ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
เบญจขันธ์
พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปของส่วนประกอบต่าง ๆที่ มาประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมดก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อย ๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกว่า "รถ" แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลายซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันจำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนปะกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า "รถ" สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ๆ นั้นเองก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อย ๆ ต่อ ๆ ไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่า สิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่าง ๆ มาประชุมเข้าด้วยกันเมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของกรประชุมส่วนประกอบนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจการแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้น ๆแต่ในที่นี้ จะแสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตรโดยวิธิแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ
- รูป ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานเหล่านั้น
- เวทนา ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ
- สัญญา ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษระต่าง ๆ อันเป็นเกตุให้จำอารมณ์นั้น ๆ ได้
- สังขาร ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิดมีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่าย ๆ ว่าเครื่องปรุงของความคิดหรือเครื่องปรุงของกรรม
- วิญญาณ ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจขันธ์ ๔ ข้อหลัง ซึ่งเป็นพวกนามขันธ์ มีข้อควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม เพื่อเห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้นและเพื่อป้องกันความสับสน ดังนี้
สัญญา
เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง
การหมายรู้
หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์
เช่น ลักษณะ ทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ
ตลอดจนชื่อเรียก
และสมมติบัญญัติต่าง ๆ ว่า เขียว
ขาว ดำ แดง ดัง เบา
เป็นต้นการหมายรู้หรือกำหนดนั้
อาศัยการจับเผชิญ หรือ
การเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการหรือความรู้ใหม่
ถ้าประสบการใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า
เช่นพบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว
ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้วถ้าประสบการใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า
เราย่อมนำเอาประสบการณ์หรือความรูเก่าที่มีอยู่แล้วนั้นเองมาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่เหมือนกันในส่วนไหน
อย่างไร
แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือตามที่ตนกำหนดเอาว่าเป็นนั่น
เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นี่
อย่างนี้เรียกว่า
กำหนดหมายหรือหมายรู้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป
ขอแยกสัญญาออกอย่างคร่าว ๆ เป็น ๒
ระดับ คือ
- สัญญาระดับสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปอยู่ตามปกติธรรมดาของมันอย่างหนึ่ง
- สัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง ปปัญจสัญญา อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดารด้วยแรงผลักดันของตัณหามานะและทิฏฐิซึ่งเป็นสังขารชั้นนำในฝ่ายร้ายอีกอย่างหนึ่งการแยกเช่นนั้จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสัญญากับขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
วิญญาณ
แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ
รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง
ความรู้ประเภทยืนพื้นหรือความรู้ที่เป็นตัวยืนเป็นฐานและเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่น
ๆ
เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด
เป็นทั้งความรู้ต้น
และความรู้ตาม
ที่ว่าเป็นความรู้ต้น
คือเป็นความรู้เริ่มแรก
เมื่อเห็น ได้ยิน
เป็นต้น(เกิดวิญญาณขึ้น)
จึงจะรู้สึกชื่นใจ
หรือบีบคั้นใจ(เวทนา)
จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่(สัญญา)จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่งไปต่าง
ๆ (สังขาร)เช่น เห็นท้องฟ้า(วิญญาณ)
รู้สึกสบายตาชื่นใจ(เวทนา)
หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส
ฟ้าสาย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย(สัญญา)
เวทนา
แปลกันว่า การเสวยอารมณ์
หรือการเสพรสของอารมณ์ คือ
ความรู้สึกต่อสิ่งที่ถูกรับรู้
ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการรับรู้
เป็นความรู้สึกสุข สบาย ถูกใจ
ชื่นใจ หรือทุกข์ บีบคั้น เจ็บปวด
หรือไม่ก็เฉย ๆ
อย่างใดอย่างหนึ่งข้อที่ควรทำความเข้าใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกัยเวทนา
เพื่อป้องกันความสับสนกับสังขาร
คือ
เวทนาเป็นกิจกรรมของจิตในขั้นรับ
กล่าวคือเกี่ยวข้องกับผลที่อารมณ์มีต่อจิตเท่านั้น
ยังไม่ใช่ขั้นที่เป็นฝ่ายจำนงหรือกระทำต่ออารมณ์
ซึ่งเป็นกิจกรรมของสังขาร
ดังนั้น คำว่า ชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ
ไม่ชอบใจ
ตามปกติจะใช้เป็นคำแสดงกิจกรรมในหมวดสังขาร
โดยเป็นอาการสืบเนื่องจากเวทนาอีกต่อหนึ่ง
เพราะคำว่า ชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ
ไม่ชอบใจ
แสดงถึงอาการจำนงหรือกระทำตอบต่ออารมณ์
ดังจะเห็นได้ในลำดับกระบวนธรรม
สังขาร
หมายรวมทั้งเครื่องแต่งคุณภาพของจิต
หรือเครื่องปรุงของจิต
ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำและกระบวนการแห่งเจตน์จำนงที่ชักจูง
เลือกรวบรามเอาเครื่องแต่งคุณภาพเหล่านั้นมาประสบปรุงแต่งความนึกคิด
การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย
วาจา ใจ
สัญญา - สติ - ความจำ
มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด
คำว่าสัญญา ก็มักแปลกันว่า
ความจำ คำว่า สติ
โดยทั่วไปแปลว่าความระลึกได้
บางครั้งก็แปลว่าความจำ
และมีตัวอย่างที่เด่นเช่นพระอานนท์
ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์
คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่าสติ
ดังพุทธพจน์ว่า
"อานนท์เป็นเลิศกว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสนความไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว
แต่เป็นกิจกรรมของกระบวนธรรม
และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้
สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่
ทำหน้าที่เป็นหลัก
มีบทบาทสำคัญที่สุดสัญญาก็ดี
มีความหมายคาบเกี่ยวและเหลื่อมกันกับความจำ
กล่าวคือ
ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำอีกส่วนหนึ่งของสัญญาอยุ่นอกเหนือความหมายของความจำ
แม้สติก็เช่นเดียวกัน
ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ
อีกส่วนหนึ่งของสติ
อยู่นอกเหนือความหมายอของกระบวนการทรงจำ
ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่าง
สำคัญคือ
สัญญาและสติทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ
สัญญา - วิญญาณ - ปัญญา
สัญญา วิญญาณ ปัญญา
เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓
อย่าง
แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน
และอยู่คนละขันธ์ สัญญา
เป็นขันธ์หนึ่ง
วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง
ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง
สัญญาและวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นความเข้าใจ
ปัญญา แปลกันมาว่า ความรอบรู้
เติมเข้าไปอีกว่า ความรู้ทั่ว
ความรู้ชัด คือ
รู้ทั่วถึงความจริงหรือตรงตามความเป็นจริง
ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่าง
ๆ กัน เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล
รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด
ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ
รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์
รู่เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ
รู้เหตุรู้ปัจจัย รู้ที่ไปที่มา
เป็นต้น ปัญญาตรงข้ามกับโมหะ
ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้
ความเข้าใจผิด
สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่
อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ
เพราะเมื่อหลง
เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิด
ๆ อย่างนั้น
ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง
สัญญา และวิญญาณ
อาศักอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานไปได้
สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น
แต่ปัญญาฝ่ายจำนงต่ออารมณ์
ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์
เชื่อมโยงอารมณ์นั้นกับอารมณ์นี้กับอารมณ์โน้นบ้าง
พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้างเอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห็ออกไปบ้าง
มองเห็นเหตุ เห็นผล
เห็นความสัมพันธ์
ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรหาเรื่องมาให้วิญญาณและสัญญารับรู้และกำหนดหมายเอาไว้อีก