ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
โดย :: เจือจันทน์ อัชพรรณ (มิสโจ)
ข้อที่สอง วิธีแก้ไขความผิดพลาด
ในยุคชุนชิว ก่อน พ.ศ.
๒๒๗-พ.ศ. ๖๗
เป็นระยะเวลาที่อำนาจของราชวงศ์โจว
(ก่อนศตวรรษที่ ๑๑-ก่อน พ.ศ. ๒๒๘)
เสื่อมถอย
หัวเมืองใหญ่น้อยต่างแข็งข้อ
ตั้งตนเป็นใหญ่
จิตใจคนจีนในยุคนี้เสื่อมทรามโหดเหี้ยมมาก
ลูกฆ่าพ่อ ขุนนางฆ่าฮ่องเต้
ท่านนักปราชญ์ขงจื๊อก็เกิดในยุคนี้
ท่านเห็นว่า
เหตุการณ์จะรุนแรงยิ่งขึ้น
ไม่เป็นผลดีต่อประเทคชาติ
จึงนำหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า
ชุนชิว ซึ่งเป็นของแคว้นหลู่
มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ส่วนที่ดีคงไว้
ส่วนที่ขาดเพิ่มเติม
บันทึกความชั่วร้ายในยุคนั้นไว้ในหนังสือ
ชุนชิว นี้ อย่างละเอียดละออ
เพื่อไว้เตือนใจคน
ไม่ให้นำมาเป็นเยี่ยงอย่าง
ขุนนางในสมัยนั้น ช่างดูคน
โดยสังเกตจากกิริยาวาจา
ก็สามารถคาดคะเนอนาคตของคนๆ
นั้นได้ สังคมขุนนางในสมัยนั้น
จึงมักนำบุคลิกของใครต่อใคร
มาเป็นหัวข้อในการสนทนา
พ่อจึงอยากให้ลูกค้นหาส่วนดีส่วนเสียของหนังสือเล่มนี้
แม้จะเป็นของโบร่ำโบราณ
ห่างจากยุคเราเกือบสองพันปีก็ตาม
แต่ลูกก็จะได้ประโยชน์จากหนังสือนี้อย่างเหลือล้น
นอกจากเล่มนี้แล้ว
ก็ยังมีอีกหลายเล่ม
ที่บันทึกประวัติศาสตร์ในระยะสองพันปีนี้
ลูกอ่านแล้วจะได้เข้าใจชีวิตดีขึ้น
รู้จักนำส่วนดีของอดีต
มาเสริมสร้างชีวิตอนาคต
ของลูกเอง
ให้เพียบพร้อมด้วยความเป็นคนที่มีศีลมีธรรม
หลุดพ้น
จากความเป็นปุถุชนได้ในที่สุด
ธรรมดานิมิตหรือลางสังหรณ์นั้น
มักจะเกิดทางใจ
แล้วปรากฏให้เห็นทางอิริยาบถ
บุคลิกลักษณะจึงเปรียบประดุจกระจกเงา
ฉายให้เห็นบุญวาสนาหรือเคราะห์กรรม
ที่บุคคลนั้นๆ
จะต้องได้รับในอนาคต
ปุถุชนมักมองไม่เห็นบุคลิกลักษณะ
อันน่าศึกษานี้
กลับเห็นว่าเป็นการคาดคะเนที่ไม่แน่นอน
ธรรมชาตินั้นมีความซื่อตรงยิ่งนัก
หากเราเอาอย่างธรรมชาติได้
จิตใจของเรานี้
ก็จะผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ
ซึ่งก็คือฟ้าดินนั่นเอง ฉะนั้น
ลูกจงสังเกตพฤติกรรมของบุคคลต่างๆ
ว่าเขาชอบทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว
ถ้าเขาชอบทำแต่กรรมดี
ทำได้ครบตามมาตรการ
และสูงถึงมาตรฐานแล้วไซร้
จงแน่ใจเถิด
เขาจะต้องได้รับผลดีแน่
แต่ถ้าเขาชอบทำแต่กรรมชั่ว
ลูกก็จงแน่ใจเถิด
ว่าเขาจะต้องได้รับผลเลวร้ายตอบแทน
หากลูกต้องการความสุข
และห่างไกลจากความทุกข์
ลูกจะต้องรู้จักวิธีแก้ไขความผิดพลาดของตนเองเสียก่อน
