สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามเกาหลี

การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์

ปลายเดือนมกราคม 2496 กองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปผลัดเปลี่ยนกองพลที่ 1 จักรภพอังกฤษ วางกำลังบนภูเขาเดอะฮุค และลิดเติลยิบรอลตาร์ ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำอินจินในแนวเจมส์ทาวน์

13 กุมภาพันธ์ 2496 กองพันทหารไทยได้ขึ้นผลัดเปลี่ยนกองพันที่ 1 ทางด้านซ้ายของกรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ มีเขตรับผิดชอบทางปีกซ้าย เริ่มจากเขาทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านนาปู เขา 156 หมู่บ้านพุดซัง จนสุดปีกขวาที่เขา 166 และได้ตั้งมั่นอยู่ในแนวนี้จนถึง 8 เมษายน 2496 ลักษณะการรบเป็นการลาดตระเวณ และดักซุ่มยิงเพื่อจับเชลย จึงได้ให้กองร้อยในแนวหน้าส่งหน่วยลาดตระเวณขนาดย่อม ออกไปสกัดซุ่มยิงข้าศึกทั้งกลางวันกลางคืน มีการปะทะกับหน่วยลาดตระเวณข้าศึกหลายครั้ง

1 มีนาคม 2496 ฝ่ายข้าศึกซึ่งไม่ได้เคลื่อนไหวมานาน ได้เริ่มปฏิบัติการเชิงรุก โดยเริ่มระดมยิงปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักไปยังกองร้อยที่ 1 และที่ 2 ของไทยอย่างรุนแรง จากนั้นกำลังข้าศึกประมาณ 2 กองร้อย ได้เข้าโจมตีมีบางส่วนเข้ายึดหมู่คอยเหตุที่ 3 ของกองร้อยที่ 2 จึงเกิดการต่อสู้ถึงขั้นตะลุมบอน ฝ่ายเราส่งกำลังเข้าตีโต้ตอบยึดคืนกลับมาได้ ข้าศึกหยุดการโจมตี และถอนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมกับการสูญเสียอย่างหนัก ฝ่ายเราเสียชีวิต 7 คน บาดเจ็บ 23 คน

11 มีนาคม 2496 เวลา 23.00 น. หมวดรบพิเศษของกองพันทหารไทย ได้เคลื่อนที่เข้าสู่ที่หมายอย่างเงียบ ๆ โดยมีหมู่ลาดตระเวณจากกองร้อยที่ 1 และกองร้อยที่ 2 เคลื่อนที่ตามออกไปวางกำลังคุ้มครองการถอนตัว ฝ่ายเราเข้าตีที่ตั้งหมู่คอยเหตุของข้าศึก และถอนตัวกลับมาได้ไม่มีการสูญเสีย

ในคืนวันที่ 17 มีนาคม ข้าศึกประมาณ 1 กองพัน ได้เข้าตีหน่วยทหารสหรัฐฯ กองพันทหารไทยได้ใช้อาวุธหนักยิงช่วยอย่างเต็มที่ ฝ่ายข้าศึกเสียกำลังมากกว่า 400 คน ฝ่ายเราบาดเจ็บ 100 คนเศษ นับเป็นการรบครั้งที่หนักที่สุดของกรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ ในแนวรบนี้

ระหว่างวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2496 ข้าศึกส่งหน่วยลาดตระเวณเข้าไปหยั่งกำลังฝ่ายเราตลอดแนวของกรม ข้าศึกประมาณ 4 หมวด ได้เคลื่อนที่เข้าไปข้างหน้ากองร้อยที่ 1 ของไทย ปะทะกับยามพังการณ์ และหมู่คอยเหตุของเรา ฝ่ายเราถอนตัวได้ทัน และใช้อาวุธหนักทุกชนิดยิงสกัดกั้นข้าศึกอย่างรุนแรง จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป

กองพันทหารไทยได้เคลื่อนย้ายลงไปเป็นกองหนุน เมื่อ 8 เมษายน 2496 โดยไปตั้งอยู่ที่ตำบลพับยอง ห่างจากเมืองอุยจองบูไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร

กองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐฯ ได้ย้ายไปขึ้นกับกองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐฯ เมื่อ 27 เมษายน 2496 กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายไปเข้าที่ตั้งในแนวแคนซัส ซึ่งเป็นแนวหนุนของกองทัพที่ 8 สหรัฐฯ ที่ตั้งกองพันอยู่ที่บ้านเชิงเขาหลังแคนซัส ต่อมาเมื่อ 6 พฤษภาคม 2496 ก็ได้รับคำสั่งให้ย้ายจากแนวแคนซัสไปที่หมู่บ้านคิโอ ทางทิศใต้ของเมืองชอร์วอน 11 กิโลเมตร ในที่รวมพลของกองพลที่ 2 สหรัฐฯ

21 มิถุนายน ผู้บังคับกองพันทหารไทยผลัดที่ 4 ได้ส่งมอบการบังคับบัญชาให้ผู้บังคับกองพันทหารไทยผลัดที่ 5

จากการปฏิบัติการของกองพันทหารไทยผลัดที่ 4 ในบริเวณเมืองเคซอง มุรซาน อุยจองบู และชอร์วอน ประธานาธิบดีชิงมังรีแห่งเกาหลีใต้ ได้มอบแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณหน่วย พร้อมทั้งคำประกาศเกียรติคุณหน่วย เมื่อ 8 เมษายน 2487 ดังนี้

ซิงมันรี
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
8 เมษายน 2497


คำประกาศเกียรติคุณหน่วย
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขอประกาศเกียรติคุณด้วยความปิติอย่างซาบซึ้ง แด่

กองพันทหารไทย
ในการที่ได้ประกอบภารกิจดีเด่นเป็นพิเศษ
แก่สาธารณรัฐเกาหลี

ในรอบระยะเวลาตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2493 ถึง 8 เมษายน 2496

กองพันทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจเป็นผลดีเยี่ยม ในการสู้รบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ผู้รุกรานประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธบริเวณพื้นที่เมืองเคซอง มุนซาน ชุนชอน อุยจองบู และชอร์วอน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2496 ข้าศึกได้ทำการเข้าโจมตีกองร้อยที่ 1 โดยมีปืนใหญ่ยิงช่วยอย่างหนัก แต่กองร้อยที่ 1 ได้ทำการผลักดันข้าศึกด้วยความกล้าหาญ จนฝ่ายข้าศึกต้องสูญเสียกำลังไปเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการรบนี้ ทหารทุกคนในกองร้อยที่ 1 ได้แสดงให้เห็นความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว อย่างเด่นชัด

การปฏิบัติของบรรดาทหารไทยในกองพันทหารไทยอันดีเด่นนี้ ได้เป็นผลเสริมส่งเกียรติคุณให้แก่กองพันทหารไทย ราชการแห่งกองทัพบกไทย และกำลังทหารสหประชาชาติที่ปฏิบัติการอยู่ในประเทศเกาหลี ด้วยเกียรติประวัติซึ่งกองพันทหารไทยได้ปฏิบัติการไปนี้จะได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเกาหลี

คำประกาศเกียรติคุณหน่วยนี้แสดงว่า ทหารไทยทุกคนซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจในสาธารณรัฐเกาหลีในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมมีสิทธิที่จะประดับแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณนี้ได้

ซิงมันรี

กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม