ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
๔. อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นสามเณรชื่อวาเสฏฐะและภารัทวาชะ ( เดิมนับศาสนาอื่น ) อยู่ปริวาส ( อบรม ) ในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาความเป็นภิกษุ ชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้กำลังจงกรมอยู่ในที่แจ้ง เพื่อฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกท่านมีชาติเป็นพราหมณ์ มีสกุลเป็นพราหมณ์ ออกบวช. พวกพราหมณ์ที่เป็นชั้นหัวหน้า ไม่ด่าไม่บริภาษบ้างหรือ. กราทูลตอบว่า ด่าอย่างเต็มที่. ตรัสถามว่า ด่าอย่างไร. กราบทูลว่า ด่าว่าพราหมณ์เป็นวรรณประเสริฐ เป็นวรรณะขาว บริสุทธิ์ วรรณะอื่นเลว เป็นวรรณะดำ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เป็นบุตรของพรหม เกิดจากปากพรหม เป็นพรหมทายาท. พวกท่านละวรรณะอันประเสริฐ ไมเข้าสู่วรรณะเเลว คือ พวกสมณะศีรษะโล้น ซึ่งเป็นพวกไพร่ พวกดำ พวกเกิดจากเท้าของพระพรหม ซึ่งเป็นการไม่ดี ไม่สมควรเลย. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์พวกนั้นลืมตน เกิดจากองค์กำเนิดของพราหมณีแท้ ๆ ยังกล่าวว่าประเสริฐสุด เกิดจากปากพรหม เป็นต้น ซึ่งเป็นการกล่าวตู่พระพรหมและพูดปด
แล้วตรัสเรื่องมนุษย์ ๔ วรรณะ ที่ทำชั่วทำดีได้อย่างเดียวกัน และเรื่องที่พระเจ้าปเสนทิโกศล ( ผู้เป็นกษัตริย์ ) แต่ปฏิบัติต่อพระองค์ ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าเป็นพวกดำ ( เพราะปลงศีรษะออกบวช ) อย่างเต็มไปด้วยความเคารพ.
ครั้นแล้วตรัส ( เป็นเชิงปลอบใจ หรือให้หลักการใหม่ ) ว่า ท่านทั้งหลายมาบวช จากโคตร จากสกุลต่าง ๆ เมื่อมีผู้ถามว่า เป็นใคร ก็ตอบกล่าวว่า พวกเราเป็นสมณะศากยบุตร. ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคตผู้นั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้างเป็นธรรมทายาท ( ผู้รับมรดกธรรม) ทั้งนี้เพราะคำว่า ธัมมกาย ( กายธรรม ) พรหมกาย ( กายพรหม ) และผู้เป็นธรรม ผู้เป็นพรหม นี้เป็นชื่อของตถาคต.
( เป็นการแก้ข้อด่าของพวกพราหมณ์ โดยสร้างหลักการใหม่ให้พวกมาบวชจากทุกวรรณะได้ชื่อว่ามีกำเนิดใหม่ที่ไม่แพ้พวกพราหมณ์ ).
ครั้นแล้วตรัสเรื่อง สมัยหนึ่งโลกหมุนเวียนไปสู่ความพินาศ สัตว์ทั้งหลายไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหมกันโดยมาก. เมื่อโลกหมุนกลับ ( คือเกิดใหม่ภายหลังพินาศ ) สัตว์เหล่านั้นก็จุติมาสู่โลกนี้ เป็นผู้เกิดขึ้นจากใจกินปีติเป็นภักษา ( ยังมีอำนาจฌาณอยู่ ) มีแสงสว่างในตัว ไปได้ในอากาศ ( เช่นเดียวกับเมื่อเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม ).
<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >> หน้า 2
- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