สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515 ที่สำคัญ ๆ

มีดังนี้

13 พฤษภาคม 2510 เวลาประมาณ 01.10 น. เรือหลวงพงันพร้อมด้วยเรือฝ่ายเดียวกันอีก 3 ลำ ไปเกยหาดที่จุดขนถ่ายที่เมืองท่าจูไล ได้ถูกเวียดกงระดมยิงจากฝั่งตรงข้ามด้วยปืนไร้แรงสะท้อน และเครื่องยิงลูกระเบิด ฝ่ายเราได้ยิงโต้ตอบโดยทหารสหรัฐฯ บนฝั่ง และบนเรือตรวจฝั่ง พร้อมกับให้เฮลิคอปเตอร์ทิ้งพลุส่องสว่าง และฉายไฟไปยังตำบลที่สงสัยว่า จะเป็นที่ตั้งของฝ่ายเวียดกง ปรากฏว่าฝ่ายเราเสียหายเล็กน้อย

7 พฤษภาคม 2511 เวลา 11.54 น. ขณะที่เรือหลวงพงัน แล่นอยู่ในร่องน้ำบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง จากเมืองคานโถไปเมืองวุงเตา ได้ถูกเวียดกงโจมตีด้วยจรวดบาซูก้า ขนาด 75 มิลลิเมตร จำนวน 5 นัด จากระยะประมาณ 90 เมตร เรือหลวงพงันต่อสู้ด้วยปืนเรือ 40/60 มิลลิเมตรแท่นคู่ และปืนกล .50 คาลิเบอร์ ฝ่ายเวียดกงถอยกลับไป เรือหลวงพงันถูกกระสุนจรวด 1 นัด ทางกราบซ้ายใกล้แนวน่านน้ำบริเวณกลางลำเป็นรูทะลุ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว และฉีกเป็นแนวยาวประมาณ 1 ฟุต หน่วยควบคุมความเสียหาย ได้ทำการซ่อมอย่างรีบด่วน และสามารถนำเรือกลับได้อย่างปลอดภัย

13 ธันวาคม 2513 เวลา 13.02 น. เรือหลวงพงันออกเดินทางจากเมืองคานโปไปยังเมืองท่าวุงเตา ได้ถูกข้าศึกโจมตีด้วยจรวด 1 นัด แต่กระสุนไประเบิดทางกราบขวาท้ายเรือ ห่างประมาณ 90 เมตร
เรือหลวงพงันได้เข้าซ่อมใหญ่ที่ฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่เกาะกวม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2511 ถึง กุมภาพันธ์ 2512 และเดินทางกลับไปปฏิบัติการตามภารกิจต่อไป เมื่อ 15 เมษายน 2512

เรือ ต.12

เรือ ต.12 มีกำลังพล 32 คน มีการผลัดเปลี่ยนกำลังพลเป็น 4 ชุด แต่ละชุดมี 2 ผลัด ตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2509 ถึง 11 พฤษภาคม 2514

เรือ ต.12 ปฏิบัติงานอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของกองเรือเฉพาะกิจ ที่ 115 สหรัฐฯ ตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2509 ต่อมาเมื่อ 1 มิถุนายน 2512 ทัพเรือสหรัฐฯ ได้โอนหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 115.4 ให้กับกองทัพเรือเวียดนามใต้ และพิจารณาย้ายเรือ ต.12 ไปขึ้นในความควบคุมทางยุทธการของหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 115.3 (Task Group 115.3) ในเดือนกันยายน 2513 ทัพเรือสหรัฐฯ ได้โอนหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 115.3 ไปให้กองทัพเรือเวียดนามใต้อีก และให้เรือ ต.12 ไปขึ้นในความควบคุมทางยุทธการ ของหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 115.6 ซึ่งกำหนดให้เรือ ต.12 ปฏิบัติการเป็นหน่วยเรือเฉพาะกิจที่ 115.6.6 และสุดท้ายในเดือนมกราคม 2514 ได้ให้เรือ ต.12 ปฏิบัติการเป็นหน่วยเรือเฉพาะกิจที่ 115.6.5

เรือ ต.12 มีหน้าที่ลาดตระเวน ค้นหา และเฝ้าตรวจชายฝั่งทะเลเวียดนามใต้ เพื่อป้องกันการแทรกซึมของฝ่ายคอมมิวนิสต์ทางทะเล ตามแผนยุทธการ มาร์เก็ตไทม์ (Market Time Operation)

