ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
รวมธรรมบรรยายของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
3
ออกพรรษา ปีพ.ศ. 2492 ได้ติดตาม พระอาจารย์มั่น ถึงวัดสุทธาราม
ที่สกลนครและเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่น จนแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ. 2493-95
ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรมแถวภาคตะวันออก เช่นที่ จันทบุรี บ้านฉาง(จ.ระยอง)
และฉะเชิงเทราในระหว่างนั้น ก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆด้วย เช่น
ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯและวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น
ราวกลางพรรษาปี พ.ศ. 2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้น
ได้ปรารภกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่าท่านได้นิมิตเห็น ถ้ำแห่งหนึ่ง ทางตะวันตก
ของเถือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบ และ วิเวกพอออกพรรษาปีนั้น
เมื่อเสร็จธุระกิจต่างๆ แล้ว
ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่งเดินทางไปถึงบ้านคำข่าพักอยู่ในดงวัดร้าง ข้างหมู่บ้าน
เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้ว ท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต ในที่สุด
ชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขาม บนยอดเขายอดหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของท่านมากเพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงาม
มองเห็นถึงจังหวัดสกลนครอากาศดี สงัด และ ภาวนาดีมาก
ออกพรรษาปี พ.ศ. 2505 ท่านพระอาจารย์
ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และ
เพื่อจะได้สั่งสอนอบรมชาวบ้านพรรณา อำเภอพรรณานิคม บ้างวัดป่าอุดมสมพรนี้
เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำ ชื่อหนองแวงที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา
อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่านท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราว เพื่อบำเพ็ญกุศล
ทักษิณานุประทานแด่บุพการีครั้งเมื่อออกพรรษา ปี 2487 พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน
ญาณศิริ และ พระอาญาครูดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้น
ก็ได้มีพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษามาโดยตลอดจนกระทั่งได้เป็นวัดป่าอุดมสมพร
ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (2505)ท่านอาจารย์ได้นำญาติโยม
พัฒนาเส้นทาง จากโรงเรียนบ้านม่วงไข่
ไปจนถึงบ้านหนองโคกท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนน ทั้งวัน อยู่หลายวัน
จนอาพาธเป็นไข้สูงแพทย์จึงได้ขอร้อง ให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษา บนถ้ำขาม
เพราะสมัยนั้น ยังต้องเดินขึ้นดังนั้น ท่านจึงจำพรรษา ปี 2506
ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ช่วงปี พ.ศ. 2507 จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่าน คือ ปี พ.ศ.
2519 ท่านพระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร โดยตลอด
จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่
มีการขุดขยายหนองแวง ให้กว้าง และ ลึก เป็นการใหญ่สร้างศาลาใหญ่ เป็นที่ชุมนุม
สำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์ถังเก็บน้ำ และ
ระบบท่อส่งน้ำถึงแม้ท่านจะจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำ และ
วัดป่าภูธรพิทักษ์ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบ และ อปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆมาๆ
ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอเมื่อวันที 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2519
องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่
และได้ทรงนิมนต์ท่าน เข้าไปพักที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 22
เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างที่พักใน วัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ
ทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียน และ สนทนาธรรมกับท่าน นอกจากนั้น
ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่าน ที่วัดป่าอุดมสมพร
เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2518 อีกด้วย
ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2520 ด้วยอาการสงบ
ท่านพระอาจารย์ เป็นผู้มีระเบียบวินัย สมกับที่ท่าน สืบตระกูลมาจากผู้สูงศักดิ์
นอกจากนั้น ท่านยังมีความขยันหมั่นเพียรอย่างเอกอุ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนาการอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือการก่อสร้างอาคาร
ถนนหนทางท่านถือเอาการงาน และหน้าที่ เป็นเรื่องสำคัญข้อแรก
ส่วนความสะดวกสบายนั้น เป็นข้อรองและท่านปฏิบัติเช่นนี้ โดยสม่ำเสมอมา
ตั้งแต่หนุ่มจนถึงวัยชรา คุณประสพ วิเศษศิริ
เล่าถึงกิจวัตรประจำวันตามปกติของท่านพระอาจารย์ฝั้น
จากประสบการณ์ที่ได้บวชในช่วงปี 2512
ที่วัดป่าอุดมสมพรไว้ในหนังสืออนุสรณ์อายุครบ 60 ปีของคุณประสพเองว่า 03.00 น.
