ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระวินัยเล่มที่ ๑
ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
ได้กล่าวไว้แล้วในภาค ๑ ว่าด้วยความรู้เรื่องพระไตรปิฎก ว่าวินัยปิฎกนั้น ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุและภิกษุณี. เมื่อจะกล่าวโดยเรียงลำดับเล่ม วินัยปิฎก ๘ เล่มนั้น เล่ม ๑ เล่ม ๒ มีชื่อว่ามหาวิภังค์ หรือภิกขุ
วิภังค์ ว่าด้วยศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เล่ม ๓ มีชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี เล่ม ๔ เล่ม ๕ มีชื่อว่ามหาวัคค์ แปลว่า วรรคใหญ่ หรือพวกใหญ่ คือว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสงฆ์ ที่เป็นเรื่องสำคัญ ๆ และต้องทำเสมอ เช่น เรื่องจีวร, เรื่องอุโบสถ, ปวารณา, การจำพรรษา.
เล่ม ๖ เล่ม ๗ มีชื่อว่า จุลลวัคค์ แปลว่า วรรคเล็ก หรือพวกเล็ก คือว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสงฆ์ที่มีความสำคัญรองลงมา จนถึงเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น เรื่องข้อวัตรต่าง ๆ เรื่องที่อยู่อาศัย เป็นต้น ส่วนเล่มสุดท้าย คือเล่มที่ ๘ มีชื่อว่าปริวาร เป็นการรวบรวมความรู้ในวินัยปิฎกทั้งเจ็ดเล่มข้างต้น จัดเป็นหมวดหมู่ให้เข้าใจง่าย.
สมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ เรียกมหาวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์ รวมกันว่า สุตตวิภังค์.
เฉพาะเล่ม ๑ มีการแบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ ให้ชื่อว่ากัณฑ์ รวมทั้งสิ้น ๗ กัณฑ์ คือ
๑. เวรัญชกัณฑ์ เล่าเรื่องพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา จนถึงเรื่องพระสาริบุตรของให้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา จนถึงเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา ไปยังกรุงพาราณสี (ราชธานีแห่งแคว้นกาสี) และเสด็จถึงกรุงเวสาลี (ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี) ในที่สุด.
๒. ปฐมปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ คือสิกขาบทที่ห้ามภิกษุเสพเมถุน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ งแต่ราคา ๕ มาสกขึ้นไป พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และติดสินเป็นราย ๆ ไป.
๔. ตติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์ พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๕. จตุตถปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ห้ามมิให้ภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงวินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๖. เตรสกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นอาบัติหนักรองลงมาจากอาบัติปาราชิก เมื่อต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิดไว้ แล้วอยู่มานัตต์อีก ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงประชุมสงฆ์ ไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป ทำพิธีสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส.
ทั้งสิบสามข้อนี้ ได้มีการบรรยายความเป็นมา ที่เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๗. อนิยตกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติซึ่งไม่แน่ว่าจะต้องอาบัติอะไรใน ๒-๓ ประการ สุดแต่กรณีแวดล้อมจะให้ตัดสินว่าต้องอาบัติอะไร อนิยตหรือสิกขาบทที่ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่นี้ มี ๒ สิกขาบท.
รวมความว่า ใน มหาวิภังค์ หรือวินัยปิฎก เล่ม ๑ นี้ แสดงความเป็นมาแห่งการบัญญัติสิกขาบท ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ รวมเป็น ๑๙ ข้อ.
|| หน้าถัดไป >>
เวรัญชกัณฑ์
ปฐมปาราชิกกัณฑ์
ทุติยปาราชิกกัณฑ์
ตติยปาราชิกกัณฑ์
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
ภูตคามวรรค
อนิยตกัณฑ์
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่
๒
พระวินัยเล่มที่
๓
พระวินัยเล่มที่
๔
พระวินัยเล่มที่
๕
พระวินัยเล่มที่
๖
พระวินัยเล่มที่
๗
พระวินัยเล่มที่
๘