ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

ธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

          เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร องค์สกลมมหาสังฆปรินายกนั้น ทรงสามารถมากทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ อย่างยากที่จะหาพระมหาเถระร่วมสมัยรูปใดได้เข้าถึงทั้งทางปริยัติและปฏิบัติเช่นพระองค์ท่าน พระคุณท่านทรงทราบทั้งทางศกสมัยและปรสมัย ทั้งทางโลกและทางธรรม ประกอบไปด้วยพระสีลาจารวัตรอันงาม ทรงมีความอ่อนน้อมถ่อมพระองค์อย่างสุภาพราบเรียบ ทั้งยังทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรม สมกับความเป็นผู้ใหญ่โดยแท้ นอกเหนือไปจากพระอารมณ์ขันอันน่าสำเหนียกอีกด้วย
        พระวัจนะทั้งที่ทรงเทศนาสั่งสอนและที่ทรงพระนิพนธ์เพื่อแผ่ธรรมนั้น นับว่าน่าจับใจหากเป็นไปอย่างเรียบๆ อันผู้อ่านต้องตั้งใจและรู้จักอ่านระหว่างบรรทัดด้วย จึงจะเข้าถึงสาระที่ต้องพระประสงค์จะสื่อถึง หากคนไทยร่วมสมัยยังสยบยอมกับโลกาภิวัตน์มากเกินไป จนพุทธศาสนากลายไปจากเนื้อหาสาระอย่างน่าเสียดาย

          สมเด็จพระญาณสังวร พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน" พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร" ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456
        สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้งเช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน


       เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
         เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์ ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
- พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
- พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
- พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
  เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ
          เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
         เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้
- พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
- พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
- พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
- พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
- พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
         สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตร ีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9 นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ

สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
- พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
- พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
- พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญษณสังวรฯ
- พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

แสงส่องใจ
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
พุทธวิธีควบคุมความคิด
วิธีสร้างบุญบารมี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม