ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
วิริยสัมโพชฌงค์
คราวนี้เมื่อมีธรรมวิจัยอยู่ดั่งนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นโพชฌงค์ข้อที่ 2 จึงมาถึงข้อที่ 3 วิริยโพชฌงค์ หรือ วิริยสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์ คือวิริยะความเพียร ก็ได้แก่ความที่มีการปฏิบัติจัดทำ ละส่วนที่ชั่วที่ผิด ส่วนที่เป็นอกุศล ส่วนที่เลว ส่วนที่ดำ อันเรียกว่า ปหานะ ปฏิบัติจัดทำละเสีย กับปฏิบัติจัดทำอบรมส่วนที่ดี ที่เป็นกุศลที่ไม่มีโทษ ที่เป็นส่วนขาว ดังเช่นเมื่อรู้ว่านี่เป็นมิจฉาสติ นี่เป็นสัมมาสติ ก็ต้องคอยเพียรที่จะละมิจฉาสติเสีย บางทีเผลอ พอรู้ตัวขึ้นก็ต้องนำใจกลับเข้ามาทันที นี่เป็นปหานะ ละมิจฉาสติ สติที่ผิดที่ผิดทางนั้นเสีย แล้วก็นำมาสู่สัมมาสติ ปฏิบัติทำสัมมาสติให้บังเกิดขึ้น
ความเพียร 2 อย่าง
ส่วนที่ปฏิบัติจัดทำส่วนที่ดีให้เกิดขึ้นนี้เรียกว่าภาวนา เพียรนั้นจึงมี 2 อย่าง เพียรละอันเรียกว่า ปหานะ อย่างหนึ่ง
เพียรทำให้มีขึ้นเรียกว่า ภาวนา อีกอย่างหนึ่ง โดยที่ให้มีการเริ่มทำทันที และดำเนินการปฏิบัติจัดทำให้ก้าวหน้าต่อไป จนบรรลุถึงความสำเร็จ ดั่งนี้ก็เป็นโพชฌงค์ข้อที่ 3 วิริยะสัมโพชฌงค์ หรือวิริยะโพชฌงค์
อินทรียสังวรเป็นเหตุให้มีสุจริต 3
สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7
ลำดับปฏิบัติในโพชฌงค์
ปัจจุบันธรรม
สติสัมโพชฌงค์
ธัมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์