ท่านจะพระอาจารย์ตื่น พระและเณร ผลัดเปลี่ยนเวรกัน ถวายน้ำบ้วนปาก และ ล้างหน้า
เสร็จแล้ว ท่านก็นั่งภาวนาบนกุฏิชั้นบน 04.00 น. พระและเณรทั้งวัด
ตื่นทำความสะอาดร่างกาย และ นั่งภาวนา 05.00 น. จัดบาตรลงศาลา กวาดถู
จัดที่นั่งฉัน ตั้งกระโถนกาน้ำฯ 06.00 น. เตรียมบาตร ซ้อนผ้าคุลม
ยืนรอท่านอาจารย์ใหญ่ท่านจะนำบิณฑบาตรทุกๆเช้า
ท่านอาจารย์ไม่เคยขาดการบิณฑบาตรเลยมาระยะหลังๆ ท่านอาพาธ
ก็ยังพยายามบิณฑบาตรในวัดพระและเณรทุกๆรูป ก็ต้องออกบิณฑบาตร
เป็นกฏของวัดนอกเสียจากรูปใด เร่งความเพียรตั้งสัจจะ ว่าจะไม่ฉันอาหาร
จึงไม่ต้องบิณฑบาตรในวันที่ไม่ฉัน 07.00 น. ถึง 08.00 น. เริ่มฉัน
และฉันในบาตรโดยวิธีสำรวม พระ เณร ผ้าขาว ฉันเหมือนกันหมด อาหารอย่างเดียวกัน
จนตลอดแถว
09.00 น. ฉันอาหารเสร็จ เป็นอันว่า
เสร็จเรื่องการฉันไปหนึ่งวันเพราะกฏของวัด ฉันเพียงมื้อเดียว
ท่านอาจารย์ยังคงรับแขก ญาติโยมบนศาลาจนกว่า ท่านจะเห็นสมควรขึ้นกุฏิ
ส่วนพระเณรอื่นๆ นอกจากรูปไหน ที่เป็นเวร
คอยรับใช้ปรนนิบัติท่านก็ช่วยกันเก็บกวาดอาสนะให้เรียบร้อย และนำบาตร กระโถน
กาน้ำ แก้วน้ำ ไปล้างสำหรับบาตรต้องรักษาให้ดียิ่ง ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
แล้วไปเปิดฝา ผึ่งแดด บนระเบียงกุฏิ 10.00 น. ถึง 11.00 น. เดินจงกรม 11.00 น.
ถึง 12.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย12.00 น. ถึง 15.00 น. นั่งภาวนา
สาธยายหนังสือสวดมนต์ ทบทวนพระปาฏิโมกข์หรือไม่ก็ เดินจงกรม สุดแต่อัธยาศัย
แต่ข้อสำคัญที่สุด ก็คือ ห้ามคุยกันเล่น ไม่ว่าเวลาไหน
15.00 น. ตีระฆังลงศาลา ฉันน้ำปานะ โกโก้ กาแฟ หรือน้ำอัดลม
ตามแต่ศัทธาของเขาจัดถวาย 15.30 น. พระเณรทุกรูป ลงปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้ว
ทำความสะอาดส้วม และตักน้ำใส่ห้องส้วมให้เต็มทุกห้อง17.00 น.
ผลัดเปลี่ยนกันไปสรงน้ำพระอาจารย์ใหญ่ที่ไม่ได้รับเวรสรงน้ำอาจารย์ใหญ่
ก็ไปสรงน้ำตามกุฏิของตนเสร็จแล้วไปคอยอาจารย์ใหญ่ อยู่บนกุฏิของท่าน
เพื่อรับการอบรมจากท่านต่อไปเมื่อท่านอบรมแล้ว ใครมีปัญหา เป็นต้นว่า
ภาวนาเห็นนิมิตอะไร หรือสงสัยปัญหาธรรมอะไรขัดข้องตรงไหน จะเรียนถามท่านได้
ท่านจะคลายปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน 19.00 น. ตีระฆัง
ทำวัตรเย็น (สวดมนต์เย็น) โดยอาจารย์ใหญ่
ท่านจะเป็นผู้นำไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว
ท่านจะแสดงธรรมโปรด....และนำนั่งสมาธิต่อ