พื้นที่ปฏิบัติการ

แนวเขตชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองเรือเฉพาะกิจที่ 115 มีความยาว 1,875 กิโลเมตร แบ่งพื้นที่ปฏิบัติการลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมของข้าศึกเป็น 9 เขตใหญ่ แต่ละเขตยังแบ่งเป็นพื้นที่ชายฝั่ง (Inshore) และพื้นที่นอกฝั่ง (Offshore) โดยถือแนวเส้นทะเลอาณาเขต (12 ไมล์จากฝั่ง) เป็นเส้นแบ่งเขตโดยประมาณ และพื้นที่ชายฝั่งยังแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย ๆ ควบคุมแนวชายฝั่ง ประมาณ 20 ไมล์ พื้นที่ทั้งหมดเรียกว่าพื้นที่รับผิดชอบตรวจการณ์เป็นพิเศษ (Market Time Surreillance Area)

การปฏิบัติการที่สำคัญ

8 เมษายน 2513 เวลา 11.30 น. หน่วยทหารบนฝั่งแจ้งว่า เวียดกงได้ยิงเครื่องบินตรวจการณ์ จึงขอให้เรือ ต.12 ร่วมกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งของสหรัฐฯ ระดมยิงทำลายที่ตั้ง และกำลังของเวียดกง เรือ ต.12 ได้เริ่มทำการยิงไปยังที่หมายที่ได้รับรายงาน ด้วยปืนขนาด 40 มิลลิเมตร และปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร ฝ่ายเวียดกงได้ยิงโต้ตอบแต่ไม่ถูก จากการตรวจตำบลกระสุนตกของเครื่องบินตรวจการณ์ แจ้งว่าเรือ ต.12 ยิงทำลายถูกที่หมายดีมาก

ต่อมาในคืนวันเดียวกันขณะที่เรือ ต.12 แล่นอยู่ในแม่น้ำฮากลางเพื่อเดินทางกลับฐาน ได้รับคำร้องขอจากหน่วยปฏิบัติการรบพิเศษบนบกของสถานีชายฝั่งที่ 36 ว่า สืบพบกองกำลังเวียดกง รวมกำลังอยู่ในที่หมาย 3 แห่งริมแม่น้ำ เรือ ต.12 จึงยิงปืนกลขนาด 40 มิลลิเมตรไปตามคำขอ

9 เมษายน 2513 เรือ ต.12 ได้ปฏิบัติการร่วมกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งสหรัฐฯ ในหน่วยเรือของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงานชายฝั่ง ระดมยิงกองโจรที่ซ่องสุมกำลังกันอยู่บริเวณสองฝั่งคลอง มี่ทานห์ ซึ่งกว้างประมาณ 300 หลา กระจายกันอยู่ในที่หมาย เรือ ต.12 ได้ยิงปืนกลทุกขนาด ไปยังที่หมายทั้ง 3 แห่ง อย่างจู่โจมทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ

10 เมษายน 2513 เวลา 10.00 น. เรือ ต.12 ได้รับคำร้องขอจากผู้บังคับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ลาดตระเวน ให้ปฏิบัติการร่วมกับเรือตรวจการณ์ชายฝั่งสหรัฐฯ ในคลองเคลมบังโก ซึ่งกว้าง ประมาณ 100-200 หลา สองฝั่งคลองมีเวียดกงหลบซ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก การปฏิบัติการครั้งนี้ มุ่งหมายเพื่อการปฏิบัติการจิตวิทยาชักชวนพวกเวียดกง บนสองฝั่งคลองให้กลับใจยอมมอบตัว โดยเรือสหรัฐฯ ทำหน้าที่กระจายเสียงเป็นภาษาเวียดนาม ส่วนเรือ ต.12 ทำหน้าที่คุ้มกัน

17 เมษายน 2513 เรือ ต.12 ปฏิบัติการตามแผนซีฮอร์ส 1732 ในพื้นที่อำเภอลองถั่น ร่วมกับเรือรักษาฝั่ง และเครื่องบินตรวจตำบลกระสุนตกของสหรัฐฯ โดยให้ผู้บังคับการเรือ ต.12 เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมทางยุทธวิธี ภารกิจที่ได้รับคือการนำเรือเข้าไปตามลำน้ำต่าง ๆ ได้แก่ แม่น้ำลันเนือ แม่น้ำบาร์ตอง แม่น้ำลองชิม แม่น้ำไบดอน ผ่านออกไปทางคลองขุดคิมส์คานห์ชานห์โบ ทะลุออกแม่น้ำฮากลาง (แม่น้ำบาสัก) กำหนดให้ทำการยิงเป้าหมายต่าง ๆ ที่พบเห็นตลอดสองฝั่งคลอง และตามตำบลต่าง ๆ เวลา 15.20 น. ฝ่ายเวียดกงที่ซุ่มอยู่บนฝั่งห่างจากเรือประมาณ 20 เมตร ได้ยิงจรวดอาร์พีจี 3 นัด ทำให้เกิดการระเบิดในห้องเครื่อง และน้ำมันรั่ว เกิดการระเบิดและเพลิงไหม้ แต่เรือ ต.12 สามารถดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม