ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดบุคคล

  • คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
  • ผู้มีความรู้ในทางที่ชั่ว เป็นผู้เสื่อม
  • ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ
  • พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
  • ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
  • ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
  • สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์
  • ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
  • ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
  • ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย
  • คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก
  • ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก
  • คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก
  • คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก
  • พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
  • วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ
  • บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก
  • ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
  • คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย
  • บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี
  • พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
  • สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
  • กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย
  • สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะความได้กาม
  • ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ
  • มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย
  • คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ
  • อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
  • คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์
  • บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์
  • พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
  • สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
  • บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
  • ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ
  • บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
  • บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
  • สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ
  • คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย
  • ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
  • ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
  • คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
  • คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง
  • ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย
  • คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข
  • สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
  • ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
  • ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับการสักการะ
  • ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
  • คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
  • คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น
  • มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
  • สตรี เป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย
  • ผู้รักษา ควรมีสติรักษา
  • ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น
  • สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี
  • อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก
  • ผู้บูชา ย่อมได้รับการบูชา
  • สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
  • สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
  • คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ
  • พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
  • ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
  • อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
  • ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย
  • ผู้ประกอบด้วยทมะ และ สัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ
  • พึงตามรักษาความสัตย์
  • สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
  • บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
  • ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้
  • ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้
  • คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ
  • พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
  • ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้
  • สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
  • ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
  • มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร
  • สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม
  • ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ
  • คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ
  • บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย
  • คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์
  • คนฉลาด ย่อมละบาป
  • พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
  • ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น
  • ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
  • คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย
  • ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
  • คนแข็งกระด้างก็มีเวร
  • กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้
  • ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
  • ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามี และ คนที่ควรเคารพทั้งปวง
  • มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
  • ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ
  • สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
  • ผู้ปราศจากทมะ และ สัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ
  • อสัตบุรุษย่อมไปนรก
  • คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ
  • ผู้มีความดีจงรักษาความดีของตนไว้
  • มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
  • สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
  • ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข
  • สัตบุรุษ ยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
  • สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
  • สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ
  • ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
  • คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ
  • บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
  • พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
  • พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
  • คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
  • บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
  • บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง
  • บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต
  • ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ
  • ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
  • ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
  • ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ
  • ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น
  • ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย
  • ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
  • ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย
  • ผู้บรรลุธรรมอย่างสูงสุดไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในความตาย เหมือนผู้ออกพ้นจากเรือนที่ถูกไฟใหม้
  • ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
  • ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ
  • ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท
  • ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
  • ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ
  • ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ สงบระงับ และ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน
  • มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก
  • ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
  • ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด
  • ผู้ที่มารดาบิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดาย่อมเข้าถึงนรก
  • ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา
  • ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
  • คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น
  • ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว, ผู้นั้นเป็นผู้คงที่ มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น
  • นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ
  • ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว
  • บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี
  • บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน
  • บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน
  • ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง
  • คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า
  • ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้ว หาความสงสัยมิได้ เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะบรรลุประโยชน์แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
  • คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น
  • บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด
  • ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ
  • ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
  • ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
  • บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเครือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และ ไม่ติดในรสทั้งหลาย
  • เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากทีอสัตบุรุษจะประพฤติตาม
  • บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ
  • คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
  • บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ
  • ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ, เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
  • สัตบุรุษย่อมปรากฎได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
  • ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร ถูกลาภและความเสื่อมย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ
  • ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และ ผู้อื่นทั้ง ฝ่าย
  • ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง
  • ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น
  • ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว้นแคว้น ตำบล หรือ เมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
  • ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
  • มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
  • ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ
  • กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์
  • ผู้ไม่ระเริงในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง
  • สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าในอากาศ
  • ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น
  • พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์
  • คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น
  • เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา
  • แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมด ได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น
  • ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้
  • คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
  • คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
  • สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และ ก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด
  • บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น
  • ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น
  • ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และ ไม่ประกอบตนในสิ่งที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสียถือตามชอบใจ ย่อมเป็นที่กระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ
  • ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
  • การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น
  • บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด
  • กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
  • ผู้ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหวนั้นรู้ที่สุด ทั้ง แล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหา เครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว
  • ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ
  • นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด
  • ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น
  • ผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงเหตุและไม่ใช้เหตุได้แจ่มแจ้ง และ คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลี้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้
  • ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั้นคร้าม ขนพองสยองเกล้าจักไม่มี
  • ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
  • ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี
  • ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่ ความโกรธ และ ความส่อเสียดเสีย
  • คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
  • โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด ประชาชนผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น
  • บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
  • เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
  • บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ
  • ผู้ฉลาดละเครื่องกั้นจิต ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
  • เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
  • ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
  • ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม
  • เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น
  • คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก
  • ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้
  • บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์
  • ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้
  • ผู้ติดในส่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพัน และ ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้
  • ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว
  • ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ
  • คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
  • ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท
  • เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
  • ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ
  • ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง มีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่มัวเมา ดีข้อสาม ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่
  • คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี
  • คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
  • ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
  • มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช้การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น
  • ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่ เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ หรือ เป็นภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น

    หมวดเบื้องต้น
    หมวดบุคคล
    หมวดการศึกษา
    หมวดวาจา
    หมวดอดทน
    หมวดความเพียร
    หมวดความโกรธ
    หมวดการชนะ
    หมวดความประมาท
    หมวดความไม่ประมาท
    หมวดตน- ฝึกตน
    หมวดมิตร
    หมวดคบหา
    หมวดสร้างตัว
    หมวดการปกครอง
    หมวดสามัคคี
    หมวดเกื้อกูลสังคม
    หมวดพบสุข
    หมวดทาน
    หมวดศีล
    หมวดจิต
    หมวดปัญญา
    หมวดศรัทธา
    หมวดบุญ
    หมวดความสุข
    หมวดธรรม
    หมวดกรรม
    หมวดกิเลส
    หมวดบาป-เวร
    หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
    หมวดชีวิต-ความตาย
    หมวดพิเศษ

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์

    แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

  • » ชาร์ลส์ ดาร์วิน
    ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

    » สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
    ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

    » อาริสโตเติ้ล
    อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

    » ยอดมนุษย์
    เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

    » รพินทรนาถฐากูร
    หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

    » ประเทศไทย 77 จังหวัด
    ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

    » สงครามเวียดนาม
    เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

    » คาลิล ยิบราน
    คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม