เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกชา
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ชาเป็นพืชที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วโลก
เช่นเดียวกับกาแฟ และโกโก้
โดยจีนเป็นประเทศแรกที่เริ่มนำชามาทำเป็นเครื่องดื่มเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว
จากนั้นความนิยมในการดื่มน้ำชาก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป
เอเชีย และในบางประเทศของทวีปแอฟริกาด้วย ในบรรดานักดื่มชาทั่วโลก
ชาวอังกฤษถือได้ว่ามีการดื่มชามากที่สุด คือ ดื่มคนละ 3.06 กิโลกรัม/ปี
รองลงมาได้แก่ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ อิรัก ฮ่องกง ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ตามลำดับ
ชาเป็นพืชกึ่งร้อน สามารถขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่น และมีฝน
จึงทำให้แหล่งปลูกชากระจายอยู่ตั้งแต่ละติจูดที่ 45 องศาเหนือในรัสเซีย ถึง 50
องศาใต้ในทวีปแอฟริกา ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000-2,000
เมตร
ผลผลิตชาส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชียโดยพื้นที่ที่มีการปลูกชามากจะอยู่ระหว่างแนวเหนือใต้
ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นถึงอินโดนีเซีย และแนวตะวันออก-ตก จากประเทศอินเดียถึงญี่ปุ่น
เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตมรสุมมีอากาศอบอุ่นและมีปริมาณน้ำฝนมากเหมาะกับต้นชาที่กำลังเจริญเติบโต
สำหรับประเทศไทย ในปี 2535 และ 2536 มีพื้นที่ปลูกชา 34,104 และ 33ล907 ไร่
มีผลผลิตใบชาสดรวม 45,340 และ 40,847 ตันตามลำดับ โดยจังหวัดเชียงรายมีการปลูกและได้ผลผลิตมากที่สุด
รองลงมาคือ จังหวัดลำปาง แพร่ และเชียงใหม่
จากปริมาณการผลิตทีได้ทำให้ประเทศไทยมีทั้งการนำเข้าและส่งออกชา
ชาและองค์ประกอบทางเคมี
ชาเป็นไม้พุ่มอายุยืน ประกอบด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) มากถึง 20-35% ซึ่งมีผลต่อรสฝาดและสีของน้ำชา ข้อมูลจากการหมัก (Decomposition) และการวิเคราะห์แสหงให้เห็นว่าชามีองค์ประกอบทางอินทรีย์ (Organic Matter) ไม่น้อกว่า 450 ชนิด และยังพบสารอนินทรีย์ (Inorganic Mater) ไม่น้อยกว่า 15 ชนิด
»
ประโยชน์ของชา
» แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
» ประวัติการปลูกชาของประเทศไทย
» พันธุ์และการขยายพันธุ์
» การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูกและการจัดการสวนชา
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การให้น้ำ
» การทำไม้บังร่ม
» การกำจัดวัชพืช
» ธาตุอาหาร
» การใส่ปุ๋ย
» การเก็บเกี่ยวชา
» การปรับปรุงสวนชา
» โรคและแมลงศัตรูชา
» แมลงศัตรูชา
» ผลกระทบจากข้อตกลงแกลต์และแนวทางการปรับตัว
- ที่มา : กองการค้าสินค้าทั่วไป, กรมการค้าต่างประเทศ, 2538.
อ้างอิง
- กระทรวงอุตสาหกรรม. ม.ป.ป. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาใบ (ชาจีน). สิทธิพันธุ์การพิมพ์. กรุงเทพฯ.
- กระทรวงอุตสาหกรรม. ม.ป.ป. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาผง (ชาฝรั่ง). สิทธิพันธุ์การพิมพ์. กรุงเทพฯ.
- กานดา คติการ, สมบูรณ์ ยุววรรณ์ และ ดุสิต อุสาหะ. 2523. การปลูกชา. คำแนะนำกองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
- ดุสิต อุสาหะ. 2536. การจัดการสวนชา. เอกสารประกอบการฝึกอบรม เทคโนโลยีการปลูกและ ผลิตชา. (โรเนียว).
- ดุสิต อุสาหะ. ม.ป.ป. เอกสารคำแนะนำการปลูกชา. กรมวิขาการเกษตร.
- ไพโรจน์ พงศ์ศุภสมิทร์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตชา. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. โรงพิมพ์ช้างเผือก คอมพิวกราฟิค เชียงใหม่.
- พิทักษ์ อาภาศิริผล. 2538. การปลูกชา. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. (โรเนียว).
- ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์. 2537. ชา : เครื่องดื่มของคนครึ่งโลก. นิตยสารสารคดี.
- สัณฑ์ ละอองศรี. 2535. ชา. สำนักพิมพ์รั้วเขียว เคยู บุ๊ค เซ็นเตอร์ กรุงเทพ.
- สุรีย์ ภูมิภมร. 2537. ชา : เครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 11 กันยายน 2537. กรุงเทพฯ.
- อาภรณ์ ธรรมเขต, ศุภขัย ลีจีรจำเนียร. 2536. โรคชา. กลุ่มงานวิจัยโรคไม้ผล พืชสวนอุตสาหกรรม และสมุนไพร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. (โรเนียว).
- .___________. 2538. ชาจีน ต้านมะเร็ง: นิตยาสาร City Life ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 เดือนมิถุนายน.
- .___________. 2537.ชาระมิงค์ คุณค่าชาไทยแห่งล้านนา : ธุรกิจการเกษตร ฉบับที่ 2 มีนาคม 2537. กรุงเทพฯ.
- Bonheure, Denis. 1990. TEA. British Library Cataloguing in Publication DATA, Hong Kong.
- China National Native Produce and Animal By Products 1989. CHINA-HOMELAND OF TEA. Import & Export Corporation Education and Cultural Press Ltd., Hong Kong.
- Oganizing Committee of ISTS. 1991. World Tea, International Symposium on Tea Science, August 1991.