ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ราหูอมจันทร์

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการตีความ
แนวคิดการตีความแบบโรแมนติคของชไลมาเคอร์
วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)
เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน
เทวาสุรสงครามในคัมภีร์พระเวท
เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี
ทัศนะเกี่ยวกับเทวาสุรสงคราม
เนื้อหาของจันทิมสูตร และสุริยสูตร
จันทิมสูตร กับสุริยสูตร กับบริบททางสังคม
จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา
ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ : การแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน
สรุปและเสนอแนะ
อ้างอิง

สรุปและเสนอแนะ

จากการศึกษาวิเคราะห์จันทิมสูตรและสุริยสูตร ผู้เขียนมีความเห็นว่า สิ่งที่สร้างความหนักใจแก่ผู้ตีความจันทิมสูตรและสุริยสูตร มี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ

  1. ประเด็นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรทั้งสองว่า ปรากฏการณ์ที่ทำให้พระจันทร์หรือพระอาทิตย์มืดมนลงหรืออับแสง หรือที่เรียกในสมัยปัจจุบันว่า จันทรคราส และสุริยคราส เกิดจากเทพฝ่ายชั่ว คือ อสูร เบียดเบียนหรืออมเทพฝ่ายดี คือ จันทิมเทพ และสุริยเทพ จนทำให้เทพเจ้าฝ่ายดีได้รับความเดือดร้อนแล้วเข้ามากราบทูลขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า
  2. ประเด็นเรื่องข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เรื่องจันทรคราสและสุริยคราส ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำสงครามกันระหว่างเทพกับอสูรแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องการโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ แล้วทำให้เงาของโลกไปบดบังดวงจันทร์บ้าง หรือทำให้ดวงจันทร์ไปบังแสงอาทิตย์แล้วทำให้โลกมืดบ้าง

ประเด็นปัญหา 2 ประการนี้ ผู้เขียนได้เสนอว่า ถ้าเราตีความพระสูตรทั้งสองตามตัวอักษร ก็เท่ากับเป็นการบังคับให้เราต้องเลือกเอาฝ่ายหนึ่งแล้วปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือ ถ้าเรายอมรับว่าข้อความที่ปรากฏในพระสูตรทั้งสองเป็นจริงตามตัวอักษร ก็เท่ากับปฏิเสธข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าไม่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ถ้าเรายอมรับว่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ถูกต้อง ก็เท่ากับปฏิเสธข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรทั้งสอง จึงมีคำถามต่อไปว่า นี้เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างวิทยาการสมัยใหม่กับพระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ ?



ผู้เขียนได้เสนอทางออกว่า แนวคิดเรื่องราหูอมจันทร์/อาทิตย์ที่ปรากฏในพระสูตรทั้งสอง ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกับข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เราสามารถยอมรับแนวคิดทั้งสองได้โดยไม่จำเป็นต้องปฏิเสธแนวคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือ เราต้องตีความพระสูตรทั้งสองโดยยึดพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดแสดงพระสูตรที่เป็นเนยยัตถะ (สูตรที่ต้องตีความ) ว่าเป็นนีตัตถะ (สูตรที่มีความหมายตรง) หรือแสดงพระสูตรที่เป็นนีตัตถะ ว่าเป็นเนยยัตถะ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระตถาคต” ผู้เขียนคิดว่า ข้อความเรื่องราหูอมจันทร์/อาทิตย์ในพระสูตรทั้งสอง เป็นข้อความที่ต้องมีความ (เนยยัตถะ) แบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method) ผสมผสานกับกับการมองย้อนกลับไปศึกษาบริบทสังคมและบรรยากาศด้านความเชื่อเรื่อง “เทวาสุรสงคราม” ของชาวอินเดียสมัยโบราณ ทั้งก่อนสมัยพุทธกาลและสมัยร่วมพุทธกาล

ถ้าศึกษาบริบทสังคมสมัยนั้นให้ดี เราจะไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมพระพุทธเจ้ายกเรื่องราหูอมจันทร์/อาทิตย์ขึ้นมาแสดง สาเหตุก็เพราะว่าเรื่องนี้เป็นความเชื่อที่คนสมัยยอมรับกันมานานและสามารถสื่อสารกับคนสมัยนั้นได้ง่าย การที่พระพุทธเจ้ายกเรื่องนี้ขึ้นมาแสดงก็ไม่ใช่เพื่อตอกย้ำหรือรับรองความถูกต้องของความเชื่อนี้ในเชิงอภิปรัชญา

จุดสนใจของพระองค์ในเรื่องนี้จึงไม่ใช่ประเด็นทางอภิปรัชญา เพราะเป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดับทุกข์และจัดอยู่ในข่ายปัญหาที่พระองค์ไม่ทรงตอบ (อัพยากตปัญหา) สิ่งที่พระองค์สนใจคือประเด็นทางจริยศาสตร์ (ความดับทุกข์) นั่นคือ การใช้ความเชื่อเดิมที่มีอยู่แล้วในสังคมสมัยนั้นมาเป็นสื่อในการแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน โดยมุ่งไปที่การทำสงครามในภาษาธรรมหรือสงครามทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ นั่นคือ การทำสงครามต่อสู้กันกันระหว่างสภาพจิตฝ่ายดีกับสภาพจิตฝ่ายชั่ว ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนผู้ยังท่องเที่ยวอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏ

ทางออกของพระองค์คือให้มนุษย์แต่ละคนพัฒนาจิตของตนให้อยู่เหนือทั้งภาวะแห่งเทพและภาวะแห่งอสูร (เหนือดี-ชั่ว บุญ-บาป) แล้วสงครามทางด้านจิตใจก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย