ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
เล่มที่ ๙
ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก(เล่ม ๑) หน้า ๑
ทีฆนิกาย แปลว่า หมวดหรือพวกขนาดยาว ได้แก่พระสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่ยาว นำมาจัดไว้เป็นหมวดหรือพวกไว้ในที่นี้. คำว่า สีลขันธวัคค์ แปลว่า วรรคที่ว่าด้วยกองศีล ทีฆนิกาย หรือหมวดยาวนี้มี ๓ วรรค คือสีลขันธวัคค์ (มี ๑๓ สูตร ) มหาวัคค์ ( มี ๑๐ สูตร) ปาฏิกวัคค์ ( มี ๑๑ สูตร) แต่ละวรรคตั้งชื่อตามข้อความในสูตรบ้าง ตามชื่อของสูตรบ้าง คือในสีลขันวัคค์ สูตรแรกมีเรื่องศีล จึงตั้งชื่อสีลขันธวัคค์ ในมหาวัคค์ สูตรแรก ชื่อมหาปทานสูตร จึงตั้งชื่อมหาวัคค์ ในปาฏิกวัคค์ สูตรแรก ชื่อปาฏิกสูตร จึงตั้งชื่อกปาฏิวัคค์. พระไตรปิฎก ทีฆนิกายนี้มี ๓ เล่ม เล่มละวรรค ตามชื่อที่กล่าวมาแล้ว รวมทั้งสิ้นมี ๓๔ สูตร.
พระสูตรในเล่ม ๘ หรือในทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์มี ๑๓ สูตร ตามลำดับดังต่อไปนี้-
๑. พรหมชาลสูตร สูตรที่เปรียบเหมือนข่ายอันประเสริฐที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง คือกล่าวถึงลัทธิ ศาสนาต่าง ๆ ที่มีในครั้งนั้น ที่เรียกว่าทิฎฐิ ๖๒ เป็นการชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีหลักธรรมแผกจาก ๖๒ ลัทธินั้นละเอียด.
๒ . สามัญญผลสูตร ว่าด้วย การของความเป็นสมณะ หรือผลของการบวช.
๓. อัมพัฏฐสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับอัมพัฏฐมาณพ มีข้อความกล่าวถึงประวัติศาสตร์ ศากยวงศ์.
๔. โสณทัณฑสุตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับโสณทัณฑพราหมณ์ มีข้อความกล่าวถึงคุณลักษณะ ๕ อย่าง ของพราหมณ์.
๕ . กูฏทันตสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับกูฏทันตพราหมณ์ เรื่องการบูชายัญ โดยวิธีสังเคราะห์ดีกว่าการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตวฺ รวมทั้งปัญหาการปกตครองประเทศ ให้ได้ผลางเศรษฐกิจ ลดจำนวนโจรผู้ร้าย.
๖. มหาลิสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับเจ้าลิจฉวีชื่อมหาลิ เรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ และความสามารถที่สูงขึ้นไปกว่านั้น คือการทำกิเลสอาสวะให้กมดไป.
๗. ชาลิยะสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับนักบวช ๒ คน คนหนึ่งชื่อชาลิยะ เรื่องชีวะ กับสรีระ.
๘ . มหาสีหนาทสูตร . ว่าด้วย การบรรลือสีหนาท ของพระพุทธเจ้าโดยมีคุณธรรมเป็นพื้นรองรับ
๙ โปฏฐปาทสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก เรื่องอัตตาและธรรมะชั้นสูงอื่น ๆ .
๑๐ สุภสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบระหว่างพระอานนทเถระกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
๑๑. เกวัฏฏสูตร ว่าด้วย การแสดงธรรม เรื่องปาฏิหารย์ ๓ แก่คฤหบดี ชื่อเกวัฏฏะ.
๑๒. โลหิจจสูตร ว่าด้วย การโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ ถึงเรื่องมิจฉาทิฏฐิและศาสดาที่ควรติไม่ควรติ.
๑๓. เตวิชชสูตร ว่าด้วย พราหมณ์ผู้รู้ไตรวิทยาเคยเห็นพระพรหมหรือไม่ และว่าด้วยวิธีเข้าอยู่ร่วมกับพระพรหม. ขยายความ
- ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
- พรหมชาลสูตร สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
- สามัญญผล สูตรสูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ
- อัมพัฏฐสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบอัมพัฏฐมาณพ
- โสณทัณฑ สูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัฑะ
- กูฏทัตสูตร สูตรว่าด้วยกูฏทันตพราหมณ์ (พราหมณ์ฟันเขยิน)
- มหาลิสูตร สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ
- ชาลิยสูตร สุตรว่าด้วยข้อความที่ตรัสโต้ตอบชาลิปริพพาชก
- มหาสีหนาท สูตรสูตรว่าด้วยการลือสีหนาท
- โปฏฐปาทสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก
- สุภสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
- เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ
- โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยไตรเวท
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