สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป

วันที่ 22 ตุลาคม 2495 กองพันทหารไทยได้ผลัดเปลี่ยนกับกองพันทหารสหรัฐฯ บนแนวเจมส์ทาวน์ ด้านเขาพอร์คชอป มีเขตปฏิบัติการสำคัญคือ เขาพอร์คชอป (เขา 255) กับเขาสนุ๊ค (เขา 187) ที่บังคับการกองพันอยู่ที่หมู่บ้านอันเยิง ส่วนกองร้อยกำลังทดแทน และคลังเก็บของอยู่ที่เมืองยอนชอน

กองพันทหารไทยได้รับมอบภารกิจ ให้ยึดรักษาเขาพอร์คชอปไว้ให้ได้ โดยได้รับการยิงสนับสนุนด้วยอาวุธหนักจากกรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ ได้รับสนับสนุนรถถัง 1 หมวด เครื่องยิงหนัก 4.2 นิ้ว 1 หมวด และปืนต่อสู้อากาศยาน 1 หมวด พื้นที่ปฏิบัติการที่กองพันทหารไทยได้รับมอบ มีความกว้างด้านหน้า ประมาณ 3 กิโลเมตร จึงได้วางกำลัง 3 กองร้อยในแนวหน้า จัดกองร้อยรักษาด่านรบที่หน้าแนว 2 แห่งคือ ที่เขาพอร์คชอป มีกำลัง 1 หมวดปืนเล็กเพิ่มเติมกำลัง และหมู่ตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ 1 หมู่ ส่วนที่เขาสนู๊คมีกำลัง 2 หมู่ปืนเล็ก

พื้นที่ที่กองพันทหารไทยได้รับมอบอยู่บริเวณหน้าเขาทีโบน ภูมิประเทศสำคัญหน้าแนวคือ เขาพอร์คชอปกับเขาสนู๊ค เบื้องหน้าเขาพอร์คชอปเป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ที่ฝ่ายข้าศึกยึดอยู่ 2 ลูกคือ เขาฮาร์คโกล และเขาโพลเค เขาพอร์คชอปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองชอร์วอน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งของเกาหลี ลักษณะเป็นสันเขาโดดเดี่ยว ล้อมรอบด้วยหุบเขาสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเล 255 เมตร เป็นชัยภูมิที่ทั้งสองฝ่ายต้องการยึดเอาไว้เพื่อความได้เปรียบทางยุทธวิธี เพราะเป็นจุดคุมเส้นทางหลักที่จะเจาะเข้าถึงเมืองชอร์วอนทางทิศตะวันออก เมืองยอนชอนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่บริเวณเขาพอร์คชอปนี้ได้มีการแย่งยึดเปลี่ยนมือกันไปมา หลายครั้งของทั้งสองฝ่าย และครั้งสุดท้ายได้ตกเป็นของฝ่ายกองกำลังสหประชาชาติ

