ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดน่าน
ตราสัญญาลักษณ์
ประจำจังหวัด
รูปโคอุศุภราชมีพระธาตุอยู่บนหลัง
หมายถึง นามเมือง
โดยมีตำนานเล่าว่า
สมัยเมื่อพญาผากองสร้างเมืองน่าน
พ.ศ. 1911 พระองค์ทรงนิมิตไปว่ามี
โคอุศุภราช
วิ่งมาจากป่าทางด้านทิศตะวันออก
ข้ามแม่น้ำน่านมายังทิศตะวันตก
แล้วถ่ายมูลเป็นรูปพื้นฐาน
ของตัวเมืองน่าน
เมื่อพระองค์ตื่นบรรทม
ปรากฏว่ามีเหตุการณ์
ตามที่ได้นิมิตดังกล่าว
ประกอบกับพระองค์
จะย้ายเมืองมาตั้งที่จังหวัดน่านปัจจุบันด้วย
พระองค์จึงก่อกำแพงเมือง
ตามรอยมูลโคอศุภราชที่ถ่ายไว้
ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายอันสำคัญ
จึงให้โคอุศุภราชเป็นนามเมือง
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
คำขวัญ : แข่งเรือลือเลื่อง
เมืองงาช้างดำ
จิตรกรรมวัดภูมินทร์
แดนดินส้มสีทอง
เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กำลังเสือโคร่ง
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เลี้ยวดอกขาว
ลักษณะนิสัยใจคอ ผู้คน : ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
วิถีชีวิต : แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกีรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์ : "สามัคคีคือพลัง"
เพลงแอ่วน่าน
คำร้อง-ทำนอง-ขับร้อง/ ลักษณาพรชัยพินิจ
ข้าเจ้าเป็นสาวเมืองน่าน
ถูกกล่าวขานว่าอยู่สุดเหนือ
ไผได้ยินก็บ่
อยากเจื่อว่าสาวเหนือ
งามเหลือแต้หนอบ่
ไจ่จะงามแต่สาวเมือง
ข้าเจ้ามีธรรมชาติผ่อ ข้าเจ้าบ่
จุ๊ต่านน่อตวยมาผ่อข้าเจ้าจะปาไป
ไปแอ่วแข่งเรือลือเลื่อง
แวะผ่อเมืองงาช้างดำยิ่งใหญ่
จิตรกรรมวัดภูมินทร์นั่นไง
เสาดินสวยไหมอยู่ในนาน้อย
ไปเต๊อะไปแอ่วดอยภูคา
มีหนึ่งเดียวในโลกา
หาใดเทียมได้ ดอกชมพูภูคานั่นไง
ไปชิมปลาปากนาย
แล้วใส่ผ้าลายลื้อ
ผ้าลายน้ำไหล มะไฟจีนรสดี
ลิ้นจี่ก็มี
เชิญสิเชิญชิมหน่อย
ส้มสีทองหวานหอมไม่น้อย
รสดีอร่อย ไผได้จิมจะติ๊ดใจ๋
จังหวัดน่าน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ กับ 5 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอเชียงกลาง อำเภอแม่จริม อำเภอนาน้อย อำเภอปัว อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง กิ่งอำเภอบ้านหลวง กิ่งอำเภอนาหมื่น กิ่งอำเภอสันติสุข กิ่งอำเภอบ่อเกลือ และกิ่งอำเภอสองแคว
- ทิศเหนือ ติตต่อกับ ลาว
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพะเยา และแพร่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลาว
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์