ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
นักเขียนไทย
ชี วิ ต แ ล ะ ง า
น
ป.
อินทปาลิต
ผู้ สั น โ ด ษ แ ล ะ
ถ่ อ ม ต น
ยาขอบ
ขุ น พ ล นั ก ป ร ะ
พั น ธ์
ศรีบูรพา
สุ ภ า พ บุรุ ษ นั ก
เ ขี ย น
สด กูรมะโรหิต
นั ก เ ขี ย น "
ตุ๊ ก ต า ท อ ง "
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
เ จ้ า ช า ย นั ก ป ร
ะ พั น ธ์
สด กูรมะโลหิต
สด กูรมะโลหิต
เกิดที่ตำบลท่าเรือจ้าง
อำเภอเมืองจันทบุรี
บิดาเคยทำหน้าที่เป็นหลวงยกกระบัตรเมือง
ยกกระบัตรมณฑล ปลัดมณฑล
และผู้ว่าราชการจังหวัด
ต้องโยกย้ายไปทำงานตามระเบียบกระทรวงตั้งแต่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงรามฤทธิรงค์ หลวงอุบลคณูปกร
และเป็นพระจรูญภารการ
นามเดิมว่า "โป๊" หรือ "เติม"
กูรมะโลหิต มารดาเป็นคนมีฐานะดี
และได้ติดตามคุณพระไปรับราชการต่างจังหวัดหลายแห่ง
จนครบเกษียณอายุราชการ
อำมาตย์โท พระจรูญภารการ
เป็นนักเขียนสมัครเล่น
ผลงานที่เคยแต่งไว้ได้แก่
"ความรอดพ้นของมนุษย์"
เป็นเรื่องสารคดีที่เขียนถึงพุทธธรรม
และเมื่อท่านสนใจในบทกวี
ท่านก็ได้สั่งสอนลูกชายของท่านด้วย
โดยการสอนให้แต่ง โคลง ฉันท์
การพย์ กลอน สด กูรมะโลหิต
เขียนบทกวีบทแรกเป็นโคลงสี่สุภาพ
เมื่อเขาอายุได้เพียง 12 ขวบ
สด กูรมะโลหิต
เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเทพศิรินทราวาส
ตั้งแต่ ม.1 ถึงม.8
สำหรับชั้นประถมนั้นเรียนตามต่างจังหวัดซึ่งบิดาต้องไปรับราชการ
การศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์นี้เอง
ที่ทำให้เขาเริ่มสนใจการเขียน
งานเขียนของเขาหลายชิ้นได้ลงพิมพ์ใน
"แถลงการณ์เทพศิรินทร์"
ซึ่งมีชื่อเสียงในวงการประพันธ์ในยุคนั้น
และมีคนสนใจอ่านกันไม่น้อย
ทั้งที่เป็นการพิมพ์แบบโรเนียว
แต่ต่อมาก็เข้าโรงพิมพ์เป็นหลักเป็นฐานทีเดียว
แรกๆนั้นหนังสือ"ดรุณสาสน์"
ที่พิมพ์ดีดออกในชั้นเรียนมีเพื่อนร่วมชั้นหลายคนเข้าร่วมด้วย
เช่น สนิท เจริญรัฐ
ศาสตราจารย์เพ็ง โสมนะพันธ์
คนอื่นๆได้แก่ ยาขอบ และกุหลาบ
สายประดิษฐ์ ก็เข้าร่วมด้วย
ในที่สุด "ดรุณสาสน์"
ก็เติบโตจนมาเป็น
"แถลงการณ์เทพศิรินทร์"
ชีวิตการเขียนของเขาแสดงให้เห็นแววนักประพันธ์อย่างเด่นชัด
โดยเขาความสามารถเขียน บทกวี
เรื่องสั้น นวนิยาย เรื่องแปล
และถ่ายภาพประกอบตลอดจนออกแบบปก
ได้ด้วยตัวเองจนแทบจะทำหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับได้ด้วยตัวคนเองเลยที่เดียว
สด กูรมะโลหิต
ใช้นามปากาครั้งแรกในหนังสือ
ไทยเกษม ว่า "โภคโรหิต" จนพ.ศ. 2476
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเล็กน้อย
สดเขียนบทความให้หนังสือพิมพ์รายวัย
"ประชาชาติ" โดยมี กุหลาบ
สายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ
และม.จ.วรรณไวทยากร เป็นเจ้าของ
ซึ่งนักอ่านยุคนั้นรู้จักกันดีว่า
เป็นแหล่งชุมนุมนักเขียนหัวก้าวหน้า
สด กูรมะโรหิต ใช้นามปากกาใน
"ประชาชาติ" รายวัน 3
ชื่อด้วยกันคือ บาร์บารา เสรี และ
สากล โดยทั้งสามนามปากกา
ได้แสดงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมา
และเสนอแนะอย่างลูกผู้ชายในระบอบประชาธิปไตย
บทความทางการเมืองบางชิ้น
ส่งมาจากกรุงปักกิ่ง
ขณะที่เขากำลังศึกษาเรียนหนังสืออยู่ที่นั่น
เขากลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ.2479
และยังเป็นนักเขียนอยู่ที่
"ประชาชาติ" พ.ศ.2481
เขาได้เขียนหนังสือลงพิมพ์ใน
"ประชามิตรรายวัน" ในยุคของ
กุหลาบ สายประดิษฐ์และสนิท
เจริญรัฐ
โดยเขียนประเภทบมความการเมือง
เศรษฐกิจ เรื่องสั้น เรื่องยาว
เรื่องแปล เช่นเรื่อง
มหายุทธสงคราม
หลังฉากมหายุทธสงคราม
และเรื่องแปล ได้แก่เรื่อง
แซมมวลไวท์ ใต้ธงสยาม เป็นต้น
สด กูรมะโลหิต
ได้คลุกคลีอยู่ในวงการเขียน
และหนังสือพิมพ์ทั้งในและนอกประเทศมามากพอสมควร
จนได้สร้างอาณาจักรหนังสือขึ้นที่
โรงพิมพ์อักษรนิติ
สี่แยกบางขุนพรหม หนังสือแรกที่
สด กูรมะโรหิต สร้างสรรค์คือ
"เอกชน"
เป็นนิตยสารายสัปดาห์
จนเมื่อ "เอกชน"
อยู่ในขั้นทรงตัวได้
เขาก็สร้างนิตยสารอีกฉบับหนึ่งชื่อ
"สวนอักษร"
รายสัปดาห์โดยมอบให้คุณเนียน
ภรรยาเป็นผู้รับหน้าที่บรรณาธิการ
เพื่อสร้างสรรค์เวทีนักเขียนเก่า
ใหม่ ขนาดเล่มเท่ากับ "เอกชน"
เมื่อ "สวนอักษร"
รายสัปดาห์เริ่มได้ไม่นาน
สดและเพื่อนก็ทำนิตยสารรายเดือนอีก
คือ "ศิลปิน"
มอบหน้าที่บรรณาธิการให้
น.ประภาสถิต
"ศิลปิน"อยู่ได้ไม่นานก็มีอันต้องเลิกไป
ตามสภาพตลาดหนังสือยามสงคราม
ประมาณ พ.ศ. 2487 สด กูรมะโรหิต
และเพื่อนๆ ได้ก่อตั้ง
"จักรวรรดิศิลปิน"
ในอาคารโรงพิมพ์อักษรนิติ
อาศรมหนังสือใหญ่ 3 ฉบับ คือ เอกชน
สวนอักษร และศิลปิน
ทั้งนี้เพื่อต่อสู้กับพวกนายทุน
ที่ขูดรีดนักเขียนนั่นเอง
นอกจากจะรักงานประพันธ์แล้ว
สด กูรมะโลหิต
ยังรักการวาดรูปอีกด้วย
เพื่อนร่วมสมัยที่เป็นจิตรกรของเขาคือ
เหม เวชกร
ศิลปินเอกในวงการจิตรกรรม
อีกคนหนึ่งคือ วรรณสิทธิ์
ศิษย์เพาะช่าง
ลูกจ้างกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งเคยมีผลงานใน "เอกชน" กับ"สวนอักษร"
และ"ศิลปิน"
หลังจากเขียนนวนิยายชุด
ปักกิ่งจบ สด กูรมะโลหิต
ก็เริ่มหันเหชีวิตไปเป็นเกษตรกร
ที่ "ไร่แผ่นดินไทย"
ตามอุดมการณ์
โดยเริ่มซื้อที่ดินที่ดงหัวโขน
ปราจีนบุรี 60 ไร่ และลงมือทำอยู่ 6
ปี
ไม่ได้ผลเพราะดินฟ้าไม่เอื้ออำนวย
จากนั้นก็ย้ายไปทำไร่ที่
นาจอมเทียน ชลบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2491
จนถึง พ.ศ.2505
โดยได้วางโครงการณ์ไว้ 3 ระยะ
แต่ก็ไม่เป็นผลนัก
จนในที่สุดก็ต้องใช้ที่ดินนี้
ไปประกันไว้กับธนาคาร
เพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนในไร่แผ่นดินไทย
ครึ่งชีวิตหลังของเขาได้ทุ่มเทบนไร่แห่งนี้
แต่เมื่อไม่ประสบความสำเร็จเขาจึงประกาศขาย
แต่ก็หาคนซื้อไม้ได้
สด
กูรมะโลหิต เสียชีวิต
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ณ
โรงพยาบาลมาราธิบดี นิยายเรื่อง"ขบวนเสรีจีน"
ของเขาเคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองในปี
2502
ส่วนงานเขียนอื่นๆของเขามีดังนี้
ลิลิตราชูปตัย
มหายุทธสงคราม
หลังฉากมหายุทธสงคราม
ข้อคิดจากไร่แผ่นดินไทย
เมืองสหกรณ์
โครงการณ์บูรณะชนบทแห่งชาติ
ไขปัญหาชีวิต
บทความ บาร์บารา
ศตวรรษแห่งการต่อสู้
ที่ว่าสับติภาพนั้นอย่างไร
แซมมวลไวท์ใต้ธงสยาม
ขบถเมืองซีอาน
จีนกับญี่ปุ่น
นวนิยาย
ได้แก่
ปักกิ่งนครแห่งความหลัง
คนดีที่โลกไม่ต้องการ
เมื่อหิมะลาย
ความปรารถนา
คนละเลือด
เจียงเฟ
ผู้เสียสละ
ระย้า
นักปฎิวัติ
ไฟชีวิต
เลือดสีน้ำเงิน
เลือดสีแดง
ขบวนเสรีจีน
สิ้นเวร
โกรกกระทิง
ชีวิตคือความฝัน
หวังเพื่ออยู่
นี่แหละชีวิต
วิญญาณพยาบาท
ชู้รัก เลดี้แชตเตอร์เลย์
อัชฌาเทวี
บทละครเวที 10 เรื่อง
บทละครวิทยุ 50-60 เรื่อง
บทละครโทรทัศน์ 5-6 เรื่อง
ทาษหัวใจ
พลายมะลิวัลย์
นอกจากนี้
สด กูรมะโลหิต
ยังใช้เวลาเขียนบทความต่างๆ
ในทัศนะเดิมของตน
ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมากมาย
จนไม่สามารถรวบรวมได้.