เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ภาชนะบรรจุอาหาร
โดย กลุ่มงานเคหะกิจเกษตร กองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
อาหารที่มีไขมันสูง
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปมักมีส่วนประกอบของไขมันสูง ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอากาศ (ออกซิเจน) เกิดการเหม็นหืนได้ ถ้าถูกแสงแดดแล้วจะเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น ดังนั้นภาชนะบรรจุจึงต้องสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ และควรป้องกันแสงได้ (หรือเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ให้ถูกแสงแดด) หากอาหารนั้นมีลักษณะเป็นอาหารแห้งด้วย เช่น ปลาป่น เนื้อแห้ง ก็ต้องเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่สามารถป้องกันทั้งไอน้ำและก๊าซได้ดีทั้งสองอย่าง เช่น ขวดแก้ว กระป๋องโลหะ ภาชนะหรือถุงพลาสติกบางชนิด เป็นต้น พลาสติกที่ใช้ทำภาชนะพลาสติก หรือถุงพลาสติก ต้องเลือกชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน เช่น โพลิโพรพิลีน (PP) และ PVC อาจใช้โพลิเอทินลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) หรือถุงร้อนได้
ชนิดภาชนะบรรจุอาหารที่มีไขมันสูง
1. ขวดแก้ว นิยมใช้ขวดแก้วใสเพราะสามารถมองเห็นอาหารที่บรรจุภายในได้
2. กระป๋องโลหะ โลหะจะช่วยป้องกันอากาศและแสงแดดได้ดี
3. ภาชนะพลาสติก พลาสติกที่ใช้ต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน เช่น PP, PVC และ HDPE
4. ถุงพลาสติก พลาสติกที่ใช้ต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน เช่นเดียวกับภาชนะพลาสติก
ดังนั้นใช้ถุงเย็นใส่อาหารที่มีไขสูงไม่ได้ เพราะทำมาจากพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน (PE)
»
ประเภทของภาชนะบรรจุอาหาร
»
การเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหาร
»
ลักษณะของภาชนะบรรจุอาหาร
»
ประเภทภาชนะบรรจุ (เพื่อการขายปลีก)
»
อาหารสด
»
อาหารแห้ง
»
อาหารแช่แข็ง
»
อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
»
อาหารฉายรังสี
»
อาหารหมักดอง
»
อาหารที่มีไขมันสูง
»
อาหารที่มีกลิ่นเฉพาะ
»
อาหารเหลวหรือกึ่งเหลว
»
อาหารบรรจุระบบปลอดเชื้อ
»
การบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก