ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ราหูอมจันทร์

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการตีความ
แนวคิดการตีความแบบโรแมนติคของชไลมาเคอร์
วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)
เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน
เทวาสุรสงครามในคัมภีร์พระเวท
เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี
ทัศนะเกี่ยวกับเทวาสุรสงคราม
เนื้อหาของจันทิมสูตร และสุริยสูตร
จันทิมสูตร กับสุริยสูตร กับบริบททางสังคม
จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา
ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ : การแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน
สรุปและเสนอแนะ
อ้างอิง

วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)

วิธีการตีความจันทิมสูตร และสุริยสูตร ที่น่าจะสอดคล้องเจตนารมณ์ในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้ามากที่สุด คือ การตีความแบบบุคลาธิษฐาน นั่นคือ ในการแสดงเรื่องราหูอมพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ แน่นอนเหลือเกินว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีที่ว่ามีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้อยู่จริง ๆ หรือไม่ เนื่องจากเป็นปัญหาที่อยู่ในข่ายเดียวกันกับอัพยากตปัญหา และเป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ ดังนั้น การยกเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาแสดง จึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน โดยยกเอาระบบความคิดความเชื่อที่ฝั่งรากลึกอยู่ในสังคมอินเดียสมัยนั้นมาเป็นสื่อในการแสดงธรรม เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถสื่อกับคนในยุคนั้นให้เข้าใจได้ง่ายนั่นเอง

 

โดยจุดสนใจของพระองค์ไม่ได้อยู่ที่ว่าแนวคิดนี้มีความจริงทางอภิปรัชญารองรับหรือไม่ หากแต่จุดสนใจอยู่ที่ว่าแนวคิดนี้สามารถสื่อคำสอนทางจริยธรรมได้อย่างไรเป็นสำคัญ วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน เป็นวิธีการที่ศาสนาจารย์ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค นำมาใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 2-3 เซ็นต์ ออกัสตีน ก็ชื่นชอบวิธีการตีความแบบนี้ และถือว่าเป็นวิธีการที่โดดเด่นมากตลอดสมัยยุคกลาง  วิธีการตีความแบบนี้ มีหลักการว่า ความหมายตามตัวอักษรของคัมภีร์ ไม่ใช่ความหมายที่แท้จริง หรือเป็นเพียงหนึ่งในความหมายที่หลากหลายเท่านั้น โดยแก่นแท้ของแต่ละข้อความ จะต้องมีความหมายสอดคล้องกับความจริงทางจิตวิญญาณด้วย  หรือมีความหมายแง่ของนามธรรมทางจิตใจ (คล้ายหมายทางภาษาธรรมของท่านพุทธทาส-ผู้เขียน) ความหมายในแง่นี้ถือว่าเป็นความหมายระดับสูงสุดของข้อความ  พระสันตะปาปาหลายท่าน ก็ได้ใช้วิธีการนี้สำหรับปกป้องสถานะความสูงสุดของตำแหน่งพระสันตะปาปา ดังที่พระสันตะปาปา อินโนเซ็นต์ ที่ 3 สอนว่า แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ 2 ประการในปฐมกาล 1  หมายถึง กฎเกณฑ์แห่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอยู่ในโลก ดังนั้น พระอาทิตย์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจศักดิ์สิทธ์ทางธรรมหรือทางจิตวิญญาณ ได้แก่ พระสันตะปาปา ส่วนพระจันทร์ เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ทางโลก ได้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระสันตะปาปาโบนิเฟซที่ 8 อ้างถึงคัมภีร์ลูกา 22 : 38 ที่สอนว่า ดาบ 2 อันที่เหล่าสาวกถือไว้ หมายถึง สาวกผู้มีอำนาจในอาณาจักร และศาสนจักร

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย