ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตราสัญญาลักษณ์
ประจำจังหวัด
รูปช้างในท้องน้ำ
หมายถึง
การฝึกช้างป่าให้รู้จักบังคับบัญชาในการรบ
และงานด้านต่างๆ
นับเป็นความเชี่ยวชาญ
ของชาวเมืองมาแต่โบราณ
มูลเหตุที่จะตั้งเมืองนี้ขึ้น
กล่าวกันว่า
เนื่องจากเจ้าแก้วเมืองออกมาจับช้างป่า
ให้พระเจ้าเชียงใหม่ (พ.ศ.2368-2389)
ได้รวบรวมชาวไทยใหญ่
ให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง
มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองขึ้นได้ 2
แห่ง คือ ที่บ้านปางหมู
กับบ้านแม่ฮ่องสอน
และเหตุที่เรียกแม่ฮ่องสอนนั้น
ก็เพราะได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างป่าที่ลำห้วยแห่งนี้
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
คำขวัญ : หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กระพี้จั่น
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวตอง
ลักษณะนิสัยใจคอ ผู้คน : ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์วิถีชีวิต : แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกีรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์ : "สามัคคีคือพลัง"
เพลงแม่ฮ่องสอน
คำร้อง-ทำนอง สุรชัย จันทิมาธร
เมืองเล็กเล็ก ขาวหมอกระยับ ภูเขาสลับซับซ้อนเรียงราย เจียนนับไม่ไหว เป็นพันเป็นแสน นี่แหละแดนดอกบัวตองงาม ได้ชื่อว่าสามหมอกเมืองนั่นแล อู้ว่าแม่....แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน อู้.... แม่ฮ่องสอน
เฮามาย้อนฮักน้ำฮักเขา ฮักหมอกขาว ฮักธรรมชาติ ใจสะอาดดังสายธารา ด้วยศรัทธาพระธาตุดอยกองมู ใจสะอาดดังสายธารา ธารา แม่ฮ่องสอน ธาราแม่ฮ่องสอน ธารา....แม่ฮ่องสอน
คนก็ใส หัวใจไม่คด เมืองนี้ยังสดมีชีวิตชีวา ป่าสักหนาแน่นไปทุกหน น้ำปายล้นฝั่งใสไหวเย็น หากอยากเห็นหมอกฟ้อนว่ายฟ้า เชิญขึ้นมา แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน มา...แม่ฮ่องสอน
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดชายแดน จังหวัดหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ ปัจจุบันจังหวัดแม่ฮ่องสอนแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สะเรียง อำเภอขุนยวม อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย และกิ่งอำเภอปางมะผ้า
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ พม่า
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตาก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พม่า
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์