหรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน
ต้นทุนการผลิต ในการผลิตขิงแดง 1 ไร่ สามารถประมาณการต้นทุนการผลิตได้ดังนี้
ค่าพันธุ์ จำนวน 1,280 ต้น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 12,800
ค่าเตรียมดิน 1,000
ค่าแรงงาน 4,500
ค่าปุ๋ยคอก 2,000
ค่าปุ๋ยเคมี 1,000
ค่าสารเคมี 800
รวม 22,100
ผลผลิตต่อไร่
สามารถตัดดอกขิงแดงโดยแบ่งตามขนาดดอกได้ดังนี้คือ
ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี
การจำหน่ายผลผลิต
ส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายขิงแดงแก่พ่อค้าปากคลองตลาดโดยแบ่งตามขนาดดังนี้
ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี
ดอกเล็ก 2-3 บาท
ดอกเล็ก 2-3 บาท
ดอกกลาง 4-5 บาท
ดอกใหญ่ 8-10 บาท
ปัจจุบันมีเกษตรกรส่งออกดอกขิงแดงบ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่การปลูกขิงแดงยังมีน้อยผลผลิตยังไม่มากเพียงพอที่จะป้อนตลาดอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการบริโภคภายในประเทศของขิงแดงนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ร้านดอกไม้ และโรงเรียนสอนจัดดอกไม้ มีการใช้ดอกขิงแดงมากขึ้น แต่เกษตรกรยังขาดข้อมูลด้านการตลาด ส่วนผู้ซื้อมักจะไม่ทราบแหล่งผลิต ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่พบกันทั้งที่ความต้องการใช้ขิงแดงมีเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรไม่กล้าตัดสินใจในการขยายพื้นที่การผลิตมากนัก
เนื่องจากขิงแดงยังมีพันธุ์อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะ และสีแตกต่างกันบ้างเกษตรกรอาจอาศัยความหลากหลายของพันธุ์นี้เปิดตลาดขิงแดงเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในอนาคต
บรรณานุกรม
- พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. 2532. รายงานการวิจัย เรื่อง การสำรวจพืชวงศ์ขิงในบริเวณภาคใต้ของไทย. ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน้า 1-47.
- Broschat, T.K. and H. Donselman. 1987. Tropical Cut Flower Research at the University of Floridas Landerdale Research and Education Center. Bull. Heliconia soc. Int. 2(3-4):5-6.
- Criley, R.A. 1988. Propagation methods for gingers and helliconias. Bull. Helliconia Soc. Int. 3(2):1-7.
- Dennis, G.F.C. 1989. Alpinia purpurata: a native of the solomon Islands. Bull. Heliconia Soc. Int. 4(3):12.
- Hirano, R.T. 1991. Alpinia purata (Vieill) K. Schum. In Hawaii. (The red and pink ginger.). Bull. Heliconia Soc. Int. 5(2):5-7.
- Holttum, R.E. 1950. The Zingiberacea of the Malaypeninsula. The Gardens Bulletin, Vol: XIII:1-249.
- Shumann. K 1904. Zingiberacea. Das Pflanzenreich IV. 46.
- Tija, B. 1988. Postharvest studies of the red plume ginger (Alpinia purpurata). Bull. Heliconia Soc. Int. 3(3):7-8.
คณะผู้แต่ง
พวงเพ็ญ ศิริรักษ์
วินัย จะระนิล
คณะผู้จัดทำ
นายสมชาย สุคนธสิงห์ (ที่ปรึกษา)
นายโอฬาร พิทักษ์
นางภาวนา อัศวะประภา
นายทวีพงศ์ สุวรรณโร
นายเศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ
นายอภิชาติ สุวรรณ
»
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
»
พันธุ์
»
ปัจจัยการผลิต
»
การเตรียมแปลง
»
การปฏิบัติดูแลรักษา
»
โรคและแมลง
»
การเก็บเกี่ยว