เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกชา
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ประโยชน์ของชา
ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุอาหารหลายชนิดเป็นองค์ประกอบที่ช่วยบำรุงให้ร่างกายมีสุขภาพดี ซึ่งประโยชน์ของชา พอจะสรุปได้ดังนี้
- ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบ
ซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต
ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย มีอิทธิพลต่อขบสนการเมตตาโบลิซึ่มของเซลล์ร่างกาย
ช่วยขยายหลอดเลือด และป้องกันโรคใจตีบตัน
นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก
และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด
โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียง
- ช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน
การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol)
คาร์โบไฮเดรท และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ
เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย
พร้อมกับชะล้างสารพิษต่าง ๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ทำให้ขบสนการเมตตาโบลิมซึ่มเกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน
เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก
และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน
และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism)
ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ
หรือหลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ ๆ
สักถ้วยจะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ช่วยย่อยอาหารจำพวกวิตามินกลุ่มต่าง ๆ เช่น inositol, folio acid, pantothenic
acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine,
thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึ่มเพื่อย่อยไขมัน
ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic)
ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่งปากเพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้
ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาติที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์
และเนยเป็นอาหารหลัก
- ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่าย
และชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
(colon bacillus) เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ
โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว (solidifying)
จากหลักฐานโบราณของจีนพบว่า น้ำชาแก่ๆ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี
ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเส ดังนั้น
บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด
สารโพลีฟีนอลในใบชาสามารถย่อย (decompose) อลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้
ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรัง
และสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย
ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์
(neutralization)
- ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค
รวมทั้งวิตามินพี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine)
ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี
ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable)
ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น,
วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2
ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนังและอาการของโรคปอดบวม เป็นต้น ชาฝรั่ง
(black tea) มีวิตามินเคมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย
จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเค พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ
ที่ผลิตในยูนาน มีชื่เสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha)
เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic
แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน
- ชาอูหลง สามารถช่วยลดความอ้วนและอาการท้องผูก
โดยจะช่วยละลายไขมันและช่วยในการย่อยอาหารและลดประจุ (discharge) ในปัสสาวะ
- มีรายงานต่างประเทศที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ
ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในไร่ชา ล้วนแต่มีอายุยืนนานและมีสุขภาพดี ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากการที่ปลูกชาเองแล้วก็ชงชาดื่มเป็นประจำ
นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังเชื่อว่า การดื่มชาเขียวจะช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งในกระเพาะอาหาร รวมทั้งยังมีคุณสมบัติคล้ายยาเอแซดที (AZT)
ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าแพทย์ญี่ปุ่นกำลังทำการแยกสารขมออกจากชาเพื่อนำมาใช้รักษาโรคพร้อมทั้งแพทย์ยังแนะนำด้วยว่า
ถ้าดื่มชาวันละ 3 ถ้วย จะได้รับวิตามินอี เป็นจำนวน 50% วิตามินเอ อีก 20%
ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
- สถาบันมะเร็งแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยจากคนดื่มชา 900 คนในเซี่ยงไฮ้ และ 11,500 คน ในอเมริกาพบว่าคนที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำนานๆ โอกาสเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารจะน้อยลง โดยจะลดลงในเพศชาย 20% ในเพศหญิง 20% ในเพศหญิง 50% เนื่องจากเพศหญิงไม่มีปัจจัยเสริมในการเป็นมะเร็งเช่น การดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ และการวิจัยยังพบอีกด้วยว่า ผลดีของชาเขียวจะลดลง ถ้าดื่มชาร้อนจัด
»
ประโยชน์ของชา
» แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
» ประวัติการปลูกชาของประเทศไทย
» พันธุ์และการขยายพันธุ์
» การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูกและการจัดการสวนชา
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การให้น้ำ
» การทำไม้บังร่ม
» การกำจัดวัชพืช
» ธาตุอาหาร
» การใส่ปุ๋ย
» การเก็บเกี่ยวชา
» การปรับปรุงสวนชา
» โรคและแมลงศัตรูชา
» แมลงศัตรูชา
» ผลกระทบจากข้อตกลงแกลต์และแนวทางการปรับตัว