ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ

THE NORTHERN EUROPEANS CUSTOMES

การแต่งกายอังกฤษสมัยกลาง

ในช่วงต้นศตวรรษ ชาวอังกฤษชายหญิงจะสวมเสื้อ Shirt หรือ Camise หรือ Chemise ทำจากผ้าลินินหรือผ้าขนแกะเนื้อ บางแนบตัว เอาไว้ชั้น ใน ชั้น ที่ 2 จะสวมชุด Cotte หรือ Stola ซึ่งเป็นเสื้อแขนยามีกระดุมตั้งแต่ศอกถึงข้อมือ ชั้น ที่ 3 สวม Bliaud หรือ Tunic เป็นเสื้อหลวมยาว ถึงข้อเท้า แขนกว้าง ต่อมาผู้ชายจะเปลี่ยนมาใส่ Bliaud สั้น สวมถุงเท้าหนาเรียกว่า Stocking

หมวกผู้ชายสวม Skullcaps หรือ Hood ผู้หญิงจะสวม Headrail เป็นหมวกทำจาก ผ้าลินิน หรือฝ้ายทรงเหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง รีบ้าง แล้วมีเชือกผูกใต้คาง

ตอนกลางศตวรรษ ชายหญิงชาวอังกฤษจะสวมเสื้อแบบใหม่เรียกว่า Surcoat มีลักษณะ เหมือนเอียมโค้ง เว้าวงแขนลึกประมาณระดับสะโพก ต่อมาจะเป็น Dress ส่วนชุดชั้น ใน Cotte จะเปลี่ยนไปเป็น Petticoat และใส่หมวกที่เรียกว่า Chinband ทำด้วยผ้าแข็งจีบมีสายคาดคาง ต่อมาจะสวมเสื้อที่เรียกว่า Cotehardis ไว้ใน Surcaot มีลักษณะเข้ารูปรัดตัดผ่าหน้า มีกระดุมติด แขนยาวมีกระดุมติดจากศอกถึงนิ้วก้อย ภายหลังเรียกว่า Jacket

ตอนปลายสมัยมีหมวกเกิดขึ้น หลายแบบ มี liripipe หรือ Hood ใช้คลุมศีรษะและคอ มีหางยาวแบบ Turban หมวกทรง Bonnets และทรง Hennes

ทรงผมของชายจะตัดสั้น บางคนตัดเกรียนแบบพระ กันท้ายทอย ส่วนหญิงไว้ทรง Reticulated Headdress หรือถักเปีย 2 ข้าง ขมวดไว้ข้างหูแล้วคลุมด้วย Net ประดับเพชรพลอย

เสื้อคลุมจะมีหลายแบบลักษณะตัดยาว ทั้งมีปกและไม่มีปก แขนกว้างทรงกระบอกหรือ ปลายแขนกว้างประดับด้วยขนสัตว์

รองเท้าจะเป็นรองเท้าปลายงอน

อังกฤษสมัยฟื้นฟู

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7-8 (1485-1447)

ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 (1485-1509) เสื้อทูนิคของชายสั้น เปิดอก มองเห็นชุดปักด้านใน บริเวณคอเสื้อมีจีบ สวมเสื้อ Gown ทับ แขนพอง เจาะผ้า ผู้หญิงทรงกระโปรงยังเป็นทรงระฆัง ชั้น ในเป็นผ้าดิบแข็งเพื่อช่วยให้กระโปรงพอง เสื้อรัดรูป แขนเสื้อจะยาวและกว้าง

ผม ชายไว้ทรงบ๊อบ สวมหมวกกำมะหยี่ดำ เรียกว่า Gable hood ใช้สวมทับหมวกชั้น ใน อีกที มีเชือกผูกให้พองไว้ด้านหลัง ด้านหน้าเป็นกระบังมีปักลวดลาย มีผ้าอีกชั้น รัดไว้ใต้คาง

รองเท้าเป็นผ้าหนัง หรือกำมะหยี่ มีปักและประดับด้วยเพชรพลอย

ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (1509-1541) การแต่งกายมี 2 แบบ
แบบเสื้อไหล่กว้างและหนุนให้ตั้งเพื่อให้ดูสง่า แขนพองมีการเจาะผ้า สวมกางเกงรัดรูป รองเท้าหัวเหลี่ยม สวมเสื้อเชิ้ต และทูนิคไว้ข้างใน ปกระบายรูดติดลำคอ มีไหมสีดำ ผ้าผูกที่คอเสื้อ ต่อมากลายเป็นไทด์ (Tied) ปลายแขนเสื้อเชิ้ต รูดระบายมีปักแบบสเปน

อีกแบบคือ แบบไหล่แคบเพื่อทำให้ดูผอม ชั้น ในจะสวม Waistcoat เป็นเสื้อรัดรูปทำให้ เห็นเชิ้ต ตัวใน สวมกางเกงรัดรูป

การแต่งกายทั้ง 2 แบบ จะสามารถเปลี่ยนแบบได้หลายแบบ โดยเฉพาะแขนทำเป็น แขนปลอมไว้ สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยมีเชือกผูกที่หัวแขน

ผู้หญิง กระโปรงทรงบานบริเวณสะโพก และหน้าท้องมีเครื่องรัดเรียกว่า Kirtle สวม เสื้อ ผ้าต่วนลายดอกทับข้างนอก ดอกทับ และสวมเสื้อคลุม (Gown) ทำจากผ้ากำมะหยี่ คอเหลี่ยม กว้าง แขนหลวมสวมทับอีกที เริ่มมีชุดนอนทำจากผ้าต่วนสีดำ กุ๊นด้วยกำมะหยี่สีดำ นิยมน้ำหอม

สมัยพระเจ้า Edward ที่ 6, พระนาง Mary พระนาง Elizabeth (1547-1603)

ในช่วงของสมัยพระเจ้า Edward ที่ 6 และพระนาง Mary (1547-1553, 1553-1558) การแต่งกายไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ความหรูหราจะมีน้อยลง แต่ก็มีการเริ่มใช้ปกเสื้อ เป็นครั้งแรก ปลายปกจะมีลวดตรึงติดเพื่อการจับจีบและระบาย และมีการปักตกแต่งได้รับอิทธิพล การแต่งกายมาจากสเปน จนกระทั่งถึงสมัยพระนางอลิซาเบท (1558-1603) มีการเปลี่ยนแปลง การแต่งกายใหม่บ้าง ได้เปลี่ยนทรงกางเกงผู้ชายเป็นแบบ Trunk hose เป็นกางเกงที่ส่วนบนจีบ พองและเจาะผ้า และรัดไว้ที่ปลายขาโดยมีแถบริบบิ้น ผูกไว้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ยางยืดเป็นเสื้อ เข้ารูปปลายบานเหมือนกระโปรงสั้น มีเจาะผ้าและปักตามรอยเจาะ

ผมของผู้ชายตัดสั้น ไว้หนวด แต่งเรียวแหลม สวมหมวกมีปีก

การแต่งกายของผู้หญิง การแต่งกายก็เหมือนกับสมัยก่อน แต่กระโปรงจะบานมาก มีการใช้ โครงในที่เรียกว่า Wheel Farthingale กระโปรงจะแยกตรงกลางให้เห็นผ้าลวดลายชั้น ใน รองเท้า จะประดับด้วยลูกไม้ หรือปักด้วยไหมส้นสูง ผมนิยมไว้ผมปลอมประดับด้วยเพชรพลอย ย้อมผม สีแดง และสีบรอน

ในยุคนี้ค้นที่ไม่ใช่เจ้าห้ามใส่ชุดสีแดง และนุ่งกางเกงขาสั้นรัดปลายขา

สมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 และพระเจ้าชาลส์ที่ 1 (1603-1625, 1625-1649)

ในระยะแรกการแต่งกายของชายจะเป็นเสื้อรัดรูปที่เรียกว่า Doublet มีชายเหลือคลุมถึง ระดับสะโพกเหมือนกระโปรงสั้น ไหล่พอง มีปีกแขนเสื้อ ต่อมานิยมใช้ปักผ้าลินินกว้างพอดีไหล่ ตกแต่งริมด้วยลูกไม้ มีสายริบบิ้น ผูกด้านหน้าเป็นปกหลอก ต่อมาเปลี่ยนใช้เสื้อแบบ Cavalier จะเป็นเสื้อเอวปล่อยแทน Doublet เรียก Jacket สวมทับบนเสื้อเชิ้ต มีสายคาดทับบน Jacket ทำจากหนังหรือผ้าต่วน กางเกงชายจากเดิมพอง ๆ และรูดที่ปลายขาเปลี่ยนมาเป็นทรงหลวม ๆ ยาวถึงเข่า รวบปลายขา ผูกด้วยลูกไม้ หรือเป็นเสื้อคลุมหลวม ๆ ตัวสั้น ผมยาวม้วนหยิกเป็นหลอด สวมหมวกขอบใหญ่ทรงเตี้ย หรือขอบเล็ก ทรงสูงนิยมด้วยขนบีเวอร์ รองเท้านิยม Boot ทำด้วย หนังนิ่มสีอ่อน ๆ เสริมพื้น ใต้รองเท้าสูง เรียกว่า Platform นิยมสีแดงมี Spur

การแต่งกายของผู้หญิง ระยะแรกจะใส่กระโปรงมีโครงด้านในที่เรียกว่า Farthingale ต่อมาสวมเสื้อคนละท่อนกัน กระโปรงตัวหลวม ด้านหลังมีเชือกร้อยรัดแน่น กระโปรงชั้น นอกจับ ให้หยักรั้งขึ้น ไปให้เห็นกระโปรงชั้น ใน ปกเสื้อใหญ่จากคอลงไปปิดไหล่ ประดับลูกไม้หรือปักมีทั้ง แขนยาวและสั้น

ผมของผู้หญิง ทำเป็นหลอดปรกหน้าผากด้านหน้าและด้านข้าง รองเท้าหัวเหลี่ยมส้นไม่สูง ผูกริบบิ้น ติดดอกกุหลาบ

ต่อมาในสมัยโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell 1694-1660) เป็นขุนนางอังกฤษ ที่ทนดูการฟุ่มเฟือย หรูหรา ในราชสำนักไม่ไหวจึงยึดอำนาจ และได้เปลี่ยนแปลงการแต่งกายใหม่ ลดความหรูหรา สุรุ่ยสุร่ายลง เป็นแบบเรียบ ๆ ง่าย ๆ ใช้สีตกแต่งแทนเครื่องประดับ สีที่ใช้เป็น สีขรึม ๆ เสื้อผู้ชายเสื้อคลุมเปลี่ยนเป็นแบบไม่มีแขน ปกเรียบ ผู้หญิงกระโปรงก็ไม่บานมาก เสื้อ รัดรูป ข้างหน้าทำเหมือนผ้ากันเปื้อนสีขาว ผูกติดไม่มีผ่ากลาง แยกให้เห็นชั้น ในเหมือนในสมัยก่อน

ต่อมาเมื่อ Oliver Cromwell เสียชีวิตมีการปฏิรูปให้กษัตริย์กลับมีอำนาจอีกเรียกว่า สมัย The English Restoration ของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และพระเจ้า James ที่ 2 (1660-1685, 1685-1689) การแต่งกายก็มีการเปลี่ยนแปลงไป

ชายจะแต่งตัวสวมเสื้อรัดรูป มีการตกแต่งลูกไม้และจีบบริเวณแขนเสื้อและรัดเป็นปล้อง ๆ ให้พองเหมือนเดิม ผมไว้ยาวและสวมหมวก สวมรองเท้าหนังประดับริบบิ้น

หญิงสวมเสื้อรัดรูป โดยมี Corset เป็นเครื่องรัด เสื้อคอกว้าง ดันหน้าอกให้สูงขึ้น แขนเสื้อ กว้างและรัดเป็นปล้อง ๆ ให้พอง ชายกระโปรงและชุดชั้น ในตกแต่งด้วยลูกไม้

BYZANTINE (บาเซ็นไทน์)
สมัยแขกมัว (Moorish or Saracenic Spain)
สมัยฟื้นฟูของสเปน
อิตาเลียน
อังกฤษ
ฝรั่งเศส

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้