ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
» ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้
ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สหภาพพม่าหรือเมียนม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา และมาเลเซีย รวมความยาวของแนวพรมแดน ทางบก 5,326 กิโลเมตร ส่วนอาณาเขตทางทะเลมีฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ยาว 1,878 กิโลเมตร และฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน ยาว 937 กิโลเมตร รวมความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน 2,815 กิโลเมตร
พรมแดนติดต่อกับสหภาพพม่า
มีความยาว 2,202 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ำของทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ละทิวเขาตะนาวศรี รวม 1,664 กิโลเมตรและความยาวตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำรวก แม่น้ำสาย แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย แม่น้ำกระบุรี รวม 538 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ของ 10 จังหวัดคือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง
พรมแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีความยาว 1,750 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ำของทิวเขาหลวงพระบางและภูแดนเมือง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของทิวเขาพนมดงรัก รวม 650 กิโลเมตร และความยาวตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขง รวม 1,100 กิโลเมตร อยู่เขตพื้นที่ของ 10 จังหวัดคือ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี
พรมแดนติดต่อกับกัมพูชา
มีความยาว 798 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ำของเขาพนมดงรักและทิวเขาบรรทัด รวม 521 กิโลเมตร ความยาวตามร่องน้ำลึกของคลองน้ำใส ด่านคลองลึก และแม่น้ำไพลิน รวม 208 กิโลเมตร และความยาวตามแนวเส้นตรงเชื่อมต่อกันในพื้นที่ราบอีก 98 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
พรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย
มีความยาว 576 กิโลเมตร เป็นความยาวตามสันปันน้ำของทิวเขาสันกาลาคีรี 481 กิโลเมตร และความยาวตามร่องน้ำของแม่น้ำโก-ลก 95 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส
คำว่าไทย เป็นชื่อรวมของชนเผ่ามองโกล ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา เช่น ไทยอาหม ในแคว้นอัสสัม ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยโท้ในแคว้นตั้งเกี๋ย อุปนิสัยปกติมักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสันติ และความเป็นอิสระ
ความเจริญของชนชาติไทยนี้ สันนิษฐานว่า มีอายุไร่เรี่ยกันมากับความเจริญของ ชาวอียิปต์บาบิโลเนีย และอัสสิเรียโบราณ ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีน และก่อนชาวยุโรป ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกอนารยชนอยู่ เป็นระยะเวลา ประมาณ 5,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ที่ชนชาติไทยได้เคยมีที่ทำกินเป็นหลักฐาน มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และมีระเบียบแบบแผนอยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน
เมื่อประมาณ 3,500 ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทยได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชาน เดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแม่น้ำแยงซีเกียง และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้น แล้วละเลิกอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่เดิม เปลี่ยนมาเป็นทำการกสิกรรม ความเจริญก็ยิ่งทวีมากขึ้น มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และได้ขยายที่ทำกินออกไปทางทิศตะวันออกตามลำดับ ในขณะที่ชนชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่นอยู่ ณ ดินแดนและมีความเจริญดังกล่าว
ชนชาติจีนยังคงเป็นพวกเลี้ยงสัตว์ ที่เร่ร่อนพเนจรอยู่ตามแถบทะเลสาบแคสเบียน ต่อมาเมื่อไทยอพยพเข้ามาอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชนชาติจีนจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มน้ำดังกล่าวนี้บ้าง และได้พบว่าชนชาติไทยได้ครอบครอง และมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว ในระหว่างระยะเวลานั้น เราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ถึง 3 อาณาจักร ด้วยกันคือ
อาณาจักรลุง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)
อาณาจักรปา ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น
อาณาจักรเงี้ยว ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง อ่านต่อ »
ประวัติศาสตร์ชาติไทย » สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล ยุคล่าอาณานิคม ข้อแนะนำในการท่องเที่ยว « สาระน่าอ่าน
แผนที่จังหวัดต่างๆ » กระบี่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบฯ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อยุธยา อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี