เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกปทุมมาและกระเจียว
กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน
พันธุ์และการขยายพันธุ์ปทุมมาและกระเจียว
ไม้ดอกกลุ่มปทุมมามีความเด่นอยู่ที่สีของใบประดับ รูปทรงพุ่มของใบประดับชนิด
coma และช่อดอกที่ตั้งเหนือทรงพุ่ม
ตลาดให้ความสนใจกับพันธุ์พืชในกลุ่มนี้ซึ่งมีสีของใบประดับชนิด coma ที่สะอาด
สดใสเช่น สีขาวสะอาดของบัวขาวและเทพรำลึก สีชมพูของปทุมมาและบัวลาย
ทรงพุ่มของใบประดับชนิด coma ของพืชในกลุ่มนี้ขึ้นกับจำนวนและความกว้างของใบประดับ
ชนิด coma กล่าวคือ พันธุ์ที่มีทรงพุ่มของในประดับชนิด coma ที่ดี
จะต้องมีในประดับชนิด coma จำนวนมากและกลีบเหล่านั้นต้องกว้าง ช่อดอกที่มีก้านยาว
แข็ง และมีขนาดไม่ใหญ่มาก เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของผู้ใช้
การคัดเลือกพันธุ์พืชในกลุ่มปทุมมาจึงต้องพิจารณาลักษณะทั้ง สามเป็นหลัก
ปทุมมาหรือบัวสวรรค์ ซึ่งปลูกกันมากในจังหวัดเชียงใหม่
จนหลายคนคิดว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเชียงใหม่นั้น ถูกคัดเลือกโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์
พิศิษฐ์ วรอุไร
ปทุมมาพันธุ์นี้ไม่ได้รับการตั้งชื่อพันธุ์จากผู้คัดเลือกแต่อย่างใดแต่ถูกเรียกกันติดปากว่า
พันธุ์เชียงใหม่
โดยผู้ส่งออกบางรายได้ตั้งชื่อพันธุ์ปทุมมาพันธุ์นี้เป็นภาษาอังกฤษว่า พันธุ์
Chiang Mai Paradise ปทุมมาพันธุ์เชียงใหม่มีใบประดับชนิด coma เป็นสีชมพูกลีบบัว
โดยมีสีเขียวแต้มที่ปลายกลีบบัว ใบประดับชนิด coma กว้างและมีจำนวนมาก
ทรงพุ่มของใบประดับชนิด coma มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ใบประดับมีสีเขียวเข้ม
โดยอาจมีสีชมพูแต้มอยู่บริเวณด้านข้างหรือแก้มทั้งสองของแต่ละใบประดับส่วนล่างของช่อ
นอกจากปทุมมาพันธุ์เชียงใหม่ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าแล้ว
ได้มีผู้คัดพันธุ์ปทุมมาพันธุ์อื่นจากการกลายพันธุ์ของพันธุ์เชียงใหม่และจากธรรมชาติไว้อีกหลายพันธุ์
ซึ่งพันธุ์เหล่านี้กำลังถูกขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณให้มีจำนวนเพียงพอต่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
ปทุมมาพันธุ์ใหม่นี้มีลักษณะต่าง ๆ เช่น บางพันธุ์ใบประดับชนิด coma เป็นสีขาว
บางพันธุ์ใบประดับชนิด coma เป็นสีม่วงแดง บางพันธุ์มีใบประดับชนิด coma
เป็นสีม่วงน้ำเงิน และบางพันธุ์มีใบประดับชนิด coma
เป็นสีชมพูแต่ไม่มีแต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ
สำหรับพันธุ์ของบัวลาย บัวขาว และเทพรำลึกนั้น
ปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์การค้าแต่อย่างใด ผู้ปลูกจึงคัดพันธุ์จากธรรมชาติ
และกำลังเร่งขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณให้เพียงพอต่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้การคัดเลือกพันธุ์บัวลายซึ่งมีสีของใบประดับใกล้เคียงกัน
ความยาวก้านช่อและช่อดอกและอัตราการแตกกอ จึงเป็นลักษณะที่สำคัญ
ส่วนบัวขาวพันธุ์ดีนั้นควรมีก้านช่อยาว และมีใบประดับชนิด coma ที่กว้างจำนวนมาก
และเรียงซ้อนกันแน่น ส่วนเทพรำลึกซึ่งมีการคัดเลือกไว้นั้น
มีสีเขียวที่ใบประดับน้อยมาก และมีสีชมพูแต้มที่ด้านข้างของใบประดับส่วนล่าง
ส่วนไม้ดอกกลุ่มกระเจียวซึ่งมีความสวยงามอยู่ที่ใบประดับซึ่งมีสีสดใส และเป็นมัน
และทรงพุ่มของช่อดอก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่ก้านช่อยาวจะเป็นที่ต้องการของตลาด
กระเจียวทั้ง 4 ชนิดซึ่งมีศักยภาพในการส่งออก คือ กระเจียวส้มหรือฉัตรทอง
กระเจียวชมพูหรือฉัตรเงิน กระเจียวโคมและกระเจียวชมพูช่อยาวนั้น
ปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์การค้าของไทย
ทั้งนี้เคยมีการคัดพันธุ์กระเจียวที่มีลักษณะดีแต่ได้ขายกระเจียวส้มพันธุ์นั้นให้กับบริษัทไม้ดอกในยุโรปไปแล้ว
ปัจจุบันการคัดพันธุ์ไม้ดอกกลุ่มปทุมมาและกระเจียว กำลังดำเนินงานโดยผู้ปลูกเลี้ยงรายใหญ่ ผู้ส่งออก ตลอดจนหน่วยงานรัฐ เช่นมหาวิทยาลัยและกรมวิชาการเกษตร
»
ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับปทุมมาและกระเจียว
» พันธุ์และการขยายพันธุ์ปทุมมาและกระเจียว
» การขยายพันธุ์
» การแยกเหง้า
» การขยายพันธุ์ด้วยชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว
» การดูแลรักษา
» การให้น้ำ
» การพรางแสง
» การให้ปุ๋ย
» การตัดดอก
» การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
» การผลิตดอกนอกฤดู
» การเก็บเหง้า
» ศัตรูและการป้องกันกำจัด