ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
รวมธรรมบรรยายของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
2
จากนั้นทั้งสี่ท่าน ได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น
โดยพระอาจารย์ดูลย์ เป็นผู้นำทาง จนได้พบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน
อำเภอสว่างดินแดงท่านทั้งสี่ ได้ศึกษาธรรม กับ พระอาจารย์มั่น ที่นั่น
เป็นเวลาสามวันจากนั้นก็ได้ไปกราบพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
(ผู้ได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น)ที่บ้านหนองดินดำ
แล้วจึงไปรับการอบรมธรรม จากพระอาจารย์สิงห์
ขนฺตยาคโมที่บ้านหนองหวายเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้นจึงได้ไปที่บ้านตาลเนิ้ง และ
ได้รับฟังธรรมจาก พระอาจารย์มั่น เสมอๆ
เมื่ออาจารย์ฝั้นได้รับการศึกษาอบรมธรรมะ จากพระอาจารย์มั่น
และได้ฝึกกัมมัฏฐานจนจิตใจมั่นคงแน่วแน่
บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่งโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ
มารบกวนได้ท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติ
เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2468
ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล)
เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์มุก
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษากับพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ
จังหวัดหนองคายร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่
ธมฺมทินฺโนพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สฺมโนออกพรรษาปีนั้น
ท่านได้เดินเลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขง เที่ยวธุดงค์ออกไปหลายแห่ง
วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ที่บ้านสามผง
อำเภอท่าอุเทน(ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม) ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษา
และโปรดญาติโยม ที่ดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
หลังออกพรรษา ท่านพระอาจารย์ฝั้น
ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมทางจังหวัดอุบลราชธานี
โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ไปอุบลฯด้วยในปี 2470 นี้
ท่านได้จำพรรษา ที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน
จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับพระอาจราย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยมที่นั่นพ.ศ. 2471
ท่านได้ออกไปจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยทราย อำเภอคำชะอี
จังหวัดมุกดาหารหลังออกพรรษา ท่านได้ไปเผยแพร่ธรรม
ที่จังหวัดขอนแก่นได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา 3 ปี
ระหว่างนั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน
ให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผีให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ถือศีลห้าและพระภาวนาพุทโธท่านเป็นที่พึ่งและให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไปคนคลอดลูกยาก
คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า
คนมีมิจฉาทิฏฐิหลอกลวงชาวบ้านท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้นท่านเองบางครั้งก็อาพาธ
เช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่นท่านปวดตามเนื้อตามตัวเป็นอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ
โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียวตั้งแต่ทุ่มเศษ จนเก้าโมงเช้า
ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด
พ้นจากการทุกข์ทรมานและให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2468 พรรษาที่ 8 ถึง 19 ท่านได้จำพรรษาที่
จังหวัดนครราชสีมา โดยตลอดแต่ในระหว่างนอกพรรษา
ท่านจะท่องเที่ยวไปเผยธรรมและตัวท่านเอง ก็ได้ศึกษาและปฏิบัติด้วย เช่น
ก่อนเข้าพรรษา ปี พ.ศ.2475 ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และ
พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการ ของ
เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโน)โดยพักที่ วัดบรมนิวาส เป็นเวลา3
เดือน
เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. 2477
ท่านได้ออกธุดงค์ไปในดงพญาเย็นท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้ ในระยะที่ใกล้มาก
ท่านสำรวมสติเดินไปใกล้ๆมันแล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่" เจ้าเสือผงกหัว
หันมาตามเสียง แล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน 3 พ.ศ. 2479 พระอาจารย์ฝั้น
พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อนได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น
ที่วัดเจดีย์หลวงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้พระอาจารย์มั่น
ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เล่ากันว่า ท่านทั้งสอง
ต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิ ได้โดยตลอด ทั้งๆที่ กุฏิห่างกัน
เป็นระยะทางเกือบ 500 เมตร
ออกพรรษาปี พ.ศ. 2486 พระอาจารย์ฝั้น ได้ออกเดินธุดงค์ จาก วัดป่าศรัทธาราม
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่า
สงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ และขณะเดียวกัน ก็สั่งสอนธรรมะ ช่วยเหลือชาวบ้าน
ที่มีความทุกข์ยาก และ พาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้าน
ให้มีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นท่านธุดงค์ไปเขาพนมรุ้ง ต่อไปจังหวัดสุรินทร์
จนกระทั่งถึง จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำพรรษา
ปี พ.ศ. 2487 ที่วัดบูรพา ที่จังหวัดอุบลราชธานี นี้เองพระอาจารย์ฝั้น
มีหน้าที่เข้าถวายธรรม แก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งกำลังอาพาธ
(ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา)และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพร
รักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่นจนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ทั้งสมเด็จฯ และ
พระอาจารย์มหาปิ่น มีอาการดีขึ้น ปี พ.ศ. 2488 ถึง 2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้น
ได้จำพรรษา ที่วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวงเป็นป่าดงดิบ ห่างจากตัวเมือง
ห้ากิโลเมตรเศษท่านได้นำชาวบ้าน และ นักเรียนพลตำรวจ พัฒนาวัดขึ้น
จนเป็นหลักฐานมั่นคงในพรรษาท่านจะสั่งสอนอบรม ทั้งศิษย์ภายใน
(คือพระเณรและผ้าขาว)และศิษย์ภายนอก (คืออุบาสก อุบาสิกา) อย่างเข้มแข็ง
ตามแบบฉบับ ของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นทุกวันพระ พระเณรต้องฟังเทศน์
แล้วฝึกสมาธิ และเดินจงกรมตลอดทั้งคืนอุบาสก อุบาสิกาบางคน ก็ทำตามด้วย
ช่วงออกพรรษา ท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระ หรือ พักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น
บริเวณเทือกเขาภูพาน เป็นต้น ช่วงปี พ.ศ. 2491 ท่านไปวิเวกที่ภูวัง
และได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา ที่สวยงามาก