สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
การเจรจาเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม ระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ฝ่ายหนึ่ง กับเวียดนามเหนือ และเวียดกงอีกฝ่ายหนึ่ง เริ่มการเจรจามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2511 จนถึงเดือนมกราคม 2515 ปรากฏว่าที่ประชุมไม่สามารถตกลงปัญหาเวียดนามกันได้ ฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกงได้ยื่นข้อเสนอต่อที่ประชุมครั้งหลังสุด เมื่อ 1 กรกฎาคม 2514 สรุปได้ดังนี้
1. สหรัฐ ต้องกำหนดเวลาถอนทหารสหรัฐฯ และทหารชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีออกจากเวียดนามใต้โดยเร็วที่สุด และต้องส่งคืนเชลยศึกเวียดนามเหนือ และเวียดกงด้วย
2. ยุติการสนับสนุนรัฐบาลของประธานาธิบดี เหงียนวันเทียวของเวียดนามใต้ และรีบจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น
3. การแก้ไขปัญหาการขัดแย้งระหว่างกำลังทหารเวียดนามใต้ กับเวียดกง เป็นเรื่องระหว่างชาวเวียดนามด้วยกันเอง
4. จัดให้มีการรวมประเทศเวียดนามเป็นขั้นตอนตามลำดับ
5. เวียดนามใต้ต้องดำเนินนโยบายเป็นกลาง
6. สหรัฐฯ ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากสงครามให้กับเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้
7. ความตกลงต่าง ๆ ที่ลงนามร่วมกัน จะต้องมีองค์การระหว่างประเทศให้การรับรองด้วย
ข้อเสนอดังกล่าวนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ไม่ยอมรับ โดยเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2 ทำให้การเจรจาหยุดชะงัก ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้ส่งนายคิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี เดินทางไปเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับ ฝ่ายเวียดนามเหนือที่กรุง ปารีสถึง 10 ครั้ง ในที่สุดฝ่ายสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ได้ยื่นข้อเสนอต่อที่ประชุม รวม 8 ข้อ มีลักษณะโอนอ่อนให้แก่เวียดนามเหนือเป็นอันมาก เพื่อแสดงว่าสหรัฐฯ มีความตั้งใจจริงที่จะยุติสงครามเวียดนาม แต่ฝ่ายเวียดนามเหนือไม่ยอมตกลงใด ๆ ด้วย สหรัฐฯ จึงตกลงใจเปิดเผยการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการให้ชาวโลกได้ทราบข้อเท็จจริง ทำให้เวียดนามเหนือ และเวียดกง แสดงความโกรธแค้นสหรัฐฯ มาก และได้ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในการประชุม ครั้งที่ 143 เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2515 พร้อมกับยื่นข้อเสนอใหม่ 8 ข้อ มีสาระสำคัญว่า ให้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีถอนกำลังทั้งหมดออกจากเวียดนามใต้โดยไม่มีเงื่อนไข กับให้ยกเลิกโครงการช่วยเหลือตนเองในการป้องกันทางทหารของเวียดนามใต้
ประเทศฝ่ายโลกเสรีทั่วไป โดยเฉพาะชาวอเมริกันมีความเห็นว่าข้อเสนอของสหรัฐฯ
เหมาะสมและยุติธรรมดีแล้ว แสดงถึงความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะยุติสงครามเวียดนาม
ชมเชยรัฐบาลเวียดนามใต้ว่าใจกว้าง และกล้าหาญ
พอที่จะแข่งขันกับฝ่ายเวียดนามเหนือด้วยวิถีทางการเมืองอย่างยุติธรรม
และประณามฝ่ายเวียดนามเหนือว่าปราศจากความบริสุทธิ์ใจที่จะยุติสงคราม
ประเทศผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็แสดงการสนับสนุนเวียดนามเหนือ และเวียดกง
ต่อมาในปลายเดือนมีนาคม นางเหงียนทิบินห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเหนือ และหัวหน้าคณะผู้แทนเวียดกง ได้เดินทางไปร่วมเจรจาที่กรุงปารีสอีกครั้ง โดยยืนกรานให้สหรัฐฯ ถอนทหารทั้งหมดออกจากเวียดนามใต้ กับให้ประธานาธิบดีเหงียนวันเทียว ลาออกจากตำแหน่ง และยุบรัฐบาลก่อน ฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกง จึงจะยอมเจรจาด้วย นอกจากนี้สหรัฐฯ ต้องปฏิบัติตามข้อเสนอของฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกง จึงจะมีการเจรจาสงบศึกกันต่อไป เมื่อเป็นดังนี้ประธานาธิบดีนิกสันจึงสั่งให้ยุติการประชุม
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี