สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พระราชดำรัส : ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76
พระราชดำรัสตอบ
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ
แลข้าทูลละอองธุลีพระบาท
คราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรป พ.ศ. 2440
ท่านผู้เป็นทูตานุทูตแลหมู่แห่งกงสุลซึ่งมีเกียรติ ..... ซึ่งจะได้ถือเอาโอกาสอันนี้กล่าวให้ปรากฏว่า เราได้รู้สึกคุณของประเทศซึ่งเราได้ไปเยี่ยม แล้วได้ต้อนรับเราด้วยความครึกครื้น แลความรักใคร่เป็นอันดีทั่วทุกแห่ง ไม่มีที่ยกเว้นเลย ..... ไม่มีสิ่งใดซึ่งจะทำให้ชาติหนึ่งต่อชาติหนึ่ง เกิดความไมตรีต่อกันแลกัน ยิ่งกว่าซึ่งได้ต่างรู้จักกันแลกันเป็นอันดี ประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมถือชาติของตน ย่อมมีพงศาวดารของตน มีผู้เป็นเจ้าหรือเป็นประชาชนของชาติหนึ่ง ๆ ย่อมมีเหตุจะต้องรักบ้านเมืองของบรรพบุรุษแห่งตนแลตน แลป้องกันอิสรภาพแห่งประเทศนั้น ๆ ทั่วไป เพราะเหตุฉะนั้น เราทั้งหลายต้องมีความนับถือกันแลกัน ..... ความคิดเห็นอันนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความชอบธรรม แลหน้าที่อันมีอยู่ในอำนาจแห่งความปกครองของประเทศทั้งหลาย ท่านผู้เป็นข้าราชการอันดีทั้งหลายของเรา ความมุ่งหมายซึ่งเรามีอย่างเดียวกัน จะต้องเป็นไปเพื่อความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงสยาม ..... เราจะต้องไม่เป็นผู้ที่หลับตา ถือเอาอาการซึ่งจะเป็นการดีต่อชาติอื่น แต่จะไม่เป็นการดีหรือเป็นการด่วนเกินต้องการของประเทศสยามไป อีกฝ่ายหนึ่งเราจะต้องไม่เป็นหลงใหลหลับตา ถือมั่นตามแบบอย่างหรือกฎหมายโบราณ ซึ่งอาจดีได้ในกาลครั้งหนึ่ง แต่เป็นการล่วงพ้นจากความพอดี ซึ่งเรามีความต้องการแลมีความเห็นอยู่บัดนี้
..... แลเราทั้งหลาย จะเดินต่อไปด้วยกันในทางซึ่งสมควร แลเป็นทางที่เจริญขึ้นเป็นเนืองนิตย์ จะละหลีกทางที่แรงเกินไปทั้งสองฝ่าย คือจะไม่หยุดนิ่งเกินไป หรือไม่เดินเร็วเกินไปกว่าที่สมควรจะเดิน .....