สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กบฏผีบุญ

โดย ภูมิวัฒน์ นุกิจ

หน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

6

หากมองในแง่ของวิธีการทำงานขยายมวลชนของกบฏผู้มีบุญ จะเห็นว่าได้มีการนำเอาความเชื่อของชาวบ้าน ซึ่งมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวโยงร้อยกันกับธรรมชาติและยังหลอมรวมกับพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้านที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาแบบทางการ พระหรือวัดนั้นถือว่ามีอิทธิพลอย่างสูงกับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เช่น หากไม่สบายก็จะมาให้พระที่วัดรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ผูกด้ายสายสิญจ์ข้อมือ ปัดเป่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีหมอธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ผ่านการบวชเรียน มาทำพิธีกรรมปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บให้กับชาวบ้าน

ในเรื่องของอุดมการณ์ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมาย หลักคิด และวิธีคิดที่สำคัญอันจะนำไปสู่การปฎิบัตินั้น อุดมการณ์ของกบฏผู้มีบุญนั้นต้องการระบบการปกครองแบบใหม่ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบใหม่ ที่ไม่ต้องการขึ้นตรงต่อรัฐเลย และ กบฏผู้มีบุญไม่สามารถที่จะเป็นอิสระจากรัฐได้อย่างแน่นอน

รูปแบบโครงสร้างการจัดองค์กรของกบฏผู้มีบุญ เป็นไปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีสัตยาบันหรือโองการแช่งน้ำใดๆ เพียงแต่ศรัทธาต่อความเชื่อในอุดมการณ์พระศรีอาริย์ ก็มาเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏผู้มีบุญได้เลย โดยผู้ที่ชวนกันมาเข้าร่วมนั้นจะรู้จักมักคุ้นกันแบบพี่น้องหรือเครือญาติ และไม่มีระเบียบแบบแผนอะไรมากมายนัก ส่วนในด้านการนำหรือผู้นำ รวมทั้งการตัดสินใจนั้น ถือว่ามีการรวมศูนย์ไว้ที่ฝ่ายหัวหน้าของกบฏผู้มีบุญ และผู้ที่เข้าร่วมในขบวนการส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวบ้าน ชาวนา ชาวไร่ กำลังพลที่มีอยู่นั้นถือว่าไม่แน่นอนเพราะขึ้นอยู่กับความสมัครใจของชาวบ้าน และนอกจากนี้ยังขาดองค์ความรู้ทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และไม่ได้ผ่านการฝึกฝนให้ใช้อาวุธ ส่วนอาวุธที่ใช้ก็เป็นแบบหาได้เท่าที่จะมีกัน ดังนั้นถ้ามองในแง่การต่อสู้ของกบฏผู้มีบุญ ถือว่าอยู่ในฐานะเสียเปรียบอย่างมากเมื่อเทียบกับกำลังของฝ่ายรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช

ส่วนในด้านสภาพทางสังคมหรือภูมิศาสตร์ ในระยะเวลาก่อนเกิดการเคลื่อนไหวของกบฏผู้มีบุญนั้น พบว่าเขตมณฑลอิสานประสบปัญหาฝนแล้งติดต่อกัน 2-3 ปี ชาวบ้านทำนาไม่พอกิน และบางหมู่บ้านยังได้อพยพไปอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในเขตของนครเวียงจันทร์และนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อก่อนถือนั้นว่าเป็นประเทศราชของสยามในยุครัชกาลที่ 3 และสงครามสยาม-ลาว ในปีพ.ศ.2370 ที่เรียกกันว่า “ศึกเจ้าอนุวงศ์” ผู้ปกครองเวียงจันทร์และจำปาศักดิ์ ที่พยายามปลดปล่อยตัวเองออกจากอำนาจการปกครองของสยามประเทศ และต้องการเข้าครอบครองที่ราบสูงโคราชทั้งหมดคืน ได้ยุติลงด้วยการพ่ายแพ้ ของกษัตริย์ราชวงศ์ลาว และถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดอำนาจของอาณาจักรเวียงจันทร์

 

ส่วนทางสยามเองก็ได้กวาดต้อนเชลยลาว เอามาไว้เลี้ยงม้าเลี้ยงช้าง และให้ตั้งรกรากอยู่ในแถบฝั่งธนบุรีและเขตบางบอนในยุคนั้น และเมื่ออิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มคุกคามแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนที่เป็นเขมร ลาว ญวน จะพบว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชของไทยได้เข้าไปแทรกแซงการปกครองหัวเมืองลาวโดยตรงมากยิ่งขึ้น เริ่มจากปีพ.ศ.2434 และต่อมาในปีพ.ศ.2437 หลังการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว รัฐสยามก็ได้เริ่มจัดการปกครองในระบอบเทศาภิบาล มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลต่างๆขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อรวมอาณาเขตทั้งหมดให้เข้ามาอยู่ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช ส่วนในบางพื้นที่ก็หาของป่าเลี้ยงชีพไปตามมีตามเกิด ในขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระเสียภาษีให้กับรัฐด้วย นอกจากนี้ยังประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะเดียวกันหน่วยงานราชการในยุคนั้น ก็ยังไม่เปิดให้มีการเรียกร้องหรือร้องเรียนในเรื่องปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน และในบางหมู่บ้านที่ปลูกพืชผักได้ก็จะหาบพริก หาบผัก หาบเกลือ เอาไปแลกเปลี่ยนเป็นข้าว บางครั้งก็มีลูกเต้าติดสอยห้อยตามไปหาบข้าวด้วย บ้างไปขอข้าวที่หมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ด้วย อย่างยากลำบาก ส่วนรัฐสยามเองก็หาได้บำบัดทุกข์บำรุงสุขอย่างที่ควรเป็นไม่ ตรงกันข้ามกลับมุ่งพัฒนาประเทศให้เทียบเคียงอารยะธรรมตะวันตก มาโดยตลอด ที่เห็นได้ชัดเจนก็นับตั้งแต่ พ.ศ. 2398 ที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่ง

กบฎผู้มีบุญภาคอิสานนั้นถือว่าเป็นขบวนการกบฏของชาวนา และถือเป็นขบวนการลุกขึ้นสู้ของผู้ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบอย่างชัดเจน เพราะเป้าหมายหลักของกบฎผู้มีบุญภาคอิสานคือ ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเดิมที่มีอยู่อย่างไม่เป็นธรรมไปสู่สังคมที่ดีกว่า

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้