ข้อ ๑
ลูกจะต้องมีความละอายต่อการทำชั่ว
ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือลับหลังผู้คน
ลูกลองคิดดูสินักปราชญ์แต่ครั้งโบราณมา
ท่านก็เป็นชายอกสามศอกเช่นลูกนี้
แต่ไฉนท่านเหล่านั้นจึงได้รับความเคารพบูชาเป็นปูชนียบุคคล
แม้กาลเวลา
จักได้ผ่านไปแล้วเป็นร้อยชั่วคนก็ตาม
ส่วนลูกนั้นเล่ายังคงเป็นกระเบื้อง
ที่แตกอยู่เป็นเสี่ยงๆ
ในชีวิตยังไม่ได้สร้างอะไร
เป็นชิ้นเป็นอันเป็นแก่นเป็นสาร
ให้ปรากฏเลย ทั้งนี้
ก็เพราะลูกมัวหลงระเริงอยู่กับความสุขทางโลก
เหมือนผ้าขาวที่ถูกสีต่างๆ
แปดเปื้อนเสียแล้ว
ย่อมหมดความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
มักจะทำอะไรที่ไม่สมควรทำ
แต่คิดว่าผู้อื่นไม่ล่วงรู้
ต่อไปก็ยิ่งเหิมเกริม
ทำผิดมากขึ้นทุกที
โดยไม่มีความละอายต่อบาป ลงท้าย
ก็จะเหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน
ที่ไม่สามารถรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่
ในโลกนี้
จะมีสิ่งไรอีกเล่าที่จะน่าละอายไปกว่า
ที่ตนเองไม่รู้ดีรู้ชั่ว
ท่านนักปราชญ์เมิ่งจื๊อ
จึงได้กล่าวไว้ว่า ความละอาย
และความเกรงกลัวต่อบาปนั้น
เป็นความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในโลกนี้
ผู้ใดมีไว้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์
ผู้ใดมิได้มีไว้ย่อมเหมือนสัตว์เดรัจฉาน
ลูกจึงต้องเริ่มต้นแก้ไขความผิดพลาดของตนเองด้วยกุศลธรรมข้อนี้ก่อน
ข้อ ๒
ลูกจะต้องมีความเกรงกลัวต่อการทำชั่ว
เทพยดาอยู่เบื้องบน
ผีสางวิญญาณล้วนมีร่างโปร่งแสง
มีอยู่เกลื่อนกลาดทุกหนทุกแห่ง
ซึ่งนัยน์ตาของมนุษย์ธรรมดาย่อมมองไม่เห็น
ไม่ว่าลูกจะทำผิดอะไรที่คนไม่รู้
ผีสางเทวดาก็รู้หมด
ถ้าลูกทำความผิดร้ายแรง
ลูกก็จะต้องได้รับเคราะห์กรรมไม่เบา
ทีเดียวละ
ถ้าลูกทำผิดเพียงนิดหน่อย
ก็จะทำให้ลูกได้รับความสุข
ที่กำลังให้ผลอยู่ในปัจจุบันลดน้อยลงทันที
ลูกจะไม่กลัวได้หรือ
ไม่เพียงเท่านั้น
แม้เราจะอยู่ในบ้านของเราเอง
ในที่รโหฐานก็ตาม ก็หนีไม่พ้น
สายตาของผีสางเทวดาไปได้
แม้ลูกจะปกปิดความผิดไว้ดีเพียงไร
แต่จะปกปิดผีสางเทวดาหาได้ไม่
เพราะแม้แต่ในตัวลูกมีไส้กี่ขด
ท่านเหล่านั้นก็มองเห็นทะลุปรุโปร่งอยู่แล้ว
หากวันใดบังเอิญมีคนแอบเห็นเข้า
ลูกก็จะกลายเป็นคนไร้ค่าไปทีเดียว
อย่างนี้แล้วลูกยังจะไม่กลัวอีกหรือ
หน้าถัดไป >>
ประวัติท่านเหลี่ยวฝาน
ข้อที่หนึ่ง
การสร้างอนาคต
ข้อที่สอง
วิธีแก้ไขความผิดพลาด
ข้อที่สาม
วิธีสร้างความดี
ข้อที่สี่
ความถ่อมตน