สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

องค์ประกอบของรัฐ

2. ดินแดน ( Territory )

ทุกรัฐจะต้องมีดินแดนของตนเป็นถาวรเพราะรัฐจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีดินแดนอันแน่นอน (A Fixed Territory) และก็ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของรัฐ คำว่าดินแดนนี้หมายรวมไปถึงพื้นดิน ทะเลและเขตท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ฉะนั้นอำนาจการปกครองของรัฐจึงมีอยู่เหนือดินแดนภายในรัฐ

สำหรับในเรื่องดินแดนก็มิได้กำหนดขนาดไว้แน่นอนเหมือนกับการไม่กำหนดจำนวนประชากร แต่จะกำหนดเพียงสิ่งกำหนดเขตพรมแดนคือ ส่วนมากการกำหนดเขตพรมแดนนั้นมักถือ เอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด เช่น ภูเขา สันเขา แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง แต่ถ้าไม่มีสิ่งธรรมชาติเหล่านี้ก็มีหลักเขตกำหนดปักปันอย่างชัดเจน เครื่องหมายอันหลังนี้อาจจะเกิดปัญหาได้ง่ายกว่าสิ่งธรรมชาติ เพราะอาจสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงกันได้ง่าย ส่วนอาณาเขตจะใหญ่หรือเล็กไม่เป็นสิ่งกำหนดเรื่องรัฐ เพราะเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่า บางรัฐมีพื้นที่มากกว่าอีกรัฐหนึ่งเป็นหลายร้อยเท่า เช่น “สหภาพโซเวียตมีเนื้อที่ประมาณ 22,302,000 ตารางกิโลเมตร สหรัฐอเมริกามีเนื้อที่ประมาณ 9,561,000 ตารางกิโลเมตร ญี่ปุ่นมีเนื้อที่ประมาณ 372,079 ตารางกิโลเมตร ลักแซมเบอร์กมีเนื้อที่ 2,586 ตารางกิโลเมตร และรัฐวาติกันมีเนื้อที่ 0.4 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นรัฐด้วยกันทั้งสิ้น“แต่ดินแดนของรัฐจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ประการ คือ

1. ดินแดนของรัฐจะต้องมีความมั่นคง (Stable) กล่าวคือ ประชากรจะต้องอาศัยอยู่และใช้ดินแดนนั้นอย่างมั่นคงถาวร ถ้าประชากรนั้นเคลื่อนย้ายเร่ร่อนตลอดเวลา (Normadism) เช่น ชนเผ่ายิปซีในยุโรป ชาวอาหรับในเขตทะเลทรายสะฮาราและทวีปอเมริกาเหนือ จะไม่ถือว่าคนเหล่านั้นมีดินแดนที่มั่นคงถาวร ฉะนั้นเขตพื้นที่ของรัฐจะต้องสามารถบอกได้ว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้จดที่ไหนหรือในแผนที่ก็สามารถชี้บอกได้ว่า เขตพื้นที่อยู่เส้นละติจูด ลองติจูด หรือเส้นศูนย์สูตรที่เท่าไร ทำนองเดียวกันในปัจจุบันนี้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์หรือที่เรียกว่า “PLO” จึงได้พยายามต่อสู้ทั้งในด้านการเมืองและการทหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนที่แท้จริงของตนเพื่อความเป็นรัฐ

2.ดินแดนของรัฐจะต้องมีขอบเขตกำหนดอย่างแน่ชัด ทั้งนี้เพื่อระบุว่าอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ของรัฐสิ้นสุดเมื่อออกนอกเขตกำหนดนี้

  1. ประชากร (Population)
  2. ดินแดน (Territory)
  3. รัฐบาล (Government)
  4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม