ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
นักเขียนไทย
ชี วิ ต แ ล ะ ง า
น
ป.
อินทปาลิต
ผู้ สั น โ ด ษ แ ล ะ
ถ่ อ ม ต น
ยาขอบ
ขุ น พ ล นั ก ป ร ะ
พั น ธ์
ศรีบูรพา
สุ ภ า พ บุรุ ษ นั ก
เ ขี ย น
สด กูรมะโรหิต
นั ก เ ขี ย น "
ตุ๊ ก ต า ท อ ง "
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
เ จ้ า ช า ย นั ก ป ร
ะ พั น ธ์
ป. อินทปาลิต
ป. อินทปาลิต ชื่อจริง ปรีชา
อินทปาลิต บิดาชื่อ พ.ท.
พระวิสิษฐพจนการ (อ่อน อินทปาลิต)
ประวัติชีวิตส่วนตัวไม่ปรากฎ
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน
พ.ศ. 2511
ป. อินทปาลิต
ปรารถนาจะเป็นทหารอย่างบิดา
จึงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเจ้า
รุ่น พ.ศ. 2474 แต่เรียนไม่สำเร็จ
เพราะสอบตก 2 ปีซ้อน
จึงต้องออกตามกฎระเบียบ
จากนั้นเข้าทำงานอีกหลายแห่ง
เช่น กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงคมนาคม
และที่โรงเรียนช่างพิมพ์ของคุรุสภา
ภายหลังลาออกมาประกอบอาชีพเขียนหนังสืออย่างเดียว
ขณะที่ ป. อินทปาลิต
ออกจากโรงเรียนนายร้อย
กำลังเป็นยุคนวนิยายราคาเยาว์เฟื่องฟู
และป. อินทปาลิต
มีความสามารถในการเขียนบ้างแล้ว
จึงได้ลองแต่งนิยายเรื่องแรก
ชื่อ "นักเรียนนายร้อย"
โดยได้นำเหตุการณ์
และประสบการณ์ขณะที่ยังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อย
มาประกอบเป็นโครงเรื่อง
แล้วส่งไปให้คณะเพลินจิตต์
ซึ่งได้รับพิจารณาพิมพ์ออกจัดจำหน่าย
เนื่องจากสมัยนั้นเป็นสมัยที่นักเรียนนายร้อยกำลังเป็นที่นิยมกันทั่วไป
เมื่อหนังสือออกวางตลาดจึงมีคนสนใจอ่านกันมาก
หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นนักเขียนในคณะเพลินจิตต์
เขียนเรื่องส่งไปให้เป็นประจำ
ป. อินทปาลิต
เป็นที่มีนิสัยถ่อมตน สันโดษ
ไม่ค่อยได้สังสรรค์กับนักเขียนร่วมอาชีพเท่าใดนัก
เขาเป็นนักเขียนที่มีความสามารถพิเศษ
คือเขียนเรื่องได้เร็ว
เมื่อประสบความสำเร็จจากการเขียนนิยายเรื่องแรกแล้ว
ชื่อเสียงของเขาก็ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง
จนได้รับความนิยมสูงขึ้น
จึงได้ผลิตงานชุดอื่นๆออกมาอีก
เช่น ชุดตลกขบขัน พล นิกร กิมหงวน
ชุดบู๊ดุเดือด เสือใบ
เฉพาะชุดเสือใบนี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องขอร้องให้เพลาการโลดโผนลงบ้าง
เพราะตัวเอกของเรื่องที่เป็นโจร
เก่งกล้าสามารถ
อาจหาญเกินผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
เกรงว่าจะเกิดการลอกเลียนแบบ
ทำให้การปราบปรามยากลำบากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ก็ยังมีคติธรรมแฝงอยู่
คือฝ่ายอธรรม
แม้จะยิ่งใหญ่มีอิทธิพลเพียงใด
ก็ยังต้องพ่ายแพ้ธรรมะทุกครั้งไป
ตลอดชีวิตเขาไม่เคยหยุดเขียน
ผลงานของเขาจึงมีออกมาไม่ขาดสาย
บางคนบอกว่าเขาเขียนเรื่องอย่างพื้นๆ
ไม่มีผลงานที่นับเป็นวรรณกรรมได้
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า
งานเขียนของเขาทำให้วงการเขียนไม่ซบเซา
แม้ในยามที่ตลาดอยู่ในภาวะเงียบเหงา
เขาก็ยังมีงานเขียนออกมาเรื่อยๆ
บางทีเมื่อไม่มีงานใหม่
เรื่องเก่าของเขาก็ยังได้รับการพิมพ์ใหม่อยู่เสมอ
นับว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการเขียนของเมืองไทยอย่างทรหดอดทนผู้หนึ่ง
ผลงานเขียนชุด พล นิกร กิมหงวน
ระยะแรกที่พิมพ์ในนิตยสาร
ปิยะมิตรพิเศษ วันจันทร์ พ.ศ. 2490
คือ
1.) ฮอลลีวู๊ดสโมสร
2.)
สามเกลอผจญโจร 3.)
สามเกลอเมืองคาสิโน
4.) สามเกลอกลับบ้าน
5.)
สามเกลอเกี้ยวแม่ม่าย 6.)
สามเกลอผจญเสือใบ
7.) สามเกลอไข่คน
8.)
สามเกลอเจอลักเพศ 9.) พล
นิกร กิมหงวน เยี่ยมปิยะมิตร
10.) สามเกลอปล้นพ่อตา 11.)
สามเกลอเจอช่างถ่ายรูป 12.)
สามเกลอเที่ยวงานสวนอัมพร
13.) สามเกลอคนละพรรค 14.)
สามเกลอเจออภินิหารหน้ากากดำ
15.) สามเกลอของขวัญปีใหม่
16.) สามเกลอตะกละ
17.) สามเกลอนักเลง
18.)
สามเกลอดูดาว
เรื่องสั้นอื่นๆ คือ
กระทิงเขาหัก , สัมภาษณ์เสือใบ ,
ไอระเหยจากอกน้องนาง ,
หล่อนเป็นสาวสมัยพลาสติก
,มนต์รักเมื่อจันทร์ลับฟ้า,
คิมหันต์ที่กลับมาทำให้เธอเบื่อโลก
, ชาย 10 โบสถ์ (แต่งอุทิศให้ ไม้
เมืองเดิม) ,พลับพลึงไพร
,เขามาแต่วิญญาณ ,
เขากลับมามือเปล่า , ผู้แพ้ ,
เบื้องหลังการปล้นทองรายใหญ่ ,
โซ่ทอง
งานเขียนชุดสุดท้ายของ ป.
อินทปาลิต
ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ชื่อคอลัมน์ "สังเวียนชีวิต"
เล่าประวัติชีวิตของตนเอง
บั้นปลายชีวิต ของ ป. อินทปาลิต
จบลงอย่างลำบากยากจน
มีผู้กล่าวถึงเขาไว้ว่า ป.
อินทปาลิต สร้างเสี่ยกิมหงวน
ไว้อย่างโอ่อ่า และมั่งคั่ง
แต่เมื่อเขาใกล้ตาย
เสี่ยกิมหงวน
ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย.
*** นอกจากนามปากกา ป. อินทปาลิต แล้ว ปิ๋ว ก็เป็นอีกนามปากกาหนึ่งของเขาด้วย.