หลังจากขึ้นประจำที่มั่น เมื่อ 22 ตุลาคม 2495 กองพันทหารไทยก็รีบดำเนินการปรับปรุงเส้นทางคมนาคม จากที่บังคับการกองพันไปยังที่มั่นบนเขาพอร์คชอป แต่ทำได้ไม่สดวก เพราะถูกข้าศึกยิงรบกวนตลอดเวลา จึงต้องใช้รถสายพานลำเลียงพล จากหน่วยเหนือมาใช้ พร้อมทั้งขอเครื่องทำควันขนาดใหญ่ มาใช้ปล่อยควันกำบังการตรวจการณ์ เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านเส้นทางนี้เวลากลางวัน ดำเนินการปรับปรุงคูสนามเพลาะ และเครื่องกีดขวางประเภทลวดหนาม โดยเพิ่มแนวลวดหนามจากเดิม 2 แนวเป็น 4 แนว วางแผนการใช้ทุ่นระเบิด และหีบระเบิดนาปาล์มที่มีอานุภาพรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังได้จัดกำลังกองหนุนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน และจำเป็นโดยใช้กำลังจากกองร้อยกองบังคับการ และกำลังพลอืน ๆ ที่มิได้ติดพันการรบในขณะนั้น พร้อมกันนั้น ทางหน่วยเหนือก็ได้ออกคำแนะนำทางยุทธการ ให้หน่วยระดับกองพันจัดตั้ง ศูนย์ประสานการยิงช่วยขึ้น นับว่าเป็นการกระทำครั้งแรกในระดับกองพัน กองพันทหารไทยได้เตรียมการขอรับการสนับสนุนฉากการยิงคุ้มครอง เป็นวงแหวนรอบที่มั่นรักษาด่านรบเขาพอร์คชอป โดยขอให้ปืนใหญ่กองพลของกองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ซึ่งมีอยู่ 4 กองพัน วางฉากการยิงที่เรียกว่าวงแหวนเหล็กเอาไว้ เพื่อใช้ในกรณีที่ถูกข้าศึกเข้าตี ด้านการสื่อสารก็มีการวางข่ายการติดต่อสื่อสารให้แน่นแฟ้น ใช้การสื่อสารทางสายเป็นหลัก ได้จัดวางข่ายการสื่อสารไปยังจุดที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังเขาพอร์คชอปถึง 7 ทางสาย โดยฝังสายลงใต้ดิน พาดไปบนพื้นดิน และขึงสายเหนือพื้นดิน
นอกจากนี้ยังจัดกำลังออกลาดตระเวณหาข่าวประจำวัน ๆ ละ 3 สาย มีการจัดหมวดรบพิเศษ (Ranger Platoon) ขึ้นเป็นครั้งแรก จากผู้อาสาสมัครซึ่งมีเป็นจำนวนมาก แต่คัดเลือกไว้ 40 คน เพื่อใช้ในการลาดตระเวณรบลึกเข้าไปในแนวข้าศึก เพื่อจับเชลยตามคำแนะนำของหน่วยเหนือ

การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 1

ในคืนวันที่ 31 ตุลาคม 2495 ฝ่ายข้าศึกประมาณ 1 หมวด เคลื่อนที่เข้าจู่โจมที่ฟังการณ์สาย 8 ทางมุมด้านทิศตะวันออกของเขาพอร์คชอป ศูนย์ประสานการยิงคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป ทิ้งศพผู้เสียชีวิตไว้เท่าที่ตรวจพบ 10 ศพ ต่อมาเมื่อบ่ายวันที่ 1 พฤศจิกายน 2495 ข้าศึกได้ยิงเตรียมมายังที่มั่นเขาพอร์คชอปด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิด ฝ่ายเราได้รับความเสียหายมาก ตอนค่ำข้าศึกส่งกำลัง 1 กองพัน เคลื่อนที่เข้าตี 2 ทิศทาง ไปยังที่ฟังการณ์สาย 4 และที่ฟังการณ์สาย 8 ได้มีการต่อสู้กันในระยะประชิด จนต้องถอนตัวกลับเข้าที่มั่น ข้าศึกก็ได้เคลื่อนที่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด จนถึงบริเวณที่มั่นเขาพอร์คชอป จึงได้มีการยิงฉากวงแหวนทำลายข้าศึกที่เข้ามาถึงขอบที่มั่น จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป การรบครั้งนี้ฝ่ายเราเสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 17 คน ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิต 50 คน พบร่องรอยการระดมยิงด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักกว่า 600 นัด ในบริเวณที่มั่นของฝ่ายเรา ในวันรุ่งขึ้นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้เดินทางมาเยี่ยมกองพันทหารไทย ได้แสดงความประทับใจอย่างมากที่ทหารไทยมีจิตใจห้าวหาญ แกร่งกล้า เป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง และได้หนังสือชมเชยกองพันทหารไทยด้วย

ต่อมากองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้ส่งทหารช่างพร้อมที่กำบังสำเร็จรูป (Prefabrication Sef) มาให้ ทำให้มีความมั่นคงแข็งแรงกว่าที่มีอยู่เดิม และปรับปรุงที่มั่นให้กลับสู่สภาพเดิม จากการเสียหายที่ข้าศึกเข้าตีในครั้งนี้

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม