เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกปทุมมาและกระเจียว
กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน
พืชในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นที่รู้จักของชาวไทยกันมานาน ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็น ผักเครื่องเทศ สีย้อม และสมุนไพร พืชสกุลขมิ้น (Curcuma) เป็นพืชวงศ์ขิงสกุลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งขมิ้นซึ่งถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องเทศ และสีย้อมผ้า กระเจียวก็เป็นพืชสกุลขมิ้นที่ชาวชนบทของไทยในภาคเหนือและ ตะวันออกเฉียงเหนือได้นำมาบริโภคโดยใช้ดอกมารับประทานกับน้ำพริก และกระเจียวส้มหรือ กระเจียวแดงก็เป็นไม้ดอกที่ผู้เดินทางผ่านถ้ำขุนตาลได้พบเห็นว่ามีชาวบ้านนำมาจำหน่ายในช่วง ฤดูฝน อย่างไรก็ตามพืชพื้นเมืองสกุลนี้ของไทยเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะไม้ดอกเมืองร้อน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยไม้ดอกสกุลนี้ซึ่งกำลังได้รับความสนใจก็คือกลุ่มปทุมมาและ กระเจียว
บุคคลแรกที่ทำให้ไม้ดอกสกุลขมิ้นได้รับความสนใจในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกคือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิศิษฐ์ วรอุไร ซึ่งได้ใช้อัจฉริยภาพของนักวิชาการด้านไม้ดอกนำพืชสกุลขมิ้นชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยขึ้นไปปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวงเมื่อราว พ.ศ. 2519 โดยท่านได้ตั้งชื่อพืชต้นนี้ว่า "ปทุมมาท่าน้อง" ซึ่งภายหลังได้เรียก สั้น ๆ เพียง "ปทุมมา" ปทุมมาถูกขยายพันธุ์และส่งขายยังต่างประเทศ ทำให้พืชสกุลขมิ้นชนิดอื่นถูกนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นไม้ดอก ซึ่งปัจจุบันไม้ดอกสกุลขมิ้นทั้งกลุ่มปทุมมาและกลุ่มกระเจียวของไทยกำลังเป็นที่สนใจของผู้ใช้ไม้ดอกในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปทุมมาซึ่งสามารถใช้เป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และไม้ประดับแปลงได้ดีขณะที่ กระเจียวชมพูและกระเจียวส้มถูกใช้เป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับสวนได้
ไม้ดอกกลุ่มปทุมมาและกลุ่มกระเจียวของไทยเพิ่งเป็นที่รู้จักของตลาดโลกไม่มากนัก ข้อมูลการส่งออกอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่าประเทศไทยส่งออกหัวไม้ดอกประเภทนี้ผ่านทางท่าอากาศกรุงเทพฯ และท่าอากาศยานเชียงใหม่ในปี 2535 รวม 346,152 หัว ราคาส่งออก หัวละ 0.38 - 15 บาท และใน 5 เดือนแรกของปี 2536 ราว 476,152 หัว ราคาส่งออกหัวละ 2 - 18 บาท ต่อปี ในปี 2536 นี้ได้มีการส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพ 9.38 ตัน มูลค่า 5.8 ล้านบาทด้วย ซึ่งจะเห็นว่าปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขณะที่ราคามีแนวโน้มที่สูงขึ้นด้วย อนึ่งราคาส่ง ออกซึ่งอยู่ในช่วงค่อนข้างกว้างนี้ น่าจะเป็นผลจากการผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่พร้อมจะแจ้งราคาที่แท้จริงเนื่องจากระบบภาษีศุลกากร การที่ราคาหัวของไม้ดอกประเภทนี้ในตลาดโลกสูงขึ้นแม้มีปริมาณการส่งออกสูงขึ้นด้วย แสดงว่าตลาดมีความนิยมต่อไม้ดอกประเภทนี้มากจึงทำให้การผลิตหัวจากประเทศไทยต่ำกว่าความต้องการ สำหรับเรื่องนี้คุณเรียวโกะ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญการตลาดของพืชกลุ่มปทุมมาแ ละกลุ่มกระเจียวประมาณว่าความต้องการของตลาดโลกในช่วงก่อน พ.ศ. 2540 นั้น ควรจะอยู่ในระดับ 2 ล้านหัวต่อปี
สำหรบเกษตรกรปลูกพืชกลุ่มปทุมมาและกลุ่มกระเจียวเพื่อจำหน่ายหัวนั้นสามารถสร้างรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายแก่เกษตรกรในระดับ 1-2 แสนบาท ต่อไร่ต่อปี ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับ พืชที่ไม่ต้องการการปฎิบัติดูแลมากนัก แหล่งผลิตหัวพืชกลุ่มปทุมมาและกลุ่มกระเจียว ที่สำคัญในปัจจุบันคือจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ทั้งนี้การปลูกในแหล่งอื่นก็สามารถผลิตหัวได้ เช่นจังหวัดพิจิตร นครปฐม และระยอง เป็นต้น
»
ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับปทุมมาและกระเจียว
» พันธุ์และการขยายพันธุ์ปทุมมาและกระเจียว
» การขยายพันธุ์
» การแยกเหง้า
» การขยายพันธุ์ด้วยชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว
» การดูแลรักษา
» การให้น้ำ
» การพรางแสง
» การให้ปุ๋ย
» การตัดดอก
» การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
» การผลิตดอกนอกฤดู
» การเก็บเหง้า
» ศัตรูและการป้องกันกำจัด