พรรณไม้ไทย
พรรณไม้มงคลทิศ
ตามมงคลความเชื่อของคนไทย
ถ้าผู้ใดปรารถนาจะปลูกต้นไม้ให้อยู่เย็นเป็นสุข
ให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเรือน
ท่านให้ปลูกต้นไม้ต่างๆ
ตามทิศที่กำหนดจะเป็นมงคล
ทิศตะวันออก
- ไผ่ , มะพร้าว
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
- ยอ , ต้นสารภี
ทิศใต้ - มะม่วง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
- ชัยพฤกษ์ , สะเดา , ขนุน , พิกุล
ทิศตะวันตก -
มะขาม , มะยม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
- มะกรูด , มะนาว
ทิศเหนือ - พุทรา ,
ว่าน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทุเรียน
ความหมาย นัยดอกไม้
ดอกไม้บางชนิดมีความหมายในตัวเอง
เป็นสัญญาลักษณ์ทั้งของไทยและสากล
ดอกรัก -
แทนความรักระหว่างชาย - หญิง
ดอกกุหลาบ -
กุหลาบขาว คือความเคารพ
ชมพูและเหลือง
คือการเยี่ยมเยียน
สีแดง คือความรัก
ดอกจำปา -
ห้อยหูทั้งสองข้าง แสดงความรัก
มงคลว่านไทย
ว่านพืชมีหัวอยู่ใต้ดิน
มีอยู่กว่า 3000 ชนิดในเมืองไทย
ซึ่งนิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ด้วยคุณประโยชน์ทางยา
และความเป็นสิริมงคล
ตลอดจนความเชื่อในด้านป้องกันและคุ้มครอง
ว่านมหาลาภ
- มีโชคมีลาภแก่เรือน
ว่านมหาโชค -
โชคลาภ เมตตามหานิยม ค้าขายดี
ว่านกวักโพธิ์เงิน-โพธิ์ทอง
- มีโชคลาภ
เป็นสิริมงคลด้านค้าขาย
วัฒนธรรมดอกไม้ไทย
ดอกไม้กับวิถีชีวิตของไทย
ผูกพันกันมานาน
จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
เช่น ชัยพฤกษ์ หรือดอกคูน
ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
กล้วยไม้
-
มีความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ดอกไม้ที่เป็นอาหาร
-
ใช้ประกอบอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ
เช่น
ดอกแค ดอกขี้เหล็ก
หัวปลี
ไม้มงคลในการปลูกเรือน
ไม้มงคล 9 ชนิด
ตามคติความเชื่อของไทยโบราณในการก่อสร้างอาคาร
หรือประดิษฐานถาวรวัตถุต่างๆ
นิยมมีพิธีวางศิลาฤกษ์
โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด
ปักกับพื้นดินตามความหมาย
ชัยพฤกษ์ - หมายถึง มีโชคชัย
ราชพฤกษ์ -
หมายถึง เป็นใหญ่มีอำนาจ
ทองหลาง -
หมายถึง มีเงิน มีทอง
ไผ่สีสุก -
หมายถึง มีความสุข
กันเกรา -
หมายถึง ป้องกันภัย
ทรงบาดาล -
หมายถึง ความมั่นคง
สักทอง - หมายถึง
ศักดิ์สิทธิ์สมปรารถนา
พะยุง - หมายถึง
การพยุงฐานะให้สูงขึ้น
ขนุน - หมายถึง
หนุนให้ดีขึ้น
พรรณไม้ประจำวันเกิด
เคล็ดความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ
หากใครปลูกต้นไม้หรือดอกไม้ประจำวันเกิด
แล้วต้นไม้ออกดอกเจริญงอกงามดี
ชี้วัดว่าจะก้าวหน้า แข็งแรง
เป็นสุข
วันอาทิตย์ - จำปา , โกสน
วันจันทร์ - พลูด่าง , มะลิซ้อน
วันอังคาร -
เข็ม , โกสน
วันพุธ - กวนอิม ,
โป๊ยเซียน
วันพฤหัสบดี -
พุดซ้อน , พุดจีบ , ราตรี
วันศุกร์ -
กุหลาบ , ชบา , อัญชัน
วันเสาร์ - มะลิ ,
วาสนา
พรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์
พืชพันธุ์ไม้บางชนิด
คนโบราณนับถือกันมานาน
เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ใช้บูชาหรือเป็นต้นไม้เทพเจ้า
ชมพูชูลาภ -
บัวไทยที่ปลูกไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์มงคล
กรรณิการ์ -
มีดอกสีขาว
จัดเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์
ดอกไว้ใช้บูชา
กัลป์พฤกษ์ -
ถือเป็น 1 ใน 5 ของไม้สวรรค์
มะลิ -
ดอกไม้ประจำพระนารายณ์
เครื่องหอมไทย
เครื่องหอมไทยจากไม้นานาพรรณ
ของดีของไทยแต่โบราณ
ปัจจุบันมีการสกัดเป็นสารระเหย
เพื่อเป็นส่วนผสมในของใช้ประจำวันต่างๆ
เช่น โลชั่น น้ำหอม แชมพู อาหาร
ฯลฯ จามความหลากหลายทางชีวภาพ
ทำให้เรามีพรรณไม้หอมมากมาย
ที่ให้กลิ่นแตกต่างกันไป
กระดังงา , มะลิ , กุหลาบ -
สกัดสารระเหยจากดอก
บางชนิดก็สกัดจากส่วนอื่น
เช่น กฤษณา จันทนา
อบเชย การบูร
สมุนไพรพฤกษ์
ต้นไม้ที่ให้ดอกต่างๆ
ของไทย
ล้วนให้สรรพคุณทางยาต่างๆ
ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
กันภัย - เมล็ด ใช้บำรุงไขมัน
เส้นเอ็น
รัก - ดอก
ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้ไอ
และหืด
พุทธรักษา - ดอก
ใช้ห้ามเลือด
หรือรักษาแผลที่มีหนอง
พรรณดอกไม้ในพิธีมงคล
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมงคลของไทย
มักจะมีพืชพรรณดอกไม้มาเกี่ยวข้องด้วยอยู่เสมอ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่พิธีการ
งานแต่งงาน -
ในขันหมากจะมีดอกบานไม่รู้โรย
กุหลาบ มะลิ ฯลฯ
แสดงถึงความรัก
สดชื่น ยั่งยืน งอกงาม
ไหว้ครู
- ดอกเข็ม ให้ปัญญาแหลม ดอกมะเขือ
ให้มีความรู้มาก
หญ้าแพรก
ให้รู้รวดเร็ว
วันแม่ - มะลิ
บริสุทธิ์
ดังความรักที่แม่มีต่อลูก
เรียงร้อยบุปผา
วัฒนธรรมการร้อยเรียงประดิษฐ์ดอกไม้ของคนไทย
มีมากมายหลายรูปแบบ
ตามหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไป
ซึ่งในแต่ละแบบก็ล้วนมีการร้อยหรือจัดแต่งอย่างประณีต
สวยงาม
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น
มาลัย -
ใช้บูชาพระหรือแสดงการต้อนรับผู้มาเยือน
พานดอกไม้ -
ใช้ในการประกอบพิธีมงคลต่างๆ
นอกจากนี้กระทง เครื่องแขวน
บายศรี ฯลฯ
ต่างก็มีดอกไม้มงคลแทบทั้งสิ้น
เช่น บานไม่รู้โรย ดาวเรือง
ดอกรัก มะลิ เป็นต้น
ดอกไม้นามมงคล
ดอกไม้ของไทยบางชนิด
มีชื่ออันเป็นมงคล
และนำไปใช้ในงานมงคล พิธีกรรม
ประเพณี
ตลอดจนปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล
ดอกบานไม่รู้โรย - ความมั่นคง
, ความรักใคร่กลมเกลียว
ดอกดาวเรือง -
ความรุ่งเรือง , ความเจริญ
ดอกพุทธรักษา -
พรพพุทธเจ้าคุ้มครอง
และเป็นสัญญาลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ
เฟื่องฟ้า -
ความเจริญรุ่งเรือง