ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดเพชรบูรณ์

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดเพชรบูรณ์(2)

เมืองเพชรบูรณ์ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฎในพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ได้ทรงตั้งทำเนียบส่วนราชการ โดยมีบทพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง กำหนดศักดินาตามตำแหน่งยศหน้าที่

พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงเวลานั้น เมืองศรีถมอรัตน์ (ศรีเทพ) ขึ้นทำเนียบเป็นหัวเมืองรวมอยู่ด้วย ผู้ดำรงยตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นที่พระศรีถมอรัตน์ ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์ ซึ่งเป็นเขาสำคัญของเมือง

ราวปี พ.ศ. 2100 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์ดังต่อไปนี้ พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมร ยกทหารมา 3 หมื่นคน เข้ามาทาง เมืองนครนายก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าจะตั้งรับทัพเขมรไม่ได้ เพราะถูกพระเจ้าหงสาวดี กวาดต้อนเอาทหารและอาวุธไป เมื่อกรุงแตกสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมีบัญชา ให้ขุนเทพอรชุน จัดเตรียมเรือพระที่นั่งและเรือ ประทับเสด็จไปที่เมืองพิษณุโลก เพื่อให้พ้นศัตรูก่อน ขณะนั้นพระเพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีความผิด จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง มีข่าวลือไปถึงเมืองหลวงว่า พระเพชรรัตน์โกรธ และคิดซ่องสุมคนเพื่อ ดักปล้นกองทัพ หลวง สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึง ไม่เสด็จไปที่พิษณุโลก  และตีทัพ พระยาละแวกแตกไป ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้กล่าวถึง จังหวัดเพชรบูรณ์อีกว่า มีไทยใหญ่ที่เมืองกำแพงเพชรอพยพหนีพม่า และมอญมุ่งไปทางเมืองพิษณุโลก ทรงเกรงว่าเป็นพวกอื่น ปลอมปนมาด้วย จึงอายัดด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาติตระการและซา ไม่ให้ไทยใหญ่หนีไปได้

ในปี พ.ศ.2112 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์ดำ (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) เสด็จขึ้นไปครองเมืองฝ่ายเหนืออยู่ที่เมืองพิษณุโลก หัวเมืองฝ่ายเหนือขณะนั้นมีอยู่ 8 เมือง คือ พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก พิจิตร พิชัย เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และนครสวรรค์

ในปี พ.ศ.2113 พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมร ยกทัพมารุกรานไทยทางเมืองนครนายก ในครั้งนั้นพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า เจ้าเมืองเพชรบูรณ์เอาใจออกห่าง จึงได้รับโทษ

ในปี พ.ศ.2125 พระยาละแวกส่งกำลังเข้าตีเมืองนครราชสีมาได้แล้ว ยกกำลังเข้าตีเมืองสระบุรีและเมืองอื่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีถมอรัตน์ เจ้าเมืองศรีเทพ สมัยนั้นเรียกเมืองท่าโรง และพระชัยบุรี เจ้าเมืองชัยบาดาล นำกองทัพหัวเมืองเข้าขับไล่ข้าศึก

ในปี พ.ศ.2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่า ยกกำลังมาตีกรุงธนบุรี โดยเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แล้วนำกำลังเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ ประมาณสี่เดือนยังตีไม่ได้ ทางฝ่ายไทยมีแม่ทัพสำคัญคือเจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง ต่อมาทั้งสองท่านเห็นเหลือกำลังจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงรวบรวมกำลังออกปล้นค่ายข้าศึกด้านตะวันออก หักออกจากวงล้อมได้ แล้วยกกำลังไปเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อรวบรวมกำลังรบ และเสบียงอาหาร แล้วยกกำลังกลับมายึดเมืองพิษณุโลกคืน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อเมืองเพชรบูรณ์ปรากฏอยู่ในแผนที่ยุทธศาสตร์ เขียนรูปเมืองตั้งคร่อมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเมืองศรีเทพเป็นเมืองตรี แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวิเชียรบุรี เนื่องจากมีการเกณฑ์หัวเมืองไปรบครั้งปราบกบฏเวียงจันทน์ พระศรีถมอรัตน์มีความชอบมากในครั้งนั้น ได้มีการรวมเมืองชัยบาดาลและเมืองบัวชุมมาขึ้นต่อเมืองวิเชียรบุรี

เดิมในพื้นที่อำเภอหล่มเก่า และเมืองหล่มสักมีชุมชนหนาแน่นชื่อว่าเมืองลม หรือเมืองหล่ม เป็นเมืองเล็ก ๆ ในสมัยสุโขทัย   เจ้าเมืองคนแรกสืบเชื้อสายมาจากลาวเวียงจันทน์   ต่อมามีชาวเวียงจันทน์ และเมืองหลวงพระบาง อพยพมาอยู่กันมากขึ้นจึงตั้งเป็นเมือง มีเจ้าเมืองปกครองมาห้าคนจนถึงสมัยพระยาสุริยวงษา ฯ (คง) เห็นว่าที่ตั้งเมืองไม่เหมาะสม
จึงอพยพผู้คนไปตั้งเมืองใหม่ใกล้ลำน้ำสัก (แม่น้ำป่าสัก)

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีการเปลี่ยนแปลงนามเจ้าเมืองเพชรบูรณ์และเมืองวิเชียรบุรี (ศรีเทพ) ซึ่งใช้ชื่อเดิมมาแต่สมัยอยุธยาคือ เมืองวิเชียร   จากนามเจ้าเมืองเดิมคือพระยาประเสริฐสงคราม ฯ เป็น พระยาเลิศสงคราม ฯ เมืองเพชรบูรณ์ จากนามเจ้าเมืองเดิมคือพระเพชรพิชัยปลัด เป็นพระเพชรพิชภูมิปลัด

การจัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์และเทศาภิบาล  ในปี พ.ศ.2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง เนื่องด้วยเหตุการณ์ตามชายแดนของประเทศ ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งขึ้น เป็นเขตการปกครองเรียกว่า มณฑล ได้จัดตั้งรวมหกมณฑลด้วยกัน   เมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุงที่ตั้งอยู่ใกล้ชิด และสะดวกในการเดินทางติดต่อระหว่างกัน กับทั้งลักษณะขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกัน กับมณฑลลาวพวน ได้ไปขึ้นกับมณฑลลาวพวน   ส่วนเมืองเพชรบูรณ์ เมืองวิเชียรบุรี ที่อยู่ทางตอนใต้ การเดินทางติดต่อสะดวกกับมณฑลลาวกลาง จึงไปขึ้นอยู่กับมณฑลลาวกลาง

<<< ย้อนกลับ || อ่านต่อ >>>

จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือ กันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ล เป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตู หน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม