ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระธาตุเจดีย์
ในประเทศไทย

พระธาตุบังพวน

พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และสำคัญยิ่งของจังหวัดหนองคาย และเป็นพระธาตุที่สำคัญองค์หนึ่งของภาคอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย อุดรธานี พระยาจุลณี พรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนนนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง (ตรงข้ามนครพนม) ได้ร่วมกันอุปถัมภ์ พระมหากัสสเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ อีก 500 องค์ ทำการก่อสร้างพระธาตุพนม แล้วเสร็จ และได้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ต่อมาได้เดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อไปอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า 45 พระองค์ นำมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ 4 แห่งคือ บริเวณเมืองหนองคาย และเมืองเวียงจันทน์ หนึ่งในสี่แห่งนั้น คือพระธาตุบังพวน ซึ่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาพักที่ร่มไม้ปาแป้ง (ไม้โพธิ) ณ ภูเขาหลวง อันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ พระธาตุบังพวนปัจจุบัน



จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า พระธาตุบังพวนได้มีการก่อสร้างสืบเนื่องกันมาสามสมัย คือ ฐานเดิมสร้างด้วยศิลาแลง ชั้นที่สองสร้างด้วยอิฐครอบชั้นแรก และต่อมาได้มีการก่อสร้างให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้น จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่ขุดได้ 4 องค์ ในจำนวนทั้งหมด 6 องค์ ระบุศักราชที่สร้างไว้ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2118 พ.ศ. 2150 พ.ศ. 2158 และ พ.ศ. 2167 และข้อความในจารึกเมื่อ พ.ศ. 2167 มีประวัติในการสร้าง โดยได้กล่าวถึงพระเจ้าโพธิสาลราช ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีราชธานีอยู่ที่นครเชียงทอง ซึ่งก็ตรงกับรูปแบบการก่อสร้างโบราณสถานในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน ที่แสดงถึงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง

พระธาตุบังพวนเป็นพระสถูปเจดีย์ ทรงเรือนปราสาทสี่เหลี่ยม เป็นองค์ประธานซึ่งมีชื่ออยู่ในศิลาจารึกว่า พระธาตุบังพวนพระเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน ภายในวัดมีกลุ่มพระธาตุขนาดต่าง ๆ อีก 15 องค์ สันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยใกล้เคียงกันกับพระธาตุบังพวน มีวิหาร 3 หลัง อุโบสถ 1 หลัง สระน้ำ และบ่อน้ำโบราณ นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานอีกกลุ่มหนึ่ง ภายในบริเวณเดียวกัน เรียกว่า สัตตมหาสถาน อันเป็นสถานที่ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติ เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สัตตมหาสถานที่สร้างขึ้นมาภายหลัง มีอยู่ 3 แห่งอยู่ที่ประเทศพม่าหนึ่งแห่ง และที่ประเทศไทยสองแห่ง คือที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่และที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย

พระปฐมเจดีย์
พระบรมธาตุดอยสุเทพ
พระบรมธาตุดอยตุง
พระธาตุลำปางหลวง
พระธาตุหริภุญชัย
พระธาตุพนม
พระธาตุเชิงชุม
พระธาตุนารายณ์เจงเวง
พระบรมธาตุขามแก่น
พระธาตุบังพวน
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระบรมธาตุเมืองนคร
พระธาตุไชยา

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

» เงิน
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของหรือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า ต่อมาได้ใช้สิ่งของเป็นสื่อ เช่น เปลือกหอย ผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ เกลือ ใบชา ใบยาสูบ

» ปรมนุตรสุญญตา
ว่างหมด คือ ปรมนุตรสุญญตา อะไรว่างหมด กาย ว่างหมด เวทนา ว่างหมด จิต ว่างหมด ธรรมชาติ ว่างหมด

» กฎบัตรสหประชาชาติ
บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งเจตน์จำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณามาสู่มนุษย์ชาติในชั่วชีวิต

» กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
ไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร

» เพลงพื้นบ้าน
เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลงของตนไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดที่เพี้ยนแปร่งแตกต่างกันไป

» วิถีโลก
เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของสังคมไทยและโลก ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้

» ประเทศไทยในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