เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ภาชนะบรรจุอาหาร
โดย กลุ่มงานเคหะกิจเกษตร กองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
หลักการทำผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนี้ คือ หลังจากการบรรจุอาหารและปิดภาชนะแล้ว
จะทำการฆ่าเชื้ออาหารพร้อมภาชนะบรรจุ
โดยใช้ความร้อนอาจใช้อุณหภูมิน้ำเดือดหรือสูงกว่านั้นก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ดังนั้น ถ้าจะบรรจุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
จะต้องศึกษาวิธีการฆ่าเชื้อ และเวลาที่ใช้ สำหรับอาหารแต่ละชนิด
คุณสมบัติของภาชนะที่ใช้บรรจุ
1. ความสามารถทนต่อความร้อนและความดันสูงได้
2. การไม่เปลี่ยนแปลงสภาพระหว่างการฆ่าเชื้อ และสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน
โดยคุณภาพของอาหารไม่เปลี่ยนแปลง
3. การปิดผนึกต้องปิดสนิทไม่รั่ว หรือปริแตก อันจะเป็นช่องทางให้เชื้อโรคจุลินทรีย์ต่างๆ
จากภายนอกเข้าสู่ภาชนะบรรจุแล้วทำให้อาหารเสียได้
ชนิดภาชนะบรรจุอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
1. กระป๋องโลหะ ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก หรือ แผ่นเหล็กทินฟรีหรือแผ่นอลูมิเนียม
มักทำเป็นรูปทรงกระบอก และรูปทรงสี่เหลี่ยม
การบรรจุอาหารบางประเภทจำเป็นต้องมีการเคลือบแลคเกอร์ที่ผิวด้านในของกระป๋องด้วย
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปฏิกิริยากับอาหาร แลคเกอร์ที่ใช้มีหลายประเภท
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของอาหาร
2. ขวดแก้ว แก้วเป็นวัสดุเฉื่อย (inert) ไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยากับอาหารที่บรรจุอยู่
ดังนั้นขวดแก้วจึงไม่มีการเคลือบแลคเกอร์เหมือนกระป๋อง
ส่วนที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ฝาที่ปิดขวดแก้ว
โดยเลือกใช้ชนิดที่สามารถทนความร้อนและความดันได้ ตัวอย่างอาหาร เช่น
ข้าวโพดฝักอ่อนในน้ำเกลือ สะตอในน้ำเกลือ หน่อไม้ในน้ำเกลือ
3. รีทอร์ทเพาซ์ (retort pouch) เป็นถุงที่ทำจากวัสดุอ่อนตัวหลายชั้นประกบกัน
โครงสร้างทั่วไปคือ polyester, aluminium foil, polyropylene
เป็นภาชนะบรรจุที่ได้รับความนิยมสูงมาก ในประเทศญี่ปุ่นและทวีปยุโรป
เนื่องจากน้ำหนักเบากินเนื้อที่น้อยในการเก็บรักษา นอกจากนั้นอาหารใน retort pouch
มีคุณภาพด้านกลิ่นรสดีกว่าที่บรรจุในกระป๋อง เพราะอาหารใน retort pouch
ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อโรคสั้นกว่าในกระป๋อง ตัวอย่างอาหาร เช่น แกงเนื้อ
เนื้อปลาในน้ำมันพืช หน่อไม้ในน้ำเกลือ สะตอในน้ำเกลือ
»
ประเภทของภาชนะบรรจุอาหาร
»
การเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหาร
»
ลักษณะของภาชนะบรรจุอาหาร
»
ประเภทภาชนะบรรจุ (เพื่อการขายปลีก)
»
อาหารสด
»
อาหารแห้ง
»
อาหารแช่แข็ง
»
อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
»
อาหารฉายรังสี
»
อาหารหมักดอง
»
อาหารที่มีไขมันสูง
»
อาหารที่มีกลิ่นเฉพาะ
»
อาหารเหลวหรือกึ่งเหลว
»
อาหารบรรจุระบบปลอดเชื้อ
»
การบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก