ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ราหูอมจันทร์

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการตีความ
แนวคิดการตีความแบบโรแมนติคของชไลมาเคอร์
วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)
เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน
เทวาสุรสงครามในคัมภีร์พระเวท
เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี
ทัศนะเกี่ยวกับเทวาสุรสงคราม
เนื้อหาของจันทิมสูตร และสุริยสูตร
จันทิมสูตร กับสุริยสูตร กับบริบททางสังคม
จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา
ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ : การแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน
สรุปและเสนอแนะ
อ้างอิง

จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา

ปรากฏการณ์ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ตามความเชื่อของคนโบราณ ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยศาสตร์สมัยใหม่ว่า เป็นความเชื่อที่ผิดพลาด ดังนั้น จึงเกิดปัญหาว่า ถ้าเราตีความพระสูตรทั้งสองนี้ตามตัวอักษรว่ามีราหูอมจันทร์/อาทิตย์จริงตามที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ แล้วเราจะแก้ข้อพิสูจน์ของศาสตร์สมัยใหม่อย่างไร ถ้าเรายึดข้อพิสูจน์ของศาสตร์สมัยใหม่ว่าถูกต้อง ก็เท่ากับยอมรับว่าข้อความที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในสูตรทั้งสองผิด หรือถ้าเรายึดข้อความในพระสูตรทั้งสองว่าถูกต้อง ก็เท่ากับยอมรับว่าข้อพิสูจน์ของศาสตร์ใหม่ผิด

 

ในทัศนะของผู้เขียน ข้อความในพระสูตรทั้งสองไม่ได้ขัดแย้งกับข้อพิสูจน์ของศาสตร์สมัยใหม่แต่อย่างใด เราสามารถยอมแนวคิดทั้งสองได้โดยไม่จำเป็นต้องปฏิเสธแนวคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือ แม้แนวคิดทั้งสอง (พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์) จะพูดถึงปรากฏการณ์อย่างเดียวกัน แต่จุดสนใจเป็นคนละเรื่อง จุดสนใจของวิทยาศาสตร์ก็คือมุ่งอธิบายข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ทางวัตถุในเชิงอภิปรัชญา ส่วนจุดสนใจของพระพุทธเจ้า คือ ประเด็นปัญหาทางด้านจริยศาสตร์ หรือสนใจในเรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ในชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงเรื่องราหูอมจันทร์/อาทิตย์ในพระสูตรทั้งสองนี้ ประเด็นของพระองค์จึงไม่ได้อยู่ที่การพิสูจน์เท็จจริงทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ หมายความว่า ข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญาจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคือเรื่องนี้สามารถนำมาเป็นสื่อในการโยงคนเข้าหาหลักธรรมได้อย่างไรมากกว่า เพราะไม่ว่าพระองค์จะตรัสถึงเรื่องนี้หรือไม่ก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จทางสังคมที่มีอยู่แล้วอย่างดาษดื่น การเอาความเชื่อเดิมในสังคมมาใช้ประโยชน์ทางจริยธรรมจึงถือว่าเป็นจุดประสงค์ที่พระองค์ต้องการ ซึ่งก็ไม่ต่างกับการนำเอาเรื่องพรหม หรือเรื่องการบูชายัญมาอธิบายในเชิงจริยธรรมนั่นเอง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย