วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ประเทศไทยกับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

สถานภาพการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย โดยภาพรวมแล้วยังถือว่าค่อนข้างน้อยมากเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความแตกต่างของลักษณะทางภูมิศาสตร์และความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพราะโดยประวัติศาสตร์ของการประยุกต์ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพที่เริ่มต้นจากการใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นภายในบ้านเรือนช่วงหน้าหนาว และใช้สำหรับอาบเพื่อการบำบัดรักษา ในขณะที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนจึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจในเรื่องนี้ ในขณะเดียวกันจากการสำรวจศักยภาพของแหล่งพลังงานเหล่านี้โดยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น พบว่าแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

ศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยที่น่าสนใจ ที่จะได้กล่าวถึงในที่นี้คือ แหล่งที่มีศักยภาพพลังงานที่ค่อนข้างสูงและแหล่งที่มีศักยภาพพลังงานสูงปานกลาง โดยแหล่งที่มีศักยภาพพลังงานที่ค่อนข้างสูง เป็นแหล่งที่มีอุณหภูมิในแหล่งกักเก็บสูงกว่า 180 องศาเซลเซียส และมีลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเหมาะสมที่สามารถกักเก็บน้ำร้อนได้เป็นจำนวนมากและอยู่ในระดับที่ไม่ลึกมากนัก ดังแสดงในตารางที่ 8.1 ส่วนแหล่งที่มีศักยภาพพลังงานสูงปานกลางเป็นแหล่งที่มีอุณหภูมิในแหล่งกักเก็บระหว่าง 140-180 องศาเซลเซียส มีลักษณะโครง สร้างทางธรณีวิทยาที่สามารถกักเก็บน้ำร้อนได้ในปริมาณมากเหมือนกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 8.2

อย่างไรก็ตามหากต้องการพัฒนา เพื่อใช้แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพเหล่านี้เพื่อการผลิตไฟฟ้าแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นลำดับแรกๆ คือเรื่องของต้นทุนในการสร้างระบบโรงไฟฟ้า เพราะโดยศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้น จะต้องใช้โรงไฟฟ้าแบบ 2 วงจร เนื่องจากระดับอุณหภูมิของน้ำร้อนที่ผิวดินไม่สูงมากนัก ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 8.5.3 และจะยิ่งมีความเป็นไปได้น้อยหากต้องการสร้างเป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลางหรือใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันหากพิจารณาในมิติของการวิจัยเพื่อองค์ความรู้ มิติของการเป็นแหล่งผลิตพลังงานเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ และมิติของความคุ้มทุนในระยะยาว ก็น่าจะมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพให้มากขึ้น

ตารางแสดงแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยที่มีศักยภาพค่อนข้างสูง


ที่มา (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง. 2547ก. ออน-ไลน์)

ตารางแสดงแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงปานกลาง


ที่มา (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง. 2547ก. ออน-ไลน์)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ เพื่อผลิตไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวคือ โรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มีขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าแบบ 2 วงจร ดังแสดงในภาพที่ 8.11 ซึ่งถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบ 2 วงจรแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ โรงไฟฟ้านี้ใช้น้ำร้อนจากหลุมเจาะในระดับตื้นโดยมีอุณหภูมิประมาณ 130 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 16.5-22 ลิตรต่อวินาที มาถ่ายเทความร้อนให้กับสารทำงานและใช้น้ำอุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 72-94 ลิตรต่อวินาที เป็นตัวหล่อเย็น สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 1.2 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)

 


ภาพ แสดงผังการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง
ที่มา (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง. 2547ข. ออน-ไลน์)

นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้วผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นตามมาจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้คือ น้ำร้อนที่ออกมาหลังจากการถ่ายเทความร้อนให้กับสารทำงานแล้ว อุณหภูมิจะลดลงเหลือประมาณ 70 องศาเซลเซียส ซึ่งได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้งและใช้สำหรับการทำระบบความเย็นเพื่อใช้ห้องทำงานและห้องเย็นสำหรับการเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อการทำกายภาพบำบัดและสำหรับการท่องเที่ยว ท้ายสุดเมื่อน้ำทั้งหมดกลายสภาพเป็นน้ำอุ่นจะถูกปล่อยลงไปผสมกับน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเกษตรกร โดยในแต่ละปีน้ำที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้านี้มีจำนวนประมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการอุปโภคและใช้ในการเกษตรได้

โครงสร้างของโลก
ความหมายและแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ลักษณะทั่วไปของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ประเทศไทยกับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
ผลกระทบจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

» เงิน
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของหรือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า ต่อมาได้ใช้สิ่งของเป็นสื่อ เช่น เปลือกหอย ผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ เกลือ ใบชา ใบยาสูบ

» ปรมนุตรสุญญตา
ว่างหมด คือ ปรมนุตรสุญญตา อะไรว่างหมด กาย ว่างหมด เวทนา ว่างหมด จิต ว่างหมด ธรรมชาติ ว่างหมด

» กฎบัตรสหประชาชาติ
บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งเจตน์จำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณามาสู่มนุษย์ชาติในชั่วชีวิต

» กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
ไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร

» เพลงพื้นบ้าน
เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลงของตนไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดที่เพี้ยนแปร่งแตกต่างกันไป

» วิถีโลก
เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของสังคมไทยและโลก ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้

» ประเทศไทยในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